ชาวบ้านใน ตัวจังหวัดเชียงราย
ช่วยกันหามศพ ใส่ แมว
ผ่านโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊ค เชียงราย
ระบบชนชั้นทางสังคมล้านนา
นั้นมีชนชั้นทางสังคมอยู่ ๒ ระดับ
ตามที่สรัสวดี อ๋องสกุล
ได้อธิบายไว้ในประวัติศาสตร์ล้านนาว่า
...สังคมล้านนาแบ่งคนออกอย่างกว้าง ๆ
เป็นสองชั้นคือ ชนชั้นมูลนายและพวกที่มิใช่มูลนาย
.. ชนชั้นมูลนายได้แก่ เจ้าผู้ครองนคร
รวมไปถึงขุนนาง ส่วนคนที่มิใช่มูลนาย
ได้แก่ ไพร่(คนทั่วไป) ทาส และรวมไปถึงพระภิกษุ
เมื่อแบ่งกันเช่นนี้ในคราวที่ยังมีชีวิตก็ย่อมแตกต่างกัน
โดยฐานะ เมื่อสิ้นชีวิตไปก็ย่อมจัดการศพ
กันตามฐานะถึงกับมีจารีตบอกไว้เลยว่า
ต้องทำปฏิบัติเช่นนี้ ๆ
แมว ก็คือสิ่งที่ใช้ปกปิดสิ่งที่อยู่ภายใน
โดยเอาโครงไม้สานครอบศพ คล้ายๆ มุ้ง
ประทุนครอบเด็ก หรือคล้าย ๆ
เต้นท์พักแรมในปัจจุบันนี้
เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อปกปิดศพไม่ให้ดูอุดจาดตา
..แมวนั้นเป็นสิ่งที่น่าจะมีมาก่อนโลงศพ
เพราะว่าคนตายสมัยก่อนนั้นมิได้ใส่โลง
เป็นแต่เพียงนำเอาเสื่อมาพันแล้วก็หามไปเผา
หรือฝังตามแต่ประเพณี ต่อมาเริ่มมีการพัฒนา
เป็นโลงศพขึ้นมาแต่แมวก็ยังมีบทบาทอยู่
โดยปรับปรุงให้เหมาะซึ่งสมัยต่อ ๆ มา
แมวควบศพจากที่มีแต่เพียงหลังคา
ในอดีตยุคที่ปกครองโดยเจ้าล้านนา
ศพทุกศพที่เป็นคนธรรมดาสามัญ
มีกฎห้ามมิให้ลากเป็นอันขาด และห้ามมีการบรรเลงดนตรี
ดังปรากฏในหนังสือประเพณีชีวิตคนเมืองว่า
...ศพคนสามัญนี้ต้องใช้หามไป จะลากชักไปไม่ได้ ถือว่าขึด
การหามใช้คนจำนวนตั้งแต่ ๘ คนขึ้น
จะมีเครื่องดนตรีแห่แหนไม่ได้..
หรือหากว่าจะแห่ต้องเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น
และห้ามนำเอาเครื่องดนตรีไปแห่ในบ้าน
*แมว บางที่ที่แอดมินเคยอ่านจะเรียกว่า โบม
อีกเรื่องราวเกี่ยวกับโบม
ภาพการหาม "โบม" หรือ "แมวควบ" ผ่าน/เข้าไปในโรงพยาบาลโอเวอร์บรู๊คเชียงราย ในสมัยโบราณหากไม่มีโลงศพก็ทำเป็นโบมที่ใส่ศพจักสานด้วยไม้ไผ่บุด้วยตองตึงครอบศพไว้เพียงอย่างเดียวแล้วหามกันไปแบบในภาพ
((((((ที่มาของคำว่า พายโบม/โบมผี))))))
อนุเคราะห์ข้อมูลโดย : ดร.โทนี่ ณ บ้านดู่
ขอขอบคุณข้อมูลและรูปภาพจากเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น