รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ผีเทวดาอารักษ์เชนเมืองทั้ง 44 ตน ของเมือง นครเชียงใหม่

  • 0 ตอบ
  • 1790 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ผีเทวดาอารักษ์เชนเมืองทั้ง 44 ตน ของเมืองเชียงใหม่

เทวดาอารักษ์ทังหลาย

หมายมี เจ้าหลวงคำแดง เป็นเค้า
เป็นใหญ่กว่าอารักษ์เจ้าทังหลายแล
อารักษ์เมืองแคน ตน1
เจ้าหลวงมังราย ตน1
มังคราม ตน1
แสนภู ตน1
คำฟู ตน1
ผายู ตน1
กือนา ตน1
แสนเมืองมา ตน1
สามประหยาฝั่งแกน ตน1
ท้าวโลก ตน1
ท้าวยอดเชียงราย ตน1
ท้าวอ้าย ตน1
ท้าวชาย ตน1
แก้วตาหลวง ตน1
พระแม่กุ ตน1
พระเมืองแก้ว ตน1
พระเมืองเกล้า ตน1
พระยอดติโลกราช ตน1
ชุ่งชนะ ตน1
ร่มขาว ตน1 รีมขาว ตน1
สรีสองเมือง ตน1
เวียงแก่น ตน1
ผาบ่อง ตน1
ดงดำ ตน1
องค์คำ ตน1
จักรวาล ตน1
ขุนหลวงวิรังคะ ตน1
ปู่แสะ ตน1 ย่าแสะ ตน1
พระกุมม์ ตน1 พระกัณณ์ ตน1
พิษณุ ตน1
พระเจ้าตนพ่อเจ้าฟ้าชายหลวงแก้ว ตน1
พระเจ้าชีวิตกาวิละองค์เถ้า ตนปราบเหง้าปฐวีล้านนา ตน1 เจ้าช้างเผือก ตน1
เจ้ามหาเสฏฐี ตน1
หอพับ ตน1
หอหาง ตน1 หอยา ตน1
ปู่ย่า ตน1 เทวบุตรตนหลวง ตน1
อารักษ์แม่ระมิงค์ ตน1 อารักษ์เชนเมือง มีเท่านี้แล...”
.
(ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม: สมหมาย เปรมจิตต์
และคณะ ปริวรรต)
.
จะเห็นได้ว่ารายชื่ออารักษ์เชนบ้านเชนเมือง
ของเชียงใหม่นั้น ชื่อแรกที่ออกคือ เจ้าหลวงคำแดง
ซึ่งเป็นประธานผีของเมืองเชียงใหม่ทั้งปวง
จากนั้นจึงออกนามกษัตริย์ในราชวงศ์มังราย
บางชื่อก็กล่าวซ้ำไปมา ที่น่าสังเกตคือ
ไม่ได้ออกนาม จิรประภามหาเทวี และ สมเด็จเจ้าราชวิสุทธ
ซึ่งเป็นนางพญากษัตรีย์ และพระไชยเชษฐาธิราช
ที่มาครองเมืองเชียงใหม่ในช่วงสั้นๆ
ก่อนจะกลับไปครองราชย์ที่ล้านช้าง
หลังจากนั้นจึงกล่าวชื่อผีต่อไป
ที่น่าสังเกตคือ ไม่ออกชื่อเจ้านาย/ขุนนาง
ที่ครองเมืองเชียงใหม่ในยุคประเทศราชพม่าเลย
ออกแต่ชื่อองค์คำ
ที่เป็นเจ้าล้านช้างหลวงพระบางหนีมาเชียงใหม่
ร่วมมือกับชาวพม่าขับไล่เทพสิงห์ ผู้ครองเมืองสมัยนั้น
แล้วตั้งตัวเป็นเจ้าครองเชียงใหม่
มีความเข้มแข็งถึงขนาดตีเมืองเชียงแสนแตก
ถัดนั้นจึงกล่าวถึงผีบรรพชนลัวะ
ที่เคยเป็นเจ้าของพื้นที่ที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ และ ดอยสุเทพ
จากนั้นจึงออกนาม เจ้าหลวงเชียงใหม่ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน
สิ้นสุดที่เจ้ามหาเสฏฐี (เจ้าหลวงคำฝั้น)

เพราะตำนานเชียงใหม่ปางเดิม
เขียนในสมัยเจ้าหลวงพุทธวงศ์
(ถ้ายุคปัจจุบันคงต้องนับเจ้าหลวงองค์ที่เหลือ
จนถึงองค์สุดท้ายให้เป็นผีอารักษ์ด้วย)

ตอนท้ายสุดออกนามสถานที่สำคัญในเวียงเชียงใหม่
แล้วจึงจบรายชื่ออารักษ์เชนบ้านเชนเมือง
เมืองเชียงใหม่ไว้เพียงเท่านี้

(ข้อมูลจากเพจ Nubkao Kiatchaweephan)

ภาพเก่า ร้อยปี
วิหารเสาอินทขีล ที่ วัดเจดีย์หลวง เชียงใหม่

ตำนานอินทขิล
หรือ ตำนาน เจ้าหลวง สุวรรณคำแดง
ที่พระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ
วัดหอธรรม เชียงใหม่
เล่าความเป็นมาของเสาอินทขิลไว้ว่า

บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่
ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนานั้น
เป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะ
ในเมืองนี้มีผีหลอกหลอน
ทำให้ชาวเมืองเดือดร้อน
ไม่เป็นอันทำมาหากิน อดอยากยากจน
พระอินทร์จึงได้ประทานความช่วยเหลือ
บันดาลบ่อเงิน บ่อทอง และ บ่อแก้วไว้ในเมือง
ให้เศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล
แบ่งกันดูแลบ่อทั้ง 3 บ่อละ 3 ตระกูล

โดยชาวลัวะต้องถือศีลรักษาคำสัตย์
เมื่อชาวลัวะอธิษฐานสิ่งใด
ก็จะได้ดังสมปรารถนา

ซึ่งชาวลัวะก็ปฏิบัติตามเป็นอย่างดี
บรรดาชาวลัวะทั้งหลาย
ต่างก็มีความสุขความอุดมสมบูรณ์

ข่าวความสุข
ความอุดมสมบูรณ์ของเวียงนพบุรี
ซึ่งเป็นตระกูลของชาวลัวะ
เลื่องลือไปไกลและได้ชักนำให้
เมืองอื่นยกทัพมาขอแบ่งปัน
ชาวลัวะตกใจจึงขอให้ฤๅษี
นำความไปกราบทูลพระอินทร์

พระอินทร์จึงให้กุมภัณฑ์ หรือยักษ์ 2 ตน
ขุดอินทขิล หรือ เสาตะปูพระอินทร์
ใส่สาแหรกเหล็ก
หาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรี

เสาอินทขิลมีฤทธิ์มาก
ดลบันดาลให้ข้าศึกที่มา
กลายร่างเป็นพ่อค้า
พ่อค้าเหล่านั้นต่างตั้งใจมาขอสมบัติ
จากบ่อทั้งสาม

ชาวลัวะแนะนำให้พ่อค้า
ถือศีลรักษาคำสัตย์ และ อย่าละโมบ
เมื่อขอสิ่งใดก็จะได้
พ่อค้าบางคนทำตาม บางคนไม่ทำตาม
บางคนละโมบ
ทำให้กุมภัณฑ์ 2 ตน ที่เฝ้าเสาอินทขิลโกรธ
พากันหามเสาอินทขิลกลับขึ้นสวรรค์ไป
และบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง

มีชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่ง
ไปบูชาเสาอินทขิลอยู่เสมอ
ทราบว่ายักษ์ทั้งสอง
นำเสาอินทขิลกลับสวรรค์ไปแล้ว
ก็เสียใจมากจึงถือบวชนุ่งขาวห่มขาว
บำเพ็ญศีลภาวนาใต้ต้นยาง
เป็นเวลานานถึง 3 ปี
ก็มีพระเถระรูปหนึ่งทำนายว่า
ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ

ชาวลัวะเกิดความกลัว
จึงขอร้องให้พระเถระรูปนั้นช่วยเหลือ
พระเถระบอกว่า ให้ชาวลัวะร่วมกัน
หล่ออ่างขางหรือกระทะขนาดใหญ่
แล้วใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละ 1 คู่
ปั้นรูปคนชายหญิงให้ครบร้อยเอ็ดภาษา
ใส่กระทะใหญ่ลงฝังในหลุม
แล้วทำเสาอินทขิลไว้เบื้องบน
ทำพิธีสักการบูชา
จะทำให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ
การทำพิธีบวงสรวงสักการบูชา
จึงกลายเป็นประเพณี สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เดิมมีเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่
ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล
ซึ่งตั้งอยู่ ณ กลางเวียงเชียงใหม่
ปัจจุบันก็คือ บริเวณหอประชุมติโลกราช
ข้างศาลากลางจังหวัดเก่า

ในตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมนั้น
หล่อด้วยโลหะ จนกระทั่ง
สมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี พ.ศ. 2343
ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง

โดยบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เป็นเสาปูน
และทำพิธีบวงสรวงเป็นประเพณีสืบกันมา
ปัจจุบันนี้เสาอินทขิลที่อยู่ในวิหาร
เป็นเสาปูนปั้นติดกระจกสี
บนเสาเป็นบุษบก
ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง
เสาอินทขิลนี้สูง 1.30 เมตร
วัดรอบได้ 67 เมตร แท่นพระสูง 0.97 เมตร
วัดโดยรอบได้ 3.40 เมตร

ประเพณีอินทขิล ในสมัยเจ้าผู้ครองนคร
กับปัจจุบันนี้แตกต่างกันมาก
ในอดีตเจ้าผู้ครองนครจะเริ่มพิธี
ด้วยการเซ่นสังเวยเทพยาดาอารักษ์
ผีบ้าน ผีเมือง และบูชากุมภัณฑ์
พร้อมกับเชิญผีเจ้านายลงทรง
เพื่อถามความเป็นไปของบ้านเมืองว่า
จะดีจะร้ายอย่างไร
ฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์หรือไม่
หากคนทรงทำนายว่า
บ้านเมืองชะตาไม่ดี ก็จะทำพิธีสืบชะตาเมือง
เพื่อแก้ไขปัดเป่าให้เบาบางลง

นอกจากนี้ยังมีการซอ
และ การฟ้อนดาบ เป็นเครื่องสักการะถวาย
แด่วิญญาณบรรพบุรุษด้วย
พิธีกรรมนี้ทำสืบต่อมา
จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงหยุดไป

ปัจจุบันเทศบาลนครเชียงใหม่
ได้ดำเนินการสืบทอดประเพณีอินทขิล
โดยมีพิธีทางพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสาน
ในวันแรกของการเข้าอินทขิล
มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่า
หรือพระพุทธรูปคันธารราษฎร์รอบตัวเมือง
เพื่อให้ประชาชนสรงน้ำ และ ใส่ขันดอก
เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต
ส่วนภายในวิหารอินทขิล พระสงฆ์ 9 รูป
จะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชาเสาอินทขิล
ซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ภายใต้บุษบก
ที่ประดิษฐานองค์พระพุทธรูป
เมื่อเสร็จพิธีจะมีมหรสพสมโภชตลอดงาน

ขอบคุณ​ข้อมูล​ดีๆจาก
เพจ เชียงใหม่​ที่คุณไม่เคยเห็น
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้