รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


กษัตริย์ล้านนา

  • 6 ตอบ
  • 16504 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 676
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
กษัตริย์ล้านนา
« เมื่อ: มกราคม 08, 2012, 12:21:03 PM »
กษัตริย์ล้านนา

ล้านนาตอนต้น
พญามังราย พ.ศ 1839-1854
พญาไชยสงคราม พ.ศ 1854-1868
พญาแสนพู พ.ศ 1868-1877
พญาคำฟู พ.ศ 1877-1879
พญาผายู พ.ศ 1879-1898

ล้านนายุคทอง
พญากือนา พ.ศ 1898-1928
พญาแสนเมืองมา พ.ศ 1928-1944
พญาสามฝั่งแกน พ.ศ 1945-1984
พระเจ้าติโลกราช พ.ศ 1984-2030
พญายอดเชียงราย พ.ศ 2030-2038
พญาแก้ว พ.ศ 2038-2068

ล้านนายุคเสื่อม
พญาเมืองเกษเกล้า พ.ศ.2068-2081(ครั้งที่ 1)
ท้าวซายคำ พ.ศ.2081-2086
พญาเมืองเกษเกล้า พ.ศ.2086-2088(ครั้งที่ 2)
พระนางจิรประภา พ.ศ.2088-2089
พระไชยเชษฐา พ.ศ.2089-2091
ไม่มีผู้ปกครอง พ.ศ.2091-2094
ท้าวแม่กุ (พระเมกุฎิ) พ.ศ.2094-2101

ล้านนาภายใต้อำนาจพม่า
ท้าวแม่กุ (พระเมกุฎิ) พ.ศ.2101-2107 (ภายใต้อำนาจพม่า)
พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ.2107-2121 (ภายใต้อำนาจพม่า)
สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ.2121-2150
พระช้อย (ครั้งที่ 1) พ.ศ.2150-2151
พระชัยทิพ (มองกอยต่อ) พ.ศ.2151-2156
พระช้อย (ครั้งที่ 2) พ.ศ.2156-2158
เจ้าเมืองน่าน พ.ศ.2158-2174
พญาหลวงทิพเนตร พ.ศ.2174-2198
พระแสนเมือง พ.ศ.2198-2202
เจ้าเมืองแพร่ พ.ศ.2202-2215
อุปราชอึ้งแซะ (กรุงอังวะ) พ.ศ.2215-2218
บุตรเจ้าเจกุตรา(เจพูตราย) พ.ศ.2218-2250
มังแรนร่า พ.ศ.2250-2270
เทพสิงห์ พ.ศ.2270-2270
องค์ดำ พ.ศ.2270-????
เจ้าจันทร์ พ.ศ.????-2304
อดีตภิกษุวัดดวงดี (เจ้าขี้หุด) พ.ศ.2304-2306
โป่อภัยคามินี (โป่อะเกียะคามุนี) พ.ศ.2306-2311
โป่มะยุง่วน พ.ศ.2311-2317

ล้านนาภายใต้สยาม
พระเจ้ากาวิละ พ.ศ.2325-2356
พระยาธรรมลังกา (เจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก) พ.ศ.2359-2365
พระยาคำฝั้น (เจ้าหลวงเศรษฐี) พ.ศ.2366-2368
พระยาพุทธวงศ์ (เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น) พ.ศ.2369-2389
พระเจ้ามโหตรประเทศ พ.ศ.2390-2397
พระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ (เจ้าชีวิตอ้าว) พ.ศ.2399-2413
พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ พ.ศ.2416-2439
พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ พ.ศ.2444-2452
เจ้าแก้วนวรัฐ พ.ศ.2454-2482

คณะราษฎร เปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร แบ่งส่วนจังหวัดขึ้นกับส่วนกลาง เริ่มแต่งตั้งผู้ว่าราชการ ตั้งแต่ พ.ศ.2475 - ปัจจุบัน
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 676
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 26, 2012, 10:17:05 AM »
ราชวงศ์มังราย ราชวงศ์ที่สร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานีมีดังนี้

รัชกาลที่ ๑ พญามังรายมหาราช

ทรงสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ครองนครเชียงใหม่จนถึง พ.ศ.๑๘๖๐ สวรรคตด้วยถูกอสนีบาตตกกลางเมือง ศิริรวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ครองเชียงใหม่ได้ ๒๑ พรรษา หากจะนับตามลำดับ ราชวงศ์ลวจังกราชเป็นต้นมา ซึ่งเป็นต้นวงศ์ก่อนสถาปนาอาณาจักรลานนาไทย ก็นับ เป็นรัชกาลที่ ๒๕

เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ ชันษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นราชกาลที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้
แก่ไพร่บ้านพลเมืองของตนและถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราช
ของชนชาติไทยได้โดยง่าย

ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม

พ.ศ. ๑๘๐๕ พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่าม กลางเมือง ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง
พ.ศ. ๑๘๑๘ ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้ พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง
ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม

พ.ศ. ๑๘๒๔ อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้ อ้ายฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) ๑๑ หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน
พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย

อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง ด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง ๑๘ พระองค์ จนถึง พ.ศ. ๒๑๐๑ ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า

พญามังรายมหาราช ได้ทรงรับราชบุตรและราชธิดาบุญธรรม ในช่วงอายุ ๗๔ - ๘๐ ปีก่อนสวรรคต ราชธิดาบุญธรรมพระองค์แรก คือ เจ้าหญิงธรรมธารี พระธิดากษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (เขตพม่า) ก่อนเมืองแตก ราชบุตรบุญธรรม พระองค์ที่สอง คือ เจ้ายอดเมือง (เจ้าแสนต่อ) ราชบุตรของเจ้าเมืองเวียงกาหลง (ปัจจุบันคือ ตำบลเวียงกาหลง อ.ป่าแงะ จ.เชียงราย) ซึ่งเจ้าแสนต่อนี้เองที่เป็นต้นตำนานแห่งสุวรรณภูมิ ที่ มิได้ถูกบันทึกไว้ เนื่องจากเป็นลูกเจ้าเมืองเล็กๆ แต่วีรกรรม นั้นยิ่งใหญ่มาก ได้อาสารบกับกองทัพพระเจ้ากุบไลข่านแห่งมองโกลที่ยิ่งใหญ่ พร้อมๆ กับกษัตริย์อีก ๒ อาณาจักรคือ พญางำเมือง และ พ่อขุนรามคำแหง จนชนะทำให้พระเจ้ากุบไลข่านยกทัพกลับมองโกล เกิดเป็นแผ่นดินแห่งสยามและเป็นตำนานพระยอดขุนพลจนทุกวันนี้

รัชกาลที่ ๒ พญาชัยสงคราม หรือ เจ้าขุนคราม

ราชโอรสองค์ที่ ๒ ของพญามังราย ขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา ครองเมืองเชียงใหม่เพียง ๔ เดือน ก็ทรงกลับไปครองเมืองเชียงรายตามเดิม และโปรดให้เจ้าแสนภูราชโอรสครองเมือง เชียงใหม่แทน


รัชกาลที่ ๓ เจ้าแสนภู

ราชโอรสองค์ที่ ๑ ของเจ้าชัยสงคราม ครองเมืองเชียงใหม่ ๒ ครั้ง ๆ ที่ ๑
เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ ครองเมืองได้ไม่นานนัก เจ้าขุนเครือ พระเจ้าอาว์ซึ่งถูกพระ เจ้าเม็งรายเนรเทศไปครองเมืองนาย ได้ยกกองทัพมาชิงเอาราชสมบัติ เจ้าแสนภูไม่ต่อสู้ หนีไปหาเจ้าน้ำท่วมอนุชาซึ่งครองเมืองฝาง เจ้าน้ำท่วมจึงส่งพระเชษฐาไปยังเมืองเชียงราย


รัชกาลที่ ๔ เจ้าขุนเครือ

ขึ้นครองเมือง โดยไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษกอยู่ไม่กี่วัน เจ้าชัย สงคราม พระเชษฐา ซึ่งครองเมืองเชียงราย ทรงทราบเหตุที่มาแย่งชิง เอาเมืองเชียงใหม่ จากเจ้าแสนภู จึงโปรดให้เจ้าน้ำท่วมโอรสยกกองทัพมาชิงเอาเมืองเชียงใหม่คืน เจ้าน้ำ ท่วมชิงเอาเมืองคืนได้และจับตัวเจ้าขุนเครือพระเจ้าอาว์ไว้ได้ จึงกราบทูลให้
เจ้าชัยสงครามพระราชบิดาทรงทราบ เจ้าชัยสงครามจึงให้เอาตัวไปคุมขังไว้ที่แจ่งกู่เฮือง (มุมเมือง ทางทิศหรดี) ให้หมื่นเรืองคุมตัวไว้ เมื่อหมื่นเรืองถึงแก่กรรมสร้างกู่ (อนุสาวรีย์) ไว้ ณ ที่นั้น เลยได้ชื่อว่าแจ่งกู่เฮืองมาจนทุกวันนี้ เจ้าขุนเครือนั้นถูกคุมขังอยู่ได้ ๔ ปี สวรรคต

รัชกาลที่ ๕ เจ้าน้ำท่วม

ราชโอรสองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าชัยสงคราม ครองเมืองเชียง ใหม่ ปี พ.ศ.๑๘๖๒ เจ้าน้ำท่วมครองเมืองอยู่ได้ ๕ ปี พระเจ้าชัยสงครามพระราชบิดา ทรง ระแวง พระทัยจะคิดกบฎ เพราะเจ้าน้ำท่วมทรงกล้าหาญ ในการณรงค์สงคราม และใฝ่ใจ ในการ ทหาร จึงให้เนรเทศไปครองเมืองเชียงตุง แล้วให้เจ้าแสนภูราชโอรสองค์ที่ ๑ มาครอง เมืองเชียงใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๑๘๖๗ พระเจ้าแสนภูครองเมืองเชียง ใหม่จน ถึงปี พ.ศ.๑๘๗๑ ก็มอบเวนให้เจ้าท้าวคำฟู ราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วน พระองค์ไป สร้างเมืองเชียงแสน (ตำนานสิงหนวัติว่า ทรงไปบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง ที่ร้างไปนั้น ขึ้นใหม่แล้วขนานนามเมืองว่า เมืองเชียงแสน ซึ่งหมายถึงว่า เมืองของพระ เจ้าแสนภู เช่น เดียวกับเมืองเชียงราย หมายถึงว่าเมืองของพญาเม็งราย


รัชกาลที่ ๖ พระเจ้าท้าวคำฟู หรือ พระเจ้าคำฟู

ได้ขึ้นครองเมือง เชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๗๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๗๗ พระเจ้าแสนภูพระราชบิดา ซึ่งไปสร้างเมืองเชียงแสน เป็นราชธานีใหม่ของพระองค์นั้นสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา เจ้าท้าวคำฟูได้ ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา เมื่อพระองค์ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็ทรงมอบเวนให้พ่อท้าว ผายู ราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จไปครองเมืองเชียงแสนและ สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๘๘๗ โดยถูกเงือกกัดตายที่แม่น้ำคำ พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา พระอัฐิของพระองค์ได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เล็กที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่ ได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ มีทองคำจารึกลายพระนามพระมหา เถรในยุคนั้นหนังถึง ๓๖๐ บาท


รัชกาลที่ ๗ พระเจ้าผายู

หรือในหนังสือชินกาลมาลี ปกรณ์ ว่า พระเจ้าตายุมหาราช โอรสของพระเจ้าคำฟู ได้ครองราชย์สมบัติในปี พ.ศ.๑๘๘๗ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ในยุคนี้นครเชียงใหม่มีสภาพเป็นราชธานีอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระเจ้าผายูไม่โปรดที่จะ ไปครองเมืองเชียงแสนเช่นพระบิดา พระเจ้าผายูเป็นกษัตริย์ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข การพระศาสนาเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ได้ ๒๘ พรรษา ลุปีมะเมีย พ.ศ.๑๙๑๐ (จุลศักราช ๗๒๙) พระชนมายุได้ ๕๗ พรรษาก็สวรรคต เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาพ่อท้าวกือนาหรือพ่อท้าวตื้อนา ราชโอรสซึ่งไปครองเมืองเชียงแสนมาเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์


รัชกาลที่ ๘ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช

ได้เสวยราชสมบัตินครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๙๑๐ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม เช่นเดียวกับพระราชบิดา ทรงทนุ บำรุงการพระศาสนาเป็นอันมาก และได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานบนดอยสุเทพ เป็นที่สักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชน มาตราบทุกวันนี้ ในยุคนี้ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะมีศึกฮ่อมาประชิดชายแดนแต่ก็พ่ายแพ้บุญญาธิการไป พระองค์ได้ให้ราชฑูตไปขออาราธนาพระสุมนเถร จากกรุงสุโขทัยมาเผยแพร่พุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ในลานนาไทย ซึ่งพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์นี้ได้เจริญรุ่งเรือง ในอาณา จักรลานนาไทยมาตราบทุกวันนี้ พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติได้ ๒๑ พรรษา พระชน มายุได้ ๖๑ พรรษา ก็ทรงพระประชวรสวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๓๑


รัชกาลที่ ๙ พระเจ้าแสนเมืองมา

ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา ในปี พ.ศ. ๑๙๓๑ เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่ยังไม่ทันทำพิธีราชาภิเศก เจ้าท้าวมหา พรหมพระเจ้าอาว์ของพระองค์ซึ่งพระเจ้ากือนาให้ไปครองเมืองเชียงรายนั้น ได้ยกกอง ทัพมาจะแย่งชิงราชสมบัติ แต่ขุนพลแสนผานองผู้ซื่อสัตย์ได้สู้รบป้องกัน ราชบัลลังก์ไว้ได้ และขับไล่กองทัพเจ้าท้าวมหาพรหม ไปยังเมืองชะเลียง พระเจ้าแสนเมืองมาครองราชย์ สมบัติได้ ๒๓ พรรษา สวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๕๔

รัชกาลที่ ๑๐ พระเจ้าสามฝั่งแกน

หรือในตำนานพื้นเมืองว่าเจ้าสามผะหญาแม่ ใน เป็นราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๙๕๔ ทรง ครองเมืองอยู่ได้นาน ๓๑ ปี ถูกเจ้าท้าวลกราชบุตรองค์ที่ ๖ ซึ่งพระองค์เนรเทศไปอยู่เมืองยวมใต้ (คืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน) คบคิดกับขุนนางชื่อพญาสามเด็กย้อย อำมาตย์ผู้ใหญ่ทำการกบฎ บังคับให้พระเจ้าสามฝั่งแกนสละราชสมบัติ แล้วทำพิธีปราบดาภิเษกเจ้าท้าวลกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๕ ในรัชกาลนี้มีศึกฮ่อมาตีเมืองเชียง แสน ได้ทำการสู้รบกันแรมปีผลที่สุดกองทัพฮ่อแตกพ่ายไป กองทัพลานนาไทยตีเอาเมือง เชียงรุ้ง เมืองยอง คืนจากพวกฮ่อได้ เจ้าขุนแสนแม่ทัพใหญ่จับได้เชลยฮ่อ และเอาช่าง ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ มายังเวียงพิงค์ เป็นการนำเอานาฎศิลป์การฟ้อนรำมาจากแคว้น สิบ สองปันนามาเผยแพร่ในอาณาจักรลานนาไทย


รัชกาลที่ ๑๑ พระเจ้าติโลกราชมหาราช

หรือ "ดิลกมหาราช" มีพระนามเดิมว่า "เจ้าท้าวลก" เป็นราชบุตรองค์ที่ ๖ ของพระเจ้าสามฝั่งแกน เดิมพระราชบิดาให้ไปครองเมืองพร้าววัง หิน หากกระทำผิดพระราชอาญา พระราชบิดาจึงเนรเทศไปอยู่เมืองยวมใต้ ได้คบคิดกับ อำมาตย์ชื่อสามเด็กย้อยชิง เอาราชสมบัติจากพระราชบิดา ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ.๑๙๘๕ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ทรงยกกองทัพไปตีเอาดินแดนสิบสองปันนา และสู้รบขับเคี่ยวกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นเวลานานถึง ๑๔ ปี ในบั้นปลายของ ชีวิต พระองค์ทรงหันมาทะนุบำรุงการพระพุทธศาสนา ได้ทำสังคายนาครั้งที่ ๘ ของโลกที่วัด มหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ขณะขึ้นครองราชย์สมบัติทรง มีพระชนม์ได้ ๓๔ พรรษา ครองสมบัตินาน ๔๕ พรรษา สวรรคตในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระ ชนม์ได้ ๗๙ พรรษา พระเจ้าติโลกราชทรงเป็นกษัตริย์ที่สร้างความเจริญ ให้แก่อาณาจักร ลานนาไทยเป็นอันมาก ทั้งในด้านพระศาสนา และด้านอาณาจักร ทรงเป็นทั้งนักรบและ นักปกครองที่ประวัติศาสตร์ลานนาไทยยกย่อง

รัชกาลที่ ๑๒ พระยอดเชียงราย

พระเจ้าติโลกราช มี ราชโอรสคือ พ่อท้าวบุญเรือง แต่ทรงหลงเชื่อ พระ นางหอมุกข์พระสนมเอก ให้ประหารชีวิตเสีย คงมีแต่พระราชนัดดาทรงพระนามว่าพระ ยอดเมือง หรือพระยอดเชียงราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเจ้าติโลกราชในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระยอดเชียงรายมีใจฝักใฝ่คบหาสมาคมกับพวกฮ่อ ถึงกับทรงรับเอาฮ่อชื่อ เพลาสง มาเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พวกขุนนางข้าราชการไม่พอใจ เจ้าแสนจุซึ่งเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และมีอิทธิพลมากจึงคุมสมัครพรรคพวกบังคับ ให้พระยอดเชียงราย สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่เมืองจวาด พระยอดเชียงรายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ในปี พ.ศ.๒๐๓๘ อยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี


รัชกาลที่ ๑๓ พระเมืองแก้ว

ราชโอรสของพระยอดเชียงราย ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๘ เฉลิมพระนามว่า "พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช" คือเป็นเหลนของพระ เจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์นี้มีพระนามหลายพระนามด้วยกัน คือ เจ้ารัตนราช, เจ้าแก้ว พันตา เป็นต้น กษัตริย์องค์นี้ทรงดำเนินรอยตามพระเจ้าติโลกราช พระอัยกาธิราช พระองค์ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช และเนื่องด้วยเหตุนี้เอง พระสังฆราชคณะทั้งหลายจึงพร้อมใจกัน ทำพิธีราชาภิเษกเฉลิม พระนามใหม่ว่า "พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช" ในปี พ.ศ.๒๐๖๑ ในรัชสมัยของพระ องค์นี้ มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นพระเถระหลายองค์ เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ผู้รจนา หนังสือมงคลทีปนีสูตร ซึ่งใช้ในการศึกษามหาเปรียญมาจนทุกวันนี้ และพม่า เขมร ก็นำไปแปลไปเป็นภาษาของตน กับพระรัตนปัญญาเถร ผู้รจนาหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ พระเมืองแก้วสวรรคตในปี พ.ศ.๒๐๖๘ อยู่ในราชสมบัติ ๓๐ ปี ขณะสวรรคตพระชน มายุได้ ๔๔ พรรษา พระองค์ไม่มีราชโอรสและธิดา ขุนนางข้าราชการและไพร่ฟ้าประชา ชน จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาท้าวเกษแก้วกุมาร พระอนุชาต่างพระมารดามาครอง ราชสมบัติสืบมา


รัชกาลที่ ๑๔ ท้าวเกษแก้วกุมาร

ขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนามว่า "พระเมืองเกษเกล้า" พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติได้ ๑๓ พรรษา เจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสคิดกบฎ จับพระองค์บังคับให้สละราชสมบัติในปี พ.ศ.๒๐๘๑ แล้วเนรเทศไปอยู่เมืองจวาดน้อย


รัชกาลที่ ๑๕ เจ้าท้าวทรายคำ

ชิงราชสมบัติจากพระราชบิดา แล้วก็ทำพิธีปราบดา อภิเษกเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ.๒๐๘๑ เจ้าท้าวทรายคำเป็นกษัตริย์ที่ไม่ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองเกิดเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า พระองค์ครองเมืองได้ ๕ ปี ก็ถูกพวก ข้าราชการที่ซื่อสัตย์จับปลงประชนม์เสีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ แล้วข้าราชการต่างก็พากันอัญเชิญพระเมืองเกษเกล้า กลับมาครองเมืองเชียงใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๒ พระเมืองเกษเกล้า กลับมาครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๒ ปี ทรงเสียพระจริต ขุนนางชื่อแสนดาว (หรือแสนค่าว) จับปลงพระชนม์เสียที่หัวข่วง (คือสนามหลวง เห็นจะเป็นที่วัดหัวข่วง ปัจจุบัน) ในยุคนี้บ้าน เมืองเกิดการจลาจลวุ่นวาย ไม่เป็นปกติสุข พวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่แบ่งกันเป็นก๊กเป็น เหล่า เกิดรบราฆ่าฟันกันเองกลางเมือง และมีศึกเจ้าฟ้าเมืองนายมาประชิดติดนคร ขุน นางบางคนคิดกบฏ แต่ยังมีขุนนางที่มีความจงรักภักดีในราชวงศ์เม็งราย ได้ปราบปราม พวกกบฏได้ แล้วพร้อมใจกันอัญเชิญให้พระนามจิระประภาราชธิดา ของพระเมืองเกษเกล้าขึ้นเสวยราชสมบัติในปี พ.ศ.๒๐๘๘


รัชกาลที่ ๑๖ พระนางเจ้าจิระประภามหาเทวี

พระราชธิดาของพระเมืองเกษเกล้า ได้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่ไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษก บ้านเมืองในยุคนี้เกิดจลาจลวุ่นวาย มีการ รบราฆ่าฟันกันเอง ในระหว่างพวกขุนนางที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และมีศึกสมเด็จ พระไชยราชา กรุงศรีอยุธยายกไปประชิดพระนคร แต่พระนางจิระประภามหาเทวี ทรง เห็นว่าหากทำสงครามกับพระไชยราชาก็คงสู้ไม่ได้ จึงยอดทำทางพระราชไมตรีด้วย พวกขุนนางข้าราชการเห็นว่า ในยามที่บ้านเมืองคับขันเช่นนี้ มีกษัตริย์ปกครองเป็น สตรีนั้นย่อมไม่เหมาะสม จึงไปอัญเชิญเอาพระอุปวโยราช หรือสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ราชโอรสของพระเข้าโพธิสารราช ซึ่งครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว ซึ่ง เป็นราชนัดดาของพระเมืองเกษเกล้า มาครองเมืองเชียงใหม่ในปีต่อมา พระนางเจ้า จิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น และในปีนี้มีภัยธรรมชาติปรากฏ ขึ้นเป็นลางสังหรณ์คือ เกิดฝนตกหนัก และแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ยอดพระเจดีย์หลวง และเจดีย์อื่น ปรักหักพังลงหลายแห่ง ซึ่งอีก ๑๓ ปีต่อมา อาณาจักรลานนาไทยของพระเจ้า เม็งรายก็ถึงกาลดับสูญ ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในปี พ.ศ.๒๑๐๑


รัชกาลที่ ๑๗ พระอุปวโยราช เมืองล้านช้าง หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระไชยเชษฐาธิราช

เป็นราชนัดดาของพระเมืองเกษเกล้า พระองค์เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ทรงครองอยู่ได้ ๒ ปี ทางเมืองล้านช้างเกิดการจลาจล พระองค์จึงเสด็จไป ปราบปราม เมื่อปราบปรามการจลาจลราบคาบแล้ว ก็ทรงอยู่ครองเมืองล้างช้างเนื่องจาก พระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ เมืองเชียงใหม่จึงว่ากษัตริย์ไปหลายปี ในระหว่างนี้ บ้านเมืองเกิดจลาจลรบราฆ่าฟันกันเอง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๙๔ บรรดาขุนนาง ข้าราชการ ที่ยังมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์เม็งราย เห็นว่ายังมีเชื้อสายของเจ้าขุนเครือราชโอรส ของพระเจ้าเม็งรายอยู่ที่เมืองนาย (เห็นจะเป็นเจ้าฟ้าเมืองนายที่ยกมาตีเมืองเชียงใหม่) จึงไปอัญเชิญมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๐๙๔


รัชกาลที่ ๑๘ เจ้าฟ้าเมืองนาย

ได้เสวยราชสมบัติเมืองเชียงใหม่แล้ว ทรงขนาน พระนาม ว่า "พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์" สามัญนิยมเรียกเพี้ยนเป็นเจ้าแม่กุ ตามสำเนียง ชาวไทย ใหญ่ (เงี้ยว) เมืองนายเรียกเจ้านายของเขา พระเจ้าเมกุฎ ฯ ครองเมืองเชียง ใหม่ได้ ๗ ปี พระเจ้าบุเรงนอง หรือพม่าเรียกว่า "บะหยิ่นหน่อง" กษัตริย์พม่า หากแต่ไป ครองกรุง หงสาวดีเป็นราชธานีจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พระเจ้ากรุงหงสาวดี" ที่แท้เป็น พม่ามิใช่ มอญ พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ได้ในปี พ.ศ.๒๑๐๑ นับ แต่นั้นมา อาณาจักรลานนาไทยก็ตกอยู่ในอำนาจของพม่า แต่พระเจ้าบุเรงนองยังคงให้ พระเจ้า เมกุฎ ฯ ครองเมืองเชียงใหม่ โดยมีขุนนางพม่าและไพร่พลจำนวนหนึ่งอยู่ควบ คุม ทำให้ พระเจ้าเมกุฎ ฯ มีความคับแค้นพระทัยเป็นอันมาก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าเมกุฎ ฯ ก็คบคิดกับพญากมลราช (หรือเจ้ารัตนกำพล) เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้า เมืองแพร่ เจ้า เมืองน่าน คิดกู้อิสรภาพ แต่ถูกพระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาปราบปราม เป็นครั้งที่ ๒ พระเจ้าเมกุฎ ฯ ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ยังกรุงหงสาวดี จนทิวงคต


รัชกาลที่ ๑๙ พระนางวิสุทธิเทวี

เมื่อคุมตัวพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ กษัตริย์ผู้อาภัพไปคุมขังไว้ ณ กรุงหงสาวดี แล้ว พม่าก็แต่งตั้งให้พระนางวิสุทธิเทวีเชื้อ สายของพระเจ้าเม็งราย เป็นนางพระยาครองเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ.๒๑๒๑ จึงทิวงคต พระเจ้าบุเรงนองจึงให้เจ้าฟ้าสารวดี หรือสารวดีมินทร์ราช บุตร อันเกิดแต่พระสนมมาครองเมืองเชียงใหม่ และเป็นอันสิ้นสุดเชื้อสายของราชวงศ์ เม็งราย เพียงพระนางวิสุทธิเทวีนี้เอง

พระนครเชียงใหม่นับแต่แรกสร้างเมืองใน ปี พ.ศ.๑๘๓๙ จนถึง พ.ศ.๒๑๐๑ เสียอิสระ ภาพแก่พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า รวมเวลาที่เป็นอิสระและเป็นราชธานีของอาณา จักรลานนาไทย เป็นเวลานาน ๒๖๒ ปี และปกครองโดยกษัตริย์ในราชวงศ์เม็งรายแต่ เพียงราชวงศ์เดียว

หลังจากสิ้นสุดเชื้อสายของราชวงศ์เม็ง ราย เพียงแค่พระนางวิสุทธิเทวีแล้ว ราชบุตร ของพระเจ้าบุเรงนองคือเจ้าฟ้าสารวดี ได้มาครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๑๔๑ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้น ล้านนาไทยได้จากพม่า เช่น เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย และ เชียงแสน พระเจ้าเชียงใหม่ในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าสารวดี หรือในตำนานโยนกเรียกว่า มักซานรธามังคุยราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยอมสวามิภักดิ์ด้วย แว่นแคว้นลานนา ไทยจึงขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาต่อมา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดให้พระ รามเดโช ซึ่งเป็นชาวล้านนาไทย หากแต่ลงไปรับราชการกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กอบกู้อิสรภาพของชาติไทย ให้ขึ้นมาครองเมืองเชียงแสน คอยควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เชื้อสายของเจ้าสารวดีที่ครองเมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีก คือ

๑. มองซวยเทา อนุชา ครอง พ.ศ.๒๑๕๐
๒. มองกอยต่อ บุตรเจ้าฟ้าสารวดีองค์ที่ ๑ ครอง พ.ศ.๒๑๕๒
๓. น้องมองกอยต่อ ครอง พ.ศ.๒๑๕๔
๔. เจ้าศรีสองเมือง ราชบุตรบุญธรรมของเจ้าฟ้าสารวดี ครองเมืองน่าน แล้วมาครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๑๕๗ พ.ศ.๒๑๗๔ คิดกู้อิสรภาพ พระเจ้าสะโดะ ธรรมราชา กษัตริย์พม่าจับไปคุมขังไว้ที่กรุงอังวะจนทิวงคต พระเจ้าสุทโธธรรมราชา หรือ พระเจ้าสะโดะธรรมราชา กษัตริย์พม่าพระองค์นี้ ทรงตั้งพระทัยที่จะเอาแว่นแคว้น ลานนาไทย เข้ารวมอยู่ในอำนาจของพระองค์โดยสิ้นเชิง ถึงกับทรงยกกองทัพมาตั้งอยู่ที่ เมืองเชียงแสนเป็นเวลานาน ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการคนพื้นเมืองที่มีความจงรัก-ภักดี ในพระองค์มาเป็นเจ้าเมือง และทรงจัดการแบ่งการปกครอง เมืองเชียงใหม่และเมือง เชียงแสนเสียใหม่ โดยให้เมืองเชียงแสนเป็นอิสระ ไม่ต้องขึ้นเมืองเชียงใหม่แต่ขึ้นตรง ต่อกรุงอังวะ เจ้าเมืองเชียงแสนมีศักดิ์สูง ถึงกับเป็น "เจ้าฟ้า" เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่พม่า แต่งตั้งให้ครองเมืองสืบต่อมา มีดังนี้
๑. พญาหลวงทิพเนตร ครอง พ.ศ.๒๑๗๔
๒. พระแสนเมือง บุตรพญาหลวงทิพเนตร ครอง พ.ศ.๒๑๙๓ เสียเมืองแก่พระนารายณ์ มหาราช ในปี พ.ศ.๒๒๐๔
๓. พระเจ้าเมืองแพร่ พ.ศ.๒๒๐๖
๔. อึ้งแซะ ราชบุตรพระเจ้าอังวะ ครอง พ.ศ.๒๒๑๕
๕. มังแรนร่า ครอง พ.ศ.๒๒๒๘ ถึง พ.ศ.๒๒๗๐

มังแรนร่าครองเมืองเชียงใหม่ต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๒๗๐ พม่ากดขี่ข่มเหงชาวลานนาไทย มากนัก เทพสิงห์วีรบุรุษชาวเมืองยอน อดรนทนอยู่มิได้ จึงคุมชาวเมืองที่รักชาติ สู้รบกับ พวกพม่ารามัญที่ปกครองบ้านเมือง มังแรนร่าถูกฆ่าตาย ด้วยความแค้นเคืองพม่ารามัญ ที่ข่มเหงชาวลาน-นาไทย เทพสิงห์จึงให้กวาดล้างชาวพม่ารามัญเสียให้สิ้นผืนดินลานนา ไทย พม่ารามัญทั้งหลายที่รอดจากการกวาดล้าง จึงพากันไปหาเจ้าองค์นก เจ้าชาวล้านช้าง ซึ่งลี้ภัยการเมืองมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสวนดอก ขอให้เจ้าองค์นกลาสิกขาบทมาเป็น หัวหน้า สู้รบกับพวกของเทพสิงห์ เจ้าองค์นกก็ลาสิกขาบทออกมาเป็นหัวหน้าทำการขับ ไล่เทพสิงห์จนหายสาบสูญไป พวกพม่ารามัญและชาวเมืองจึงพร้อมใจกันเชิญเจ้าองค์นก ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ทำพิธีปราบดาภิเษก แล้วขนานพระนามว่า "พระเจ้าหอคำ"
ใน รัชกาลของพระเจ้าหอคำนี้ เมืองเชียงใหม่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อพม่าและไทยกลาง และหัวเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทยก็ปกครองตนเองเป็นอิสระนคร พระเจ้าหอคำ ครอง เมืองเชียงใหม่ได้นาน ๓๒ ปี ก็ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เจ้าจันทร์ ราชบุตรได้ ครองเมืองต่อมาอีก ๒ ปี เจ้าปัดอนุชาเป็นกบฏ ชิงราชสมบัติได้แต่หาครองเองไม่ กลับไป เชิญเอาเจ้าอธิการวัดดวงดี ลาสิกขาบทออกมาครองเมืองแทน บ้านเมืองในยุคนี้ยุงเหยิง ไม่เป็นปกติสุข ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๖ พม่ามีกำลังเข้มแข็งขึ้น พระเจ้ามังระจึงให้โป่อภัย คามินี ยกกองทัพมาตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้ เชียงใหม่จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้ง หนึ่ง และต่อมาอีก ๑๒ ปี พระยาจ่า-บ้านกับพระยากาวิละ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยา สุละวะฤาชัยสงคราม (ทิพช้างแห่งนครลำปาง) ได้คิดกอบกู้อิสรภาพ และนำเอาเมือง เชียงใหม่ไปขึ้นกับไทยกลาง (ตรงกับรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ แต่พม่ายังมีอิทธิพลปกครองเมืองเชียงแสนอยู่
ต่อ มา พ.ศ.๒๓๔๗ ถึงจะขับไล่พม่าออก พ้นดินแดนลานนาไทยได้สำเร็จ พม่าพยายามจะมาตีเอาเมืองเชียงใหม่คืนหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เพราะชาวเมืองซึ่งได้รับการกดขี่ข่มเหงจากพม่ามาแล้วอย่างแสนสาหัส ไม่ ยอมที่จะอยู่ในอำนาจการปกครองของพม่าอีกต่อไปแล้ว และได้รวมกำลังกันต่อสู้พม่า อย่างยอมถวายชีวิต ชนิดที่เรียกว่า ตายเสียดีกว่าที่จะเป็นขี้ข้าพม่า ชาวลานนาไทยจึงต่อสู้ อย่างดุเดือด พม่าไม่สามารถเอาชัยชนะได้ กอปรกับ มีกองไทย(กลาง) คอยช่วยเหลืออยู่ เสมอ พม่าจึงเป็นฝ่ายปราชัยไปทุกครั้ง
เนื่อง จากบ้านเมืองถูกพวกพม่ารบกวนบ่อย ๆ นี้เองทำให้บ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างไป เพราะผู้คนไม่กล้าอยู่ พระยาจ่าบ้าน ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งจากพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เป็นที่ "พระยาวชิรปราการ" เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ เป็นคนแรก เห็นว่าพม่ายกมารุกรานบ่อยนัก และเมืองเชียงใหม่ก็กว้างขวาง ไพร่พลก็ มีน้อย ยากแก่การรักษา จึงย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองป่าซาง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะกว่าและอุดม สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเมื่อเสียทีแก่พม่าก็ล่าถอยไปทางใต้ได้ง่าย เมือง เชียงใหม่ได้กลายเป็นเมืองร้างไปจนถึงปี พ.ศ.๒๓๓๙ พระเจ้ากาวิละ หรือพระเจ้าบรมราชาธิบดี ฯ พระเจ้าเชียงใหม่องค์ที่ ๑ จึงได้เอาครอบครัวพลเมืองเข้ามาตั้งใหม่ แล้ว ขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองรัตนติงสาอภินวปุรี" และได้บูรณปฏิสังขรณ์บ้านเมืองและวัด วาอาราม ที่ปรักหักพังรกร้างไปนั้น ให้กลับฟื้นคืนคงจนเจริญรุ่งเรืองมาตราบกระทั่งทุกวันนี้

ราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์
ที่ครองพระนครเชียงใหม่ มีรายพระนามดังนี้

ต่อด้านล่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2012, 10:20:55 AM โดย ฮักล้านนา »
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 676
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 26, 2012, 10:21:10 AM »
ราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์
ที่ครองพระนครเชียงใหม่ มีรายพระนามดังนี้



๑. พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ

พระองค์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ด้วยความร่มเย็นและด้วยปรีชาสามารถ
ท่านเป็นทั้งนักรบผู้กล้า และ ยังปกป้องแผ่นดินให้คงอยู่จนถึงทุกวันนี้ ด้วยความจงรักภักดีที่มีต่อกษัตริย์ และต่อผืนแผ่นดิน พระยากาวิละ หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระเจ้ากาวิละ ทรงเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๑ สมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๕ เป็นบุตรคนแรกในจำนวน ๑๐ คน ของเจ้าฟ้าชายแก้วเจ้าเมืองลำปาง เชื้อสายราชวงศ์เชื้อเจ็ดตนอันสืบสายมาจากพระยาสุรวฦาไชย (ทิพจักรหรือ ทิพย์ช้าง) กับเจ้านางจันทาเทวี ท่านได้ร่วมมือน้องชาย และพระยาจ่าบ้านสนับสนุนกองทัพไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และ ขับพม่าออกจากเชียงใหม่ ได้เมื่อวันอาทิตย์ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนห้าเหนือ พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อขับพม่าออกจากเชียงใหม่ ท่านได้นำบิดาซึ่งถูกจับเป็นตัวประกันออกจากคุกเชียงใหม่ได้แล้ว จึงเดินทางกลับลำปาง และพาน้องชายทั้ง ๖ เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินทรงตั้งเจ้ากาวิละ เป็นเจ้าเมืองลำปางโดยมีเจ้า ธัมมลังกาผู้น้องลำดับที่ ๓ เป็นอุปราชา ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๒๕ ได้เกิดเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน เจ้าพระยาจักรีได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และมีเจ้าพระยาสุรสีห์เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อเจ้ากาวิละตีเชียงแสนได้แล้วนำข้าวของและเชลยไปถวาย รัชกาลที่ ๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้ากาวิละ ขึ้นเป็นพระยามังราวชิรปราการกำแพงแก้ว ครองเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นอายุ ๔๐ ปี เมื่อเจ้ากาวิละได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยามังราววชิรปราการกำแพงแก้วเจ้า เมืองเชียงใหม่แล้วท่านได้รวบรวมกำลังคนเดินทางจากลำปาง
ไปยังเวียงป่าซางเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ และสะสมกำลังในเวียงป่าซางนานถึง ๑๔ ปี ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ ๕ มีนาคม 2339 ท่านจึงยกไพร่พลออกจากเวียงป่าซางเดินทางเป็นเวลา ๕ วันเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ดังนั้นยุคของพระยามังราววชิรปราการกำแพงแก้วจึงเป็นยุคฟื้นฟูเมือง เชียงใหม่ โดยไปชักชวนหรือตีบ้านเล็กเมืองน้อยต่าง ๆ เพื่อสร้างสม ประชากรไว้ในลำพูน และเชียงใหม่ เช่น ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ได้ผู้คนจากบ้านตองโผะ ได้ฟ้าน้อยหมดเมืองธาง และบริวาร ได้คนจากเมืองทูและบ้านแม่ปะ พ.ศ.๒๓๒๙ ได้เมืองปั่น เมืองตองคาย ใน พ.ศ.๒๓๓๒ ก็ได้ชาวบ้านสะต๋อย บ้านวังลุ วังกวาด มารวมไว้อีกด้วย พ.ศ.๒๓๔๑ ก็ได้ประชากรจากเมืองปุ เมืองสาด เมืองแจด ท่าอ้อ เมืองกึงและเมืองกุน มารวมอยู่ในเมืองเชียงใหม่ และในปีรุ่งขึ้นท่านได้ยกกองทัพไปตีเอาประชากรจากบ้านงัวลาย สะต๋อย ส้อยไร ท่าช้าง บ้านนาและท่งอ้อ มาไว้ในเมืองเชียงใหม่อีก ยุคนี้ต่อมานักวิชาการเรียกว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า พระยากาวิละได้ขยายอำนาจครอบคลุมไปถึงเมืองเชียงตุง เชียงรุ่ง เมืองต่าง ๆ ในแคว้นสิบสองพันนาและหัวเมืองบนฝั่งแม่น้ำสาละวิน ใน พ.ศ.๒๓๔๓ พระยามังราววชิรปราการกำแพงแก้ว เจ้าอุปราชา และเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว พร้อมกับเสนาข้าราชบริพารร่วมกัน ให้ชื่อเมืองเชียงใหม่ว่าเมืองรัตนติงสาอภินวปุรี และในปีเดียวกันนี้ เดือนเจ็ดเหนือขึ้น ๑๑ ค่ำ วันเสาร์ ก็ได้โปรดให้ก่อรูปช้างเผือกสองเชือกไว้ทางทิศเหนือของเมือง เชือกที่หันหน้าไปทางเหนือมีชื่อว่าปราบจักกวาฬเชือกที่หันหน้าไปทางทิศ ตะวันตกชื่อปราบ เมืองมารเมืองยักข์ แล้วก่อรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตนไว้หน้าวัดโชติการามหรือวัดเจดีย์หลวง และให้ก่อรูปสุเทวฤษีไว้ทางด้านตะวันตกของหออินทขีลอีกด้วย และอีกสองปีต่อมาในเดือนสี่เหนือ ขึ้น ๑๓ ค่ำได้ก่อรูปมิคคินทสีหราชสีห์ ๒ ตัวไว้ที่ข่วงสิงห์ทางทิศเหนือของเมืองเพื่อเป็น "ชัยมังคละแก่รัฏฐปัชชานราฏฐ์บ้านเมืองทังมวล" ในเดือนอ้ายเหนือ ขึ้น ๔ ค่ำ พ.ศ.๒๓๔๕ ตรงกับวันพุธ ที่ ๒๖ มกราคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่หนึ่งจึงโปรดให้เลื่อนพระยามังราววชิร ปราการกำแพงแก้ว เป็น พระบรมราชานราธิบดีศรีสุริยวงศ์องค์อินทสุรศักดิสมญามหาขัติยราชชาติราชาไชย สวรรย์ เจ้าขัณฑเสมาพระนครเชียงใหม่ราชธานี ศรีสวัสดีฑีฆายุสมอุดม เป็น"พระเจ้าเชียงใหม่"ซึ่งเป็นใหญ่ในล้านนา ๕๗ หัวเมือง และขึ้นกับกรุงเทพฯ ในฐานะเจ้าประเทศราช ใน พ.ศ.๒๓๔๗ พระเจ้าเชียงใหม่โปรดให้พระญาอุปราชยกทัพไปตีเอาเมืองเชียงแสนซึ่งอยู่ใน อาณัติของพม่าได้ ส่วนเจ้ามหาขนานผู้เป็นน้องลำดับที่ ๔ ก็ได้ไปเกลี้ยกล่อมเจ้าเมืองเชียงตุงได้ ในปีเดียวกันนี้โปรดให้เจ้าบุรีรัตน์ยกกองกำลังยกไปเมืองยองหรือมหิยังคบุรี เมื่อกลับคืนมาเชียงใหม่แล้วก็ได้นำ"ท้าวพระยาหัวเมืองนอก"ทั้งปวงล่องไป กรุงเทพฯ ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็โปรดฯให้เลื่อนพญาอุปราชเป็นเจ้ามหาอุปราช เชียงใหม่ ให้พระยาบุรีรัตน์เมืองเชียงใหม่กับนายสรีบุญมาเมืองลำปางเป็นเจ้าเมืองและ อุปราชเมืองลำพูน พระเจ้าเชียงใหม่เดินทางไปกรุงเทพฯ เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ เพื่อนำเอาครอบครัวของชาวมอญไปถวาย เมื่อกลับมาถึงเชียงใหม่ได้ ๒ เดือนกับ ๓ วันพระเจ้าเชียงใหม่ก็ประชวร และถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ.๒๓๕๘ ยามแตรบอกเวลาเข้าสู่เที่ยงคืน รวมระยะการปกครองแผ่นดินทั้งสิ้น ๓๒ ปี สิริรวมพระชนม์ชันษาได้ ๗๔ ปี พระเจ้ากาวิละมีนางเทวีชื่อ "โนชา" มีทายาทชาย ๔ และ หญิง ๑ โอรสองค์ที่ ๒ คือเจ้าหนานสุริยวงศ์ ซึ่งต่อมาเป็น "พระเจ้ากาวิโลรสฯ"เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามขึ้นเป็น "พระเจ้าบรมราชานรบดีศรีสุริยวงศ์ องค์อินทรสุรศักดิ์ สมญามหาขัตติยะราช ชาติราไชยมไหสวรรค์ เจ้าขอบขันธเสมาพระนครพิงค์เชียงใหม่" เป็น พระเจ้าประเทศราช ปกครอง ๕๗ หัวเมืองฝ่ายเหนือ




๒. เจ้าเชียงใหม่ช้างเผือก (เจ้าธรรมลังกา)

พญาธัมมลังกา เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒ เป็นบุตรชายคนที่ ๓ ของเจ้าฟ้าชายแก้วและนางจันทา สมภพเมื่อ พ.ศ.๒๒๘๙ พญาธัมมลังกาได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระยาเชียงใหม่หรือ เจ้าหลวงเชียงใหม่ เมื่ออายุได้ ๗๐ ปี
ดังนั้นบทบาทสำคัญของท่านจึงอยู่ที่การร่วมงานกับพระเจ้ากาวิละอย่างใกล้ชิด เป็นผู้ช่วยราชการที่เข้มแข็งในสมัยพระเจ้ากาวิละ มีบทบาททั้งคู่กับพระเจ้ากาวิละและการปฏิบัติราชการแทนพระองค์
ใน พ.ศ.๒๓๑๗ เมื่อพระเจ้ากาวิละร่วมมือกับพญาจ่าบ้านและพระเจ้ากรุงธนบุรี "ฟื้นม่าน" ปลดปล่อยล้านนาให้พ้นจากอำนาจของพม่าสำเร็จ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งพญาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมือง เชียงใหม่ ตั้งเจ้ากาวิละเป็นเจ้าเมืองนครลำปาง และตั้งเจ้าธัมมลังกาเป็นอุปราชนครลำปาง
ใน พ.ศ.๒๓๔๘ หลังจาก เมื่อกลับจากการตีเมืองต่าง ๆ ในสิบสองพันนา พญาอุปราชผู้เป็นแม่ทัพในครั้งนั้นก็ได้พาพญาบุรีรัตน์ เจ้าหอฅำเมืองเชียงตุง และ"ท้าวพญาหัวเมืองนอกทั้งปวง"คือพญาเมืองยอง พญาเมืองวะ พญาเมืองเชียงขาง และพญานาฝากเมืองยาง ล่องเรือลงไปเฝ้า "สมเด็จพระเอกราชะมหากระสัตรเจ้าตนบุญใหญ่ฯ" ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานรางวัล "พานพระสรีคือขันฅำเครื่องในครบ ๗ สิ่งแลคนโฑ คือ น้ำต้นฅำคะโถนคืออ้องน้ำหมากฅำ พระแสงหอกดาบคือว่าดาบฝักฅำ หอกฅอฅำ แก่พระเปนเจ้ามหาอุปราชาแถมใหม่เปนถ้วนสองที" และพระราชทานเลื่อนยศเป็น เจ้ามหาอุปราชเชียงใหม่ และพระราชทานของรางวัลแก่เจ้านายท้าวพญาทุกท่าน
ใน พ.ศ.๒๓๕๒ พระเจ้ากาวิละพระเจ้าเชียงใหม่มอบหมายให้เจ้ามหาอุปราชธัมมลังกาไป ตรวจด่านทางเมืองยวมถึงฝั่งน้ำแม่ฅง(แม่น้ำสาละวิน)ครั้งนั้นท่านได้ทำพิธี สัตย์ปฏิญาณเป็นมิตรไมตรีกับเจ้าเมืองยางแดงที่ตำบลท่าสะยา โดยล้มกระบือตัวหนึ่งเอาเลือดกระบือผสมกับสุราเป็นสัจจบาน แล้วผ่าเขากระบือออกเป็นสองซีกให้เมืองเชียงใหม่และเมืองยางแดงรักษาไว้ และว่า " ตราบใดน้ำแม่คงบ่หายเขาควายบ่ซื่อ ถ้ำช้างเผือกบ่ยุบ เมืองเชียงใหม่กับเมืองยางแดงคงเป็นไมตรีกันอยู่ตราบนั้น"
เมื่อพระเจ้าเชียงใหม่(เจ้ากาวิละ)ถึงแก่พิราลัยแล้วใน พ.ศ.๒๓๕๘ นั้นเจ้าธัมมลังกา หรือเจ้าน้อยธัมมลังกาหรือน้อยธัมม์ ผู้เป็นน้องลำดับที่ ๒ ของเจ้ากาวิละซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ามหาอุปราชเมืองเชียงใหม่อยู่นั้นได้รักษา ราชการในเมืองเชียงใหม่สืบต่อมา เมื่อถึงเดือน ๙ เหนือ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันศุกร์ บรรดาเจ้านายลูกหลานท้าวพระญา เสนาอามาตย์ในเชียงใหม่ทั้งมวลก็ได้น้อมบ้านเวนเมืองให้เจ้ามหาอุปราชเป็น เจ้าเมืองเชียงใหม่ เฉลิมนามว่า เสตหัตถิสุวัณณปทุมราชาเจ้าช้างเผือก และเชิญเจ้าฅำฝั้นเจ้าเมืองลำพูน ซึ่งเป็นน้องคนที่ ๖ มาเป็นอุปราชา (ให้เจ้าอุปราชสรีบุญมาผู้น้องลำดับที่ ๗ เป็นเจ้าเมืองลำพูนแทน)
ใน พ.ศ.๒๓๕๙ ได้ช้างเผือกเอก ๑ เชือกให้ชื่อช้างเผือกนั้นว่า เสตัคคนาเคนท์ ครั้น ถึงเดือน ๑๑ เหนือแรม ๖ ค่ำวันพุธ พระเจ้าช้างเผือกให้เจ้าพุทธวงศ์และเจ้าสุวัณณะฅำมูน คุมช้างเผือกล่องลงไปถวายพระเจ้าอยู่หัวในกรุงเทพมหานคร และถัดมาในเดือนยี่เหนือ พระเจ้าช้างเผือกก็ยกกองเรือ ล่องไปสมทบนำช้างเผือกเข้าถวาย ในครั้งนั้นก็ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักรัตนโกสินทร์ให้เป็นพระญาเชียงใหม่ ให้เจ้าฅำฝั้นหรือพญาลำพูนฅำฝั้นเป็นอุปราชเชียงใหม่ และเลื่อนพยาอุปราชบุญมาเมืองลำพูนเป็นพญาลำพูน
ในยุคของพญาธัมมลังกานี้ได้มีการซ่อมแซมคูและกำแพงเมือง ซึ่งพญามังรายได้โปรดให้สร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ขุดคูรอบเมืองกว้างประมาณ ๒๐ วา แล้วใช้มูลดินจากการขุดคูถมเป็นแนวกำแพงซึ่งสูง ๘ ศอก กว้าง ๖ ศอก เมื่อ พ.ศ. ๒๐๑๖ ในสมัยพระเมืองแก้วได้มีการปรับแนวกำแพงเมืองให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม และใช้อิฐก่อสองข้างแนวกำแพงนั้น และบูรณะอีกครั้งในสมัยพระเจ้ากาวิละ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ โดยเริ่มเมื่อพ.ศ.๒๓๖๑ เดือนสี่เหนือแรม ๔ ค่ำ วันพฤหัสบดี เริ่มการขุดลอกคูเมืองตั้งแต่แจ่งกู่เรืองไปจนถึงประตูไหยา มีความยาวรวม ๖๐๖ วา ใน พ.ศ.๒๓๖๓ ให้เริ่มก่อกำแพงเมือง โดยเริ่มจากด้านแจ่งสรีภูมิแล้วเวียนไปทางซ้าย
พ.ศ.๒๓๖๔ เดือนแปดเหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ วันอังคาร พญาธัมมลังกาไม่สบายถึงกับอาเจียน ครั้นถึงวันรุ่งขึ้น พระญาธัมมลังกาก็ถึงแก่พิลาลัยหลังจากที่ราชสำนักกรุงเทพแต่งตั้งให้เป็นพญา เชียงใหม่เมื่อมีอายุ ๗๐ ปี ครองเมืองในฐานะของพระเจ้าประเทศราชได้ ๗ ปี ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุได้ ๗๗ ปี พระนางเทวีของพญาธัมมลังกาชื่อแม่เจ้าจันฟองมีราชบุตรราชธิดารวม ๑๗ องค์ เป็นชาย ๖ และเป็นหญิง ๑๑




๓. เจ้าหลวงเศรษฐี (คำฝั้น)


พญาฅำฝั้น หรือเจ้าฅำฝั้น เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ เป็นราชบุตรลำดับที่ ๘ และเป็นราชบุตรชายลำดับที่ ๖ ของเจ้าฟ้าชายแก้วกับเจ้านางจันทา สมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๙ เป็นผู้ช่วยราชการที่เข้มแข็ง ทั้งในสมัยพระเจ้ากาวิละและพญาธัมมลังกา ซึ่งเอกสารพื้นเมืองมักเรียกรวมว่า "เจ้า ๓ องค์พี่น้อง" คือพระเจ้ากาวิละที่ได้รับพระราชทานนามว่าพระยามังราววชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ เจ้าธัมมลังกาซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ และเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว ซึ่งเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้วนี้คือเจ้าฅำฝั้น ผู้ซึ่งได้เป็นเจ้าหลวงองค์ที่ ๓ ของเชียงใหม่ซึ่งมักเรียกกันว่า "เจ้าหลวงเสฏฐีฅำฝั้น" หรือ"เจ้าหลวงเศรษฐีคำฟั่น" พ.ศ.๒๓๔๘ เจ้าอุปราช และเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว กับเจ้าหอฅำเชียงตุงได้นำบรรดาท้าวพญาหัวเมืองทั้งหลาย ลงไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดให้เจ้ารัตนะวังหลัง หรือเจ้ารัตนะหัวเมืองแก้ว คือเจ้าฅำฝั้นและเจ้าสรีบุญมาซึ่งเป็นน้องคนเล็กในกลุ่มเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ ยกเข้าไปตั้งเมืองลำพูน เพื่อพลิกฟื้นเมืองลำพูนซึ่งร้างอยู่ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เจ้าฅำฝั้นได้รับพระกรุณาแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองลำพูนแล้ว เจ้าฅำฝั้นก็ได้บูรณะวัดวาศาสนสถานและสิ่งปรักหักพังต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ จนถึงพ.ศ. ๒๓๕๙ ในคราวที่พระญาธัมมลังกาได้รับพระราชทานแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัยในกรุงเทพฯให้เป็นพระญาเชียงใหม่นั้น ก็ทรงแต่งตั้งให้พระญาลำพูนฅำฝั้นเป็นอุปราชเชียงใหม่ และเลื่อนพระญาอุปราชบุญมาเมืองลำพูนเป็นพระญาลำพูน เมื่อพระญาธัมมลังกาหรือพระยาเชียงใหม่ช้างเผือกถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๔ แล้ว เจ้านายลูกหลานท้าวพระญาเสนาอามาตย์ มีเจ้าพุทธวงส์เป็นประธานได้พร้อมกันยกเจ้าอุปราชฅำฝั้นขึ้นเป็นเจ้าหลวง เชียงใหม่ มีชื่อว่า "เจ้ามหาสุภัทรราชะ" โดยที่พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเครื่องยศให้แก่เจ้าพุทธวงส์และตั้งให้ เป็นอุปราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๕ เจ้าฅำฝั้นได้ลงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเลื่อนเจ้าฅำฝั้นขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่ ใน พ.ศ.๒๓๖๗ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต เจ้าหลวงเสฏฐีฅำฝั้นจึงให้มีการทำบุญครั้งใหญ่ เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปถวายพระเจ้าอยู่หัวซึ่งสวรรคตไปนั้นและให้ เจ้าอุปราชพุทธวงส์ได้พาเอาเจ้านายและขุนนางเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่กรุงเทพฯ ช่วงนั้นเจ้าหลวงฅำฝั้นเริ่มอาการป่วย ซึ่งเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ก็ให้หมอขึ้นมาช่วยรักษา อาการก็มิได้หายขาด จนถึงวันอาทิตย์ เดือนห้าเหนือแรม ๑๑ ค่ำ ในเวลาบ่าย เจ้าหลวงเสฏฐีฅำฝั้นก็ถึงแก่พิลาลัยใน พ.ศ. ๒๓๖๗ ซึ่งต่อมา เจ้าราชวงศ์รื้อเอาหอขวางของเจ้าหลวงฅำฝั้นไปสร้างวิหารที่วัดเชียงมั่น เจ้าหลวงฅำฝั้นครองเมืองเชียงใหม่เพียง ๒ ปี โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๖ ในขณะที่มีอายุ ๖๗ ปี และวายชนม์เมื่ออายุ ๖๙ ปี มีแม่เจ้าตาเวย เป็นราชเทวี เจ้าหญิงคำแปง เป็นราชเทวี และมีหม่อมอีก ๑๔ นาง มีราชบุตร ๒๐ องค์ ราชธิดา ๒๔ องค์



๔. เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น (เจ้าพุทธวงศ์)

เจ้าหลวงวงศา เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๔ ชาวเมืองเชียงใหม่ เรียกพระองค์ว่า เจ้าหลวงแผ่นดินเย็น ได้ครองเมืองนานถึง ๒๐ ปี เป็นบุตรลำดับที่ ๑ ของนายพ่อเรือนซึ่งเป็นน้องของเจ้าฟ้าชายแก้ว พญาพุทธวงส์ มีบทบาทในฐานะของพระญาติและเป็นบุคคลสำคัญในการรวบรวมผู้คน มาเป็นประชากรของเมืองเชียงใหม่ในสมัยของพระเจ้ากาวิละ เมื่อเจ้าหลวงฅำฝั้นถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ เดือนห้าเหนือ แรม ๑๑ ค่ำนั้น บรรดาขัตติยวงสาท้าวพญาเสนาอามาตย์
ก็น้อมบ้านเวนเมืองให้เจ้าพุทธวงส์ พ.ศ.๒๓๗๐ เจ้ามหาอุปราชและเจ้านายทั้งหลายร่วมกับพระสงฆ์ ๑๐๘ รูป เชิญพญาพุทธวงส์ขึ้นสถิตที่ หอเดื่อหอชัย
รดน้ำราชาภิเษกเป็นจำนวน ๑๖ กระออม จากนั้นจึงนำขึ้นสู่หอเทียมที่สร้างขึ้นใหม่ ครั้นถึง พ.ศ.๒๓๘๙ พญาพุทธวงส์เจ้าหลวงเชียงใหม่ป่วยถึงแก่พิลาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยารักษมณเฑียรซึ่งเป็นพระยาอิศรานุภาพ กับหลวงพิทักษ์สุเทพเป็นข้าหลวงขึ้นไปช่วยจัดการพระศพของเจ้าหลวงพุทธวงส์ ด้วย ท่านมีราชบุตรรวม ๙ องค์



๕. พระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าหลวงมหาวงษ์)

พระเจ้ามโหตรประเทศฯ ทรงเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๕ พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๓๙๗ พระนามเดิมคือ เจ้าหนานมหาวงส์ เป็นราชโอรสองค์ที่ ๒ ในจำนวน ๑๖ องค์และเป็นราชโอรสองค์แรกในจำนวน ๕ องค์ของพระญาธัมมลังกา หรือ พระเจ้าช้างเผือกธัมมลังกาซึ่ง เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๒ หลังจากพระญาพุทธวงส์หรือเจ้าหลวงแผ่นดินเย็นพุทธวงส์เจ้าเมืองเชียงใหม่ เสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ แล้ว เจ้าหนานมหาวงศ์ซึ่งเป็นอุปราชก็ได้รั้งเมืองสืบมา จนถึง พ.ศ. ๒๓๙๐ พญาอุปราชมหาวงศ์เมืองเชียงใหม่และเจ้าพิมพิสารได้นำช้างพลายสีประหลาดลง ไปถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครั้งนั้นก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตั้งเจ้าอุปราชมหาวงศ์ เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ ตั้งเจ้าพิมพิสารเป็นพญาอุปราชเมืองเชียงใหม่

ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พญานครเชียงใหม่ พญานครลำพูน และพญาอุปราชนครลำปาง ได้จัดต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในปี พ.ศ. ๒๓๙๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯให้พระยาสีหราชฤทธิไกร
เชิญพระสุพรรณบัฏ กับเครื่องสูงมาพระราชทานพญาเชียงใหม่มหาวงศ์และโปรดเกล้าขึ้นเป็นพระ เจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์ นพีสินทรมหานคราธิสฐาน ภูบาลบพิตร สถิตในอุตมชิยางคราชวงศ์ เจ้านครเชียงใหม่ ในขณะนั้นยังทรงประชวรอยู่
ครั้นได้เป็นพระเจ้าประเทศราชได้ ๕ เดือนกับ ๒๘ วัน ถึงวันเดือนยี่เหนือ แรม ๙ ค่ำ ปีจุลศักราช ๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) พระโรคกำเริบมากขึ้น พระเจ้ามโหตรประเทศฯก็เสด็จถึงแก่พิราลัย รวมเวลาที่ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าหลวงเชียงใหม่ได้ ๗ ปีเศษ
พระเจ้ามโหตรประเทศฯมีราชโอรสธิดา รวม ๑๙ องค์
โดยเป็นชาย ๑๐ องค์ และเป็นหญิง ๙ องค์

ในสมัยพระเจ้ามโหตรประเทศนี้ มีหลักฐานปรากฏชัดอยู่ว่าทางราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๓ ให้การสนับสนุนโดยมีพระประสงค์ที่จะให้เจ้ามหาวงศ์ "เอาใจใส่ดูแลราชการบ้านเมืองให้ทั่วไปทั้งสามเมือง" ถือได้ว่า นับตั้งแต่ปลายสมัยของเจ้าหลวงพุทธวงศ์แห่งเชียงใหม่นั้น พระเจ้ามโหตรประเทศแห่งนครเชียงใหม่ได้ทรงมีบทบาทมากขึ้นจนสามารถควบคุมดูแล ไปถึงนครลำพูน และนครลำปาง อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เคยมีในสมัยพระเจ้ากาวิละ




๖. พระเจ้ากาวิโรรส ฯ (เจ้าสุริยวงศ์ ราชบุตร พระเจ้ากาวิละ)

พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๖ เป็นโอรสองค์ที่สองในจำนวน ๕ องค์ของพระเจ้ากาวิละ เดิมชื่อเจ้าสุริยวงษ์ เมื่อได้บวชและลาสิกขาบทแล้วจึงได้ชื่อว่า "เจ้าหนานสุริยวงษ์"
เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศฯเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๕ ประชวรและถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีตราขึ้นมาตั้งให้พญาอุปราชพิมพิสารว่าราชการเมือง แต่ก็ไม่ปรองดองกับเจ้าน้อยมหาพรหม โอรสองค์แรกของพระเจ้ามโหตรประเทศ จนกิตติศัพท์ทราบไปถึงกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยามุขมนตรี (เกษ) กับหลวงวิสูตร์สมบัติขึ้นมาระงับ เหตุการวิวาท และปลงพระศพพระเจ้ามโหตรประเทศฯด้วย เมื่อจัดการเสร็จแล้วจึงได้พาตัวขนานสุริยวงษ์ โอรสองค์ที่สองของพระเจ้ากาวิละ ซึ่งดำรงตำแหน่งพญาบุรีรัตน์หรือพญาเมืองแก้วหรือเจ้ารัตนะ หัวเมืองแก้วกับเจ้าน้อยมหาพรหม เจ้าขนานสุริยวงษ์ โอรสพระเจ้ามโหตรประเทศฯ และพญาอุปราชเมืองนครลำปางลงไปกรุงเทพฯ
ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า นครเชียงใหม่ นครลำพูนและนครลำปางเป็นเมืองประเทศราช เคยมีเจ้าผู้ครองนครมาก่อน จึงมีพระราชประสงค์จะเปลี่ยนตำแหน่งพญาเป็นตำแหน่ง "เจ้า" ดังนั้น ใน พ.ศ.๒๓๙๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศพญาเมืองแก้วสุริยวงษ์ บุตรของพระเจ้ากาวิละขึ้นเป็น พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศ ลักษกระเษตร วรฤทธิเดชมหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่ ตั้งเจ้าขนานธัมมปัญโญ บุตรพญาเชียงใหม่ฅำฝั้นเป็นเจ้าอุปราช ตั้งเจ้าอินทนนท์เป็นเจ้าบุรีรัตน์ (ทรงแก้จากตำแหน่งพญาเมืองแก้ว) ครั้นเดือน ๑๒ เจ้านครเชียงใหม่ให้เจ้าน้อยหน่อคำ เจ้าน้อยแผ่นฟ้าคุมต้นไม้เงินทองเครื่องราชบรรณาการลงไปทูลเกล้าถวาย จึงโปรดฯ ให้ตั้งเจ้าน้อยหน่อฅำ ราชบุตรพญาเชียงใหม่ช้างเผือกเป็นเจ้าราชวงศ์ และตั้งเจ้าน้อยแผ่นฟ้าเป็นเจ้าราชภาคินัย นครเชียงใหม่
ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๐๔ พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ล่องลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร ครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้เลื่อนเป็นพระเจ้านครเชียงใหม่ ซึ่งในสมัยนี้มีผู้เรียกท่านว่า "เจ้าชีวิตอ้าว" เพราะพระองค์ท่านมักจะใช้อำนาจเด็ดขาด โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาคดี ถ้าพระองค์ท่านดำรัสว่า "อ้าว" เมื่อใด ก็แสดงว่าบุคคลที่มีความผิดนั้น "คอขาด"
พระเจ้าหลวงกาวิโลรสสุริยวงษ์ หรือ "เจ้าชีวิตอ้าว" อภิเษกเสกสมรสกับแม่เจ้าอุสา และมี พระธิดาสององค์ คือ
๑. เจ้าทิพเกสรหรือเทพไกสร เป็นพระชายาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์และเป็นมารดาของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา
๒. เจ้าอุบลวัณณา เป็นยายของเจ้ากาวิละวงศ์



๗. พระเจ้าอินทวิชยานนท์

เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ มีพระนามเดิมว่า เจ้าอินทนนท์ เป็นราชบุตรเจ้าราชวงศ์มหาพรหมฅำฅงกับแม่เจ้าฅำหล้า และเป็นราชบุตรเขยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ เสกสมรสกับเจ้าเทพไกสร (ทิพเกษร) มีบุตรและธิดากับแม่เจ้าเทพไกสรพร้อมกับแม่เจ้าอื่น ๆ และหม่อมอีก รวมทั้งหมด ๑๑ คน คนที่มีบทบาทสำคัญต่อมา ๓ องค์ คือโอรสคนที่ ๖.เจ้าน้อยสุริยะ (ต่อมาเป็นเจ้าสุริยวงศ์- เจ้าราชบุตร-เจ้าอุปราช แล้วเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ฯเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำดับที่ ๘ |กำเนิดจากแม่เจ้ารินฅำ) โอรสคนที่ ๗.เจ้าแก้วนวรัฐ (ต่อมาเป็นเจ้าราชภาคินัย -เจ้าสุริยวงศ์-เจ้าราชวงศ์-เจ้าอุปราชตามลำดับ แล้วเป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ลำดับที่ ๙ กำเนิดจากหม่อมเขียว) และพระธิดาองค์ที่ ๑๑.เจ้าหญิงดารารัศมี (ต่อมาคือ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ ๕ กำเนิดจากแม่เจ้าเทพไกสร)
พ.ศ.๒๔๑๖ เดือน ๖ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าอุปราชอินทนนท์เป็น พระ เจ้าอินทรวิชยานนท์ พหลเทพภักดี ศรีโยนางคราชวงศา มหาประเทศราชาธิบดี นพีสีนคราภิพงศ์ดำรง พิพัฒน์ ชิยางค์ราชวงศา เจ้านครเชียงใหม่ และทรงแต่งตั้งเจ้าบุญทวงศ์เป็นเจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ.๒๔๒๔ จึงโปรดเกล้าฯเลื่อนฐานันดรศักดิ์เจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ และถึงแก่พิราลัยเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ จัดการปลงพระศพในปีต่อมาเมื่อเดือนหกเหนือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ที่ท่าน้ำแม่ปิง ก่อสถูปบรรจุพระอัฐิไว้ที่ต้นไม้กร่าง ฝ่ายตะวันตกของสะพานข้ามน้ำแม่ปิง ต่อจากสถูปของแม่เจ้าเทพไกสร (ต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีให้ย้ายไปที่วัด สวนดอก เชียงใหม่)
ในครั้งที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ลงไปเฝ้าฯ รัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๙ นั้น ได้พาเอาพระธิดาชื่อเจ้าดารารัศมีซึ่งขณะนั้นอายุ ๑๓ ปีลงไปด้วย ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการสมโภช และให้เจ้าดารารัศมีเข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมตั้งแต่บัดนั้น ก่อนที่เจ้าดารารัศมีจะกลับมาเยี่ยมเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๑ ก็ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศขึ้น เป็น "พระราชชายา" อันเป็นตำแหน่งมเหสีเทวีพระองค์หนึ่ง
ในช่วงสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์นี้ มิชชันนารีคือศาสนาจารย์แมคกิลวารีและครอบครัวได้ขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ๓ เมษายน พ.ศ.๒๔๑๑ ตั้งจุดประกาศศาสนา เริ่มจัดการศึกษาแแบบตะวันตกโดย นางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี ได้เริ่มให้มีการศึกษาสำหรับสตรีครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๑๘ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ นางสาวแมรี แคมป์เบลล์ และเอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรีที่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ" (Chiengmai Boys School) ขึ้นที่บริเวณที่เรียกว่าวังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ โดยศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าวระยะแรกใช้ภาษาอังกฤษและภาษาล้านนาในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรล้านนา โดยมิชชันนารีประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรธรรมล้านนาได้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๗๙
ในสมัยนี้บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทะยอยเข้ามาประกอบกิจการในเชียงใหม่เช่นบริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo) เข้ามาในราว พ.ศ. ๒๔๐๗ บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma) เข้ามาในราว พ.ศ. ๒๔๓๒ และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่น ๆ เข้ามาทำงานในกิจการดังกล่าว ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเข้ามาในล้านนามากขึ้นตามลำดับ และในการทำป่าไม้ได้เกิดปัญหาถึงขั้นฟ้องศาลที่กรุงเทพหลายคดี จากหลักฐานพบว่ามีคดีความจำนวน ๔๒ เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๑-๒๔๑๖ ตุลาการตัดสินยกฟ้อง ๓๑ เรื่อง ส่วนอีก ๑๑ เรื่องพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม ๔๖๖,๐๑๕ รูปี หรือ ๓๗๒,๘๑๒ บาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯได้ขอชำระเพียงครึ่ง เดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน ๖ เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยอมรับ บังคับให้เจ้าเมืองเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯก็ไม่ยินยอม ดังนั้น เจ้าเมืองเชียงใหม่จึงจ่ายค่าเสียหาย ๑๕๐,๐๐๐ รูปี (๑๒๐,๐๐๐ บาท) ราชสำนักกรุงเทพฯให้ยืมเงิน ๓๑๐,๐๐๐ รูปี (๒๔๘,๐๐๐ บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน ๗ ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้ขอนสัก ๓๐๐ ท่อนต่อปี
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเหตุหนึ่ง ให้ต้องมีการปฏิรูปการปกครองในมณฑลพายัพในเวลาต่อมา โดยเริ่มตั้งแต่ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ปลัดบัญชีกรมพระกลาโหมไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำอยู่ที่เชียงใหม่ มีหน้าที่ควบคุมดูแลและแนะนำให้พระเจ้าเชียงใหม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา เชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๑๖ และ โปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงพิเศษ มาจัดการแก้ไขปัญหาชายแดนและดำเนินการปฏิรูปการปกครองมณฑลพายัพเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ.๒๔๒๗ ส่งผลให้เกิดปฏิกริยาเป็นกบฎผญาปราบสงคราม ในพ.ศ.๒๔๓๒ หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว รัฐบาลกลางได้ยอมผ่อนปรนบางประการ เช่น ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อนุญาตให้พระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯยกเลิกเสนาผู้ช่วย ๖ ตำแหน่งตามที่เสนอไป แต่ก็ดำเนินการปฏิรูปการปกครองตามระบบมณฑลเทศาภิบาลต่อไปจนสำเร็จ จัดตั้งเป็นมณฑลลาวเฉียง (พ.ศ.๒๔๓๖ - ๒๔๔๒) และมณฑลพายัพ
(พ.ศ.๒๔๔๒-๒๔๗๖) อยู่ภายใต้การกำกับราชการของข้าหลวงเทศาภิบาล



๘. เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ

เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ พระนามเดิมว่า เจ้าน้อยสุริยะเมฆะ เป็นบุตรของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ กับแม่เจ้ารินฅำพระธิดาของเจ้าไชยลังกาพิศาลคุณ
สมภพเมื่อวันศุกร์เดือน ๖ เหนือ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะแม พ.ศ.๒๔๐๒
เมื่อมีพระชนมายุได้ ๒๓ ปี ได้ล่องลงไปเฝ้าฯ รัชกาลที่ ๔ และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นที่ "เจ้าสุริยะวงศ์จางวาง" เป็นผู้ช่วยราชการพระเจ้าเชียงใหม่
พ.ศ.๒๔๓๒ ได้ลงไปเฝ้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นเจ้าราชบุตร และได้รับตำแหน่งนายทหารบกเป็นนายพันตรี
พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นเจ้าราชวงศ์ และตำแหน่งเสนามหาดไทย รับเบี้ยหวัดปีละ ๑,๕๐๐ รูปี ต่อมาพ.ศ.๒๔๔๑ ได้นำต้นไม้ทองต้นไม้เงินและเครื่องราชบรรณาการไปทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นที่ "เจ้าอุปราช"
ครั้นพระเจ้าอินทวิชยานนท์ฯ พระบิดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๔๔๑ รัชกหาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็น "เจ้า อินทวโรรสสุริยวงษ์ ดำรงนพีสีนคร สุนทรทศลักษณ์เกษตร วรฤทธิเดชดำรง จำนงยุติธรรมสุจริต วิศิษฐ์สัตยธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และในเดือนธันวาคมนั้น ก็ได้รับเลื่อนเป็นนายพันเอกทหารบก
เมื่อมาถึงวันที่ ๕ มกราคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ.๒๔๕๓) เวลาบ่าย ๔ โมง ๕๕ นาที ก็ถึงแก่พิราลัย เมื่อพระชนมายุได้ ๕๑ ปี ได้ว่าราชการแทนเจ้าผู้ครองนคร ๒ ปี ได้เป็นเจ้าผู้ครองนคร ๘ ปี รวมที่ได้ว่าราชการเมืองเชียงใหม่ ๑๐ ปี
สมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนี้ เป็นยุคที่มีข้าหลวงเทศาภิบาลกำกับราชการทั้งปวง ดังนั้น จึงไม่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการและต้นไม้ทองต้นไม้เงินอีกต่อไป โดยที่เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯได้รับพระราชทานเงินเดือนเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
ในบั้นปลายชีวิตของเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ฯนั้น ท่านเป็นโรคไอ แพทย์หลวงตรวจดูอาการพบว่า ปอดเสีย จนถึงวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๒ ก็ถึงแก่พิลาลัย



๙. พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐฯ (พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๘๒)

ต่อด้านล่าง
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 676
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 26, 2012, 10:22:24 AM »
๙. พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐฯ (พ.ศ.๒๔๐๕-๒๔๘๒)

พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐฯ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๙ สมภพ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เวลา ๖.๐๐น.
ณ หอคำนครเชียงใหม่ เป็นโอรสลำดับที่ ๖ ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ กับแม่เจ้าเขียว มีภาดาและภคินีร่วมราชบิดา ๑๑ และร่วมอุทร ๒
เมื่อพระองค์ท่านมีพระชนมายุได้ ๒๒ ปี ได้อภิเษกสมรสกับแม่เจ้าจามรี ราชธิดาของเจ้าราชภาคิไนย(แผ่นฟ้า)ต่อมาภายหลังได้ เจ้าหญิงไฝ หม่อมบัวเขียว และหม่อมแสเป็น "หม่อม" หรือชายาอีก มีราชบุตร ๔ ราชธิดา ๒ ดังนี้
๑. เจ้าอุตรการโกศล (น้อยศุขเกษม) เจ้าชายผู้มั่นคงในรักกับ มะเมี๊ยะ
๒. เจ้าหญิงบัวทิพย์
๓. เจ้าราชบุตร (วงษ์ตะวัน) (ลำดับที่ ๑-๓ เกิดแต่แม่เจ้าจามรี)
๔. เจ้าพงษ์อินทร์
๕. เจ้าหญิงศิริประกาย
๖. เจ้าอินทนนท์ (ลำดับที่ ๔-๖ เกิดแต่หม่อมเขียว)

ในปี พ.ศ.๒๔๒๗ เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้เริ่มรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นรองเสนาคลัง
พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นเสนาคลัง
พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นเสนามหาดไทย
พ.ศ. ๒๔๕๒ รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์ ดังต่อไปนี้
- พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นเจ้าราชภาคิไนย
- พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นเจ้าสุริยวงศ์
- พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็นเจ้าราชวงศ์
- พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นเจ้าอุปราช
- พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เป็น
เจ้าแก้วนวรัฐ ประพัทธอินทนันทพงษ์ ดำรง นพีสีนครเขตต์ ทศลักษเกษตรอุดม บรมราชสวามิภักดิ์ บริรักษ์ปัจฉิมานุทิศ สุจริตธรรมธาดา มหาโยนางคราชวงศาธิบดี เจ้านครเชียงใหม่
- พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นนายพลตรี, ราชองครักษ์พิเศษ นายทหารพิเศษ, ประจำกองทัพบก
เจ้าแก้วนวรัฐฯได้รับราชการพิเศษต่าง ๆ เช่น พ.ศ. ๒๔๒๐ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้คุมราษฎรในเชียงใหม่และลำพูน จำนวนประมาณ ๓๐๐ ครัวเรือนไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เชียงแสน
พ.ศ.๒๔๒๙ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้เป็นผู้แทนพระองค์ ควบคุมเครื่องราชบรรณาการไปทูลเกล้าถวาย แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.๒๔๓๓ ครั้งเกิดกบฎผญาปราบสงคราม เจ้าแก้วนวรัฐฯ ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็น แม่กองนำกำลังติดตามไปจับกุม ครั้งนั้นได้เกิดต่อสู้กัน กองกำลังของเจ้าแก้วนวรัฐฯจับกุมตัวบุคคลสำคัญในสังกัดของผญาปราบสงครามได้ หลายคน จึงได้ส่งตัวให้แก่ศาลเพื่อพิจารณาลงโทษ
พ.ศ. ๒๔๔๕ ได้มีผู้ร้ายคุมพวกเข้าปล้นที่ว่าการอำเภอหางดง เจ้าแก้วนวรัฐฯ พร้อมกับ พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงประจำเชียงใหม่ ได้ออกไปสืบสวนและจับกุมผู้ร้ายมาได้และให้ส่งให้ศาลพิจารณาโทษ
พ.ศ. ๒๔๔๕ ในช่วงที่ พวกเงี้ยวก่อการจลาจลขึ้นในท้องที่เมืองต่างๆ ในล้านนา เช่น ที่เมืองแพร่ และที่ลำปาง ครั้งนั้น เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้รับมอบหมายให้นำกำลังไปสกัดพวกจลาจลเงี้ยว อยู่ที่เชียงราย
ในระหว่างนี้ ได้มีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่อำเภอฮอด โดยผู้ร้ายปล้นและฆ่านายอำเภอ เจ้าแก้วนวรัฐได้ออกไปสืบสวนและจับกุมผู้ร้ายแล้วส่งศาลพิจารณาโทษ และในปีเดียวกันนี้ พวกเงี้ยวในเมืองแม่ฮ่องสอนได้รวมตัวกันจะก่อการจลาจลขึ้น เจ้าแก้วนวรัฐฯ พร้อมกับพระยานริศราชกิจ ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่ได้ออกไประงับเหตุได้ทันกาล ทำให้พวกเงี้ยวที่คิดการนั้นล้มเลิกไป
นอกจากนี้ เจ้าแก้วนวรัฐฯ ยังได้เป็นแม่กองจัดสร้างถนนหลายสาย เพื่อเชื่อมการคมนาคมของอำเภอรอบนอกกับในเมือง ถนนสายสำคัญสายหนึ่งที่องค์ท่านได้สร้างก็คือ ถนนสายสันทราย และสายดอยสะเก็ด ซึ่งเวลานี้เรียกถนนนี้ว่า ถนนแก้วนวรัฐฯ และอีกสายหนึ่งที่ร่วมสร้างกับท่านครูบาศรีวิชัยและคณะศรัทธาประชาชนก็คือ ถนนขึ้นดอยสุเทพ ท่านได้เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์และเป็นผู้ลงจอบแรกในการสร้างถนนสายนี้ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๗
เจ้าแก้วนวรัฐฯ ได้เริ่มป่วยมาแต่ต้นปี พ.ศ.๒๔๘๑ แต่ก็ยังเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อรับเสด็จรัชกาลที่ ๘ ในครั้งเสด็จนิวัติพระนคร เสร็จแล้วให้นายแพทย์กอชริชในพระนครรักษา ต่อมามีนาคม ๒๔๘๑ ป่วยลงอีก ปรากฏว่าไตและตับอักเสบ ถึงแก่พิราลัยเมื่อ ๒๑.๔๐ น.
ของวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๒ เมื่ออายุ ๗๗ ปี และได้รับการพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ ๒๓ กรกฏาคม ๒๔๘๒ ณ เมรุวัดสวนดอก และบรรจุอัฐิไว้ ณ ที่กู่ของเจ้านายฝ่ายเหนือภายในบริเวณวัดสวนดอก

เจ้าล้านนา

"เจ้า - คำว่า เจ้า เป็นคำเรียกขาน นำหน้านามแบบล้านนา ใช้กับผู้สืบสกุลของ เจ้าหลวง แต่ทั้งนี้ มีผู้สืบสกุลดังกล่าวเป็นจำนวนไม่น้อย ซึ่งดำรงชีวิตตามแบบสังคมเมืองในปัจจุบัน แม้จะมีความผูกพันกับสายสกุลอยู่อย่างมาก แต่ก็เลือกที่จะไม้ใช้คำเรียกขานตามแบบโบราณประเพณี เช่นนี้

ทางนครเชียงใหม่ ถือดังนี้
พ่อเป็นเจ้า แม่เป็นไพร่ ลูกจะเป็นเจ้าไปทุกชั้น
พ่อเป็นไพร่ แม่เป็นเจ้า ลูกจะไม่เป็นเจ้า
ยกเว้นสายตรงเจ้าหลวงถ้าแม่เป็นธิดาเจ้าหลวงได้สวามีเป็นไพร่ ลูกก็เป็นเจ้า
เจ้าในสมัยที่ปกครองโดยเจ้าหลวง มีลำดับดังนี้

๑. เจ้าหลวง ๒. เจ้าอุปราช ๓. เจ้าราชวงศ์ ๔. เจ้าบุรีรัตน์ ๕. เจ้าราชบุตร
รวมเรียกเจ้า ๕ ขัน เจ้า ๕ ขันนี้ เป็นตำแหน่งสูงสุด เมื่ออภิเษกกับเจ้าด้วยกัน รวมถึงเจ้าเชียงตุงด้วย โดยส่วนมากก็เป็นผู้ชายอยู่แล้ว ลูกก็เกิดมาเป็น "เจ้า" ถ้าผู้ชาย ก็เรียก "เจ้าจาย" ถ้าผู้หญิงก็เรียก "เจ้าญิง" แต่นำหน้าว่าเจ้าได้ ภายหลัง ได้รับพระราชทานนามสกุล แก่เจ้าหลวง (ถ้าจำไม่ผิดก็เป็นเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงองค์ที่ ๙ องค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่) จากรัชกาลที่ ๖ ก็ต่อว่า
ณ เชียงใหม่

และตำแหน่งอื่นๆ โดยสืบต่อกันมาตามสายเลือด เลื่อนมาตามลำดับ ยังมี
๖. เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์
๗. เจ้าราชภาคินัย
๘. เจ้าราชภาติกวงศ์

สำหรับเจ้าที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารราชกิจส่วนมากจะเป็นผู้หญิงก็จะอยู่ในตำแหน่ง
๙. เจ้าวรญาติ
๑๐. เจ้าประยูรญาติ

กรณีต่อมา คือเจ้าย่อมมีหม่อมหลายคน สมัยก่อนไม่มีดารา ก็มีแต่ ช่างซอ หรือช่างฟ้อน เป็นต้น ซึ่งส่วนมากเป็นคนนอกคุ้มคือเป็นคนธรรมดา ถ้าเจ้า ทั้ง ๕ ที่ลำดับมา เกิด แต่งงานด้วยก็จะได้เป็น "หม่อม" ลูกออกมาก็เป็น "เจ้า" เหมือนกัน แต่ถัดจากเจ้า ๕ ขันนี้แล้วต้อง พ่อแม่เป็นเจ้าเท่านั้น ลูกจึงใช้ คำว่าเจ้าได้
ซึ่งหายากแล้ว เช่น เจ้าพ่อ เจ้าแม่ของ เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เป็นต้น

หรือ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ที่พ่อท่าน เป็นเจ้า แต่แม่เป็นคนธรรมดา ก็ใช้เจ้าไม่ได้ แต่ชื่อเล่นท่าน ใครๆ ก็เรียกเจ้าหนุ่ย หรือ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ แม่ท่านก็เป็นคนสามัญ แต่พ่อเป็น เจ้า ๕ ขัน ก็เลยใช้เจ้าได้ แล้วเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ กับ เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ ก็ถือเป็น Generation สุดท้ายที่จะมีเจ้านำหน้า เจ้านายฝ่ายเหนือก็จะหมดไปที่ละน้อย จนอาจไม่มีให้ภูมิใจของคนเชียงใหม่อีก

จากหนังสือเจ้าหลวงเชียงใหม่

ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://www.chiangmai-thailand.net
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ mp143

  • Newbie
  • *
  • 3
  • 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2014, 09:33:37 PM »
ไม่ทราบว่ามีรายชื่อลำดับกษัตริย์เมืองเชียงตุงหรือไม่ครับ มี 33 องค์ หรือ 48 องค์ครับ แต่ละองค์ครองราชย์ตั้งแต่กี่ปีถึงกี่ปี อายุเท่าไหร่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 06:42:06 PM โดย mp143 »

*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 676
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2014, 01:15:17 PM »
จะลองหามาให้ครับ  :)
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ mp143

  • Newbie
  • *
  • 3
  • 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กษัตริย์ล้านนา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2014, 02:20:35 PM »
ขอบคุณครับ :)