รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


วัดถ้ำตับเตา เมืองฝาง เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๗๐

  • 0 ตอบ
  • 1808 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
วัด ถ้ำตับเตา เมืองฝาง เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๗๐

ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ข้าราชการไทยขี่ม้าไปสำรวจ และ ถ่ายภาพ

“ถ้ำตับเตา” แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ บริเวณโดยรอบถ้ำตับเตาอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้นานาพรรณ เป็นถ้ำหินปูนกว้างและสูงประมาณ ๖ เมตร เป็นวัดที่ร่มรื่นและยังคงความเป็นธรรมชาติ ถ้ำตับเตาเป็นถ้ำที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดถ้ำตับเตา ถือเป็นศาสนสถานโบราณนานนับหลายร้อยปีมาแล้ว ตัวถ้ำเป็นแนวเขาหินปูนกั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเมืองเชียงดาว ถ้ำตับเตามีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กันภายในถ้ำ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ถ้ำตับเตานี้แยกออกเป็น ๒ ถ้ำ คือถ้าขึ้นทางขวาไปถ้ำมืด (ถ้ำปัญเจค) ซึ่งจะมืดสนิท มีไฟดวงเล็กๆ ส่องเป็นระยะๆ และ ทางซ้ายไป ถ้ำแจ้ง (ถ้ำผาขาว) เข้าไปนิดเดียว ข้างใน มีวิหารพระนอนองค์ใหญ่ กับพระพุทธรูปองค์ใหญ่ บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน ภายในบริเวณวัดยังมีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำอีกด้วย

วัดถ้ำตับเตาปรากฏพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวกว่า ๙ เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองแบบศิลปะอยุธยา ทั้งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นโดยสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถเมื่อคราวท่านยกกองทัพมาเพื่อจะเข้าตีเมืองพม่าและตีเมืองตองอูในปี พ.ศ.๒๑๓๕ และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวเข้าพักพลที่เมืองหาง ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทย ถ้ำตับเตาแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงค์ จะสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์ สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอร์เวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาเข้ามาพักที่เมืองฝาง เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามากกว่าร้อยปี มีองค์พระนอนที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั้งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ถ้ำตับเตา ถือเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในแอ่งที่ราบโหล่งเมืองไชยปราการ – ฝาง มีอายุเก่าแก่ โดยมีตำนานที่ผูกเรื่องราวพื้นบ้านเข้ากับความศรัทธาในพระพุทธศาสนาว่า ในสมัยพุทธกาล ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใกล้จะปรินิพพาน หลังจากทรงตรากตรำพระวรกายในการประกาศพระศาสนาในถิ่นฐานต่างๆ เมื่อจวนได้เวลาเสด็จดับขันธ์ปรินิพานตามคำทูลอาราธนาของพญามาร พระพุทธองค์ได้รับบิณฑบาตอาหารที่ประกอบด้วยสุกรมัทวะจากนายจุนนะ เป็นเนื้อหมู (เนื้อหมูเป็นโรค บางตำนานก็ว่าเป็นอาหารประกอบจากเห็ดที่งอกจากหลุมฝังศพซากหมูตายด้วยโรค) หลังจากรับบิณฑบาต พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรและอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ ขณะที่ทรงประชวรอยู่ก็ทรงประทับที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำนั้นคือถ้ำตับเตา

วัดถ้ำตับเตา เป็นชื่อที่เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า “ดับเต้า” ซึ่งหมายถึงการดับขี้เถ้า ที่เกิดจากการเผาไหม้ของป่า ทั้งนี้เมื่อเรียกกันนานๆ เข้าก็เลยเพี้ยนมาเป็นตับเตา ซึ่งคนในภูมิภาคอื่นไม่ทราบความหมายก็เลยเรียกว่า”ถ้ำตับเตา” ซึ่งมีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง คือตับของสัตว์ชนิดหนึ่ง

เจ้าอาวาสจึงสันนิษฐานว่าด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทยคงจะต้องมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา สร้างแล้วก็คงมอบให้เจ้าเมืองฝางเป็นผู้ดูแล

วัดถ้ำตับเตาเป็นวัดที่ร้างมานานก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงศ์จะสั่งให้บูรณะปฎิสังขรณ์สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอรเวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาไทยเข้ามาพักที่เมืองฝาง เขาได้บันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามามากกว่าร้อยปี มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระนอน ก่อด้วยอิฐโบกปูนทาด้วยยางไม้และปิดทอง ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆพระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั่งประนมมือประหนึ่งฟังคำสวดจากพระพุทธเจ้า

ภายในบริเวณวัดร่มรื่น มีหอพระไตรปิฎกสร้างอยู่กลางน้ำ สิ่งสำคัญในวัดคือถ้ำตับเตา ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าถ้ำเชียงดาว แต่มีความสวยงามไม่แพ้กัน ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ถ้ำตับเตานี้แยกออกเป็น ๒ ถ้ำ คือถ้ำแจ้ง และถ้ำมืด (ถ้ำผาขาว และถ้ำปัญเจค) บริเวณหน้าถ้ำมีกุฏิและศาลาสำหรับพักผ่อน
ถ้ำผ้าขาวมีบันไดขึ้นไปบริเวณถ้ำกว้างประมาณ ๑๐ วา มีแสงสว่างจากช่องโหว่บนเขาส่องลงมา มีพระพุทธรูปก่อปูนขนาดใหญ่ อยู่บนแท่นกับพระพุทธรูปนอน พระอรหันต์ล้อมรอบแสดงถึงตอนพระพุทธเจ้าประชวร อีกถ้ำหนึ่งอยู่ห่างจากถ้ำผ้าขาวราว ๔๕ เมตร เรียกถ้ำปัจเจค ปากถ้ำลึกประมาณ ๕ วา มีบันไดพาดเป็นบางแห่ง ในถ้ำทางคดเคี้ยวบางตอนเป็นช่องแคบ ถ้ำลึกมากต้องหาเทียนไขหรือตะเกียงเจ้าพายุเข้าไป

สุดปลายถ้ำมีพระพุทธรูปและเจดีย์นอกจากนี้มีรูปปูนปั้นเป็นเด็กหญิงแถวหนึ่ง เด็กชายแถวหนึ่งปราศจากเครื่องแต่งกาย ผู้ใดต้องการมีบุตรหญิงหรือบุตรชายก็ให้หาธูปเทียนสักการบูชา พระพุทธรูปอธิษฐานขอเอาตามความปรารถนา มีผู้เล่าว่าผู้ไปขอแล้วมักสมปรารถนาเสมอ ตำนานของถ้ำมีจารึกอยู่บนศิลา ๓ แผ่นว่า พระอรหันต์เดินทางมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ ณ ที่นี้ แล้วเข้าสู่นิพานตรงปากถ้ำ เทพยดาจึงทำพิธีศพจนเป็นเหตุให้ไหม้ลึกลงไปในดินด้านยาว ๑,๐๐๐ วา ด้านกว้าง ๑๐๐ วา พญานาคขึ้นมาพ่นน้ำดับ จึงปรากฏมีขี้เถ้าเต็มถ้ำ เดิมเรียกว่า “ถ้ำตับเต้า” (ถ้ำทับเถ้า) เลยเพี้ยนมาเป็นถ้ำตับเตาภายหลัง ถ้ำนี้คนไทยใหญ่มักเดินทางมานมัสการเสมอเมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้วถือเป็นถ้ำศักดิ์สิทธิ์

อีกนัยหนึ่ง มีผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า ชื่อเดิมของถ้ำตับเตา คือ “ทับเถ้า”มาจากเรื่องเล่าที่ว่า พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มานิพพานที่ถ้ำนี้ จึงได้นำเอาอัฐิหรือเถ้ามากอบกันขึ้นเป็นพระเจดีย์ และตั้งชื่อว่า “พระเจดีย์นิ่ม” ซึ่งอยู่ในถ้ำมืด และจารึก ปี พ.ศ. ๑๔๖๓ ไว้ที่ฐานพระเจดีย์ ถ้ำนี้ต้องใช้เวลาเดินประมาณ ๑ ชั่วโมง จะเที่ยวชมอย่างทั่วถึง

จากหนังสือประวัติวัดถ้ำตับเตา เรียบเรียงโดยอาจารย์อินทร์ศวร แย้มแสง ได้ให้ความหมายของคำว่า “ตับเตา” ว่าอาจเพี้ยนมาจากคำว่า ดับเถ้า (อ่าน ดับ – เต้า) ภาษาเหนือหมายถึงดับขี้เถ้าที่เกิดมาจากการเผาไหม้ของป่าไม้ และภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ตับเตา”

ที่ตั้งถ้ำตับเตา
บ้านตับเตา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ ณ ภูเขาทางทิศตะวันตก หมู่ที่ ๑๓ บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฝาง ระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ ๑๒๐ และ ๑๒๑ แยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ ๓ กิโลเมตร
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้