เจ้าไชยสงคราม ได้มีเชื้อสายเจ้าเจ็ดตนทางพะเยา(พ.ศ.2367-พ.ศ.2394) ได้ไปรับราชการกินตำแหน่งอยู่ที่นครน่าน ได้ช่วยเจ้าหลวงนครน่านยกพลไปกวดต้อนตีเอาเมืองหัวพันห้าทั้งหกที่แคว้นสิบสองปันนา ได้กวาดต้อนเฉลยศึกชาวไทลื้อชาวไทยองมาไว้ที่เขตนาน้อยเมืองน่าน จึงทำให้อังกฤษไม่พอใจจึงฟ้องร้องต่อพระเจ้ากรุงสยาม ว่า ไปรังแกเมืองขึ้นของพม่าซึ่งณ ตอนนั้นพม่าขึ้นอยู่ในความปกครองดูแลของอังกฤษ จึงถูกไต่สวนและถูกปลดออกจากราชการจากตำแหน่งที่น่าน และในช่วงเวลาเดียวกันที่แพร่ในสมัยเจ้าหลวงอินทวิชัย(อินต๊ะวิชัย)ครองเมืองแพร่(พ.ศ.2373-พ.ศ.2415) จึงได้ชักชวนเจ้าไชยสงครามที่ถูกปลดตำแหน่งที่นครน่านให้มาช่วยเจ้าหลวงช่วยเหลือกิจการงานต่างๆที่แพร่ เจ้าไชยสงครามนั้นมีภรรยาเดิมอยู่แล้วที่พะเยา ชื่อเจ้านางของ แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน ครั้นตอนที่ยกทัพจากนครน่านไปตีแคว้นสิบสองปันนาได้คัดเอาสาวงามที่เป็นเฉลยมาเป็นภรรยา ชื่อนางอิ่น เป็นชาวไทยอง และได้มีบุตร-ธิดาด้วยกัน 4 คน คือ
1.เจ้าจอมแปง(ซึ่งภรรยาเก่าคือเจ้านางของขอไปเลี้ยงที่พะเยา)
2.เจ้าเทพรส ซึ่งเป็นฝาแฝดกับเจ้าจอมแปง
3.เจ้านางสามผิว เป็นผู้หญิงที่มีผิวกายงดงามเปลี่ยนตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น(สีผิวที่เป็นสีเขียว หรือคล้ำ แดงหรือชมพู และเหลือง)ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรงท้องร่วงตอนอายุ13ที่กรุงเทพครั้นเมื่อตามบิดาไปแก้คดี
4.เจ้าบัวไหล เกิดที่เมืองน่าน ในตอนเกิดได้ล่องเรือลงไปกรุงเทพ(ตามบิดาไปแก้คดี)บิดาเลยตั้งชื่อให้ว่า"บัวไหล"
"เจ้าบัวไหล"นั้นได้รับการสถาปนาให้ดูแลเมืองแพร่เป็นเวลา 7วัน ก่อนเจ้าหลวงพิริฯ ชาวเมืองแพร่จึงเรียกขานเจ้าบัวไหลว่า"แม่เจ้าหลวง" และต่อมาได้รับการเสกสมรสและแต่งตั้งให้เป็น"ชายา"ของเจ้าผู้ครองนครแพร่ เจ้าบัวไหลในตอนเด็กได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเจ้านายตามขนบธรรมเนียมล้านนามาอย่างดี มีฝีมือในการเย็บปักผ้าและงานปักเย็บทุกชนิด ในรัชกาลที่5 แม่เจ้าบัวไหลได้ปักผ้าม่านและหมอนขวาน ตลอดจนเครื่องใช้ต่างๆถวาย เป็นที่โปรดปรานแด่เจ้าสยามมาก ถึงกับได้รับกรโปรดเกล้าฯให้จัดห้องเฉพาะ แล้วพระราชทานให้ชื่อว่า "ห้องบัวไหล"นับเป็นเกียรติประวัติอันสูงยิ่ง เพื่อแสดงถึงเจ้านายสตรีทางเหนือเป็นผู้มีฝีมือในงานศิลปะปักเย็บอย่างยอดเยี่ยม
-------------------------------------------------------------------------------------
(พ.ศ.2432-2445) ก็เกิดการจลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2445 เจ้าหลวงพิริยฯ ต้องหลบภัยไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และไม่ได้กลับมาอีกเลย จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยที่นั่น ส่วนแม่เจ้าบัวไหลพร้อมด้วยบุตรหลานได้อพยพไปอยู่กรุงเทพฯ ตามพระบรมราชโองการ ภายใต้การควบคุมดูแลของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นเวลา 4-5 ปี จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้กลับคืนบ้านเมืองได้ โดยในบั้นปลายของชีวิต แม่เจ้าบัวไหลได้ไปพำนักกับบุตรสาวคนเล็กและบุตรเขย ที่จวนข้าหลวงประจำจังหวัดเชียงราย และได้ถึงแก่อนิจกรรมที่นั่น เมื่อ พ.ศ.2475 รวมอายุได้ 85 ปี)
ขอขอบคุณ เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่ง ราชวงศ์ล้านนา