รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ประวัติศาสตร์ด้านมืดในอดีตของสยามกับล้านนา

  • 0 ตอบ
  • 6967 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
บทความที่ทุกท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นการศึกษาของ อ.ธเนศวร์ เจริญเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในหนังสือ "คนเมือง"

1.กรมหมื่นพิชิตปรีชากรรับบัญชามาผลักดันให้เจ้าอินทวิชยานนท์ยอมรับการหมั้นระหว่างเจ้าดารารัศมี (ชนมายุ 11 ชันษา) ราชธิดาองค์สุดท้องกับพระมหากษัตริย์แห่งสยาม โดยยอมรับให้สยามจัดพิธีโสกันต์ระดับเจ้าฟ้าให้แก่เจ้าดารา ซึ่งล้านนาไม่เคยมีพิธีกรรมเช่นนี้

2.พ.ศ.2440 เจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย เจ้าดารารัศมีมิได้รับอนุญาตให้กลับไปร่วมงานปลงพระศพพระบิดา คาดกันว่าสยามเกรงล้านนาจะคิดกบฏหรือหันไปหาพม่า จึงต้องเก็บเจ้าดาราไว้ในฐานะตัวประกัน หลังจากเจ้าอินทวิชยานนท์ถึงแก่พิราลัย พระยาทรงสุรเดชก็มีคำสั่งตัดเงินรายปีของเจ้าเมืองเชียงใหม่จาก 8 หมื่น เหลือ 3 หมื่นรูปี และลดจำนวนเงินรายปีของเจ้านายคนอื่น ๆ พร้อมกับโยกย้ายและถอดถอนเจ้านาย และให้ข้าราชการสยามเข้ามาแทน และเพิ่มจำนวนเงินเดือนให้

3.ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 รัฐบาลสยามได้กำหนดนโยบายห้ามสอนภาษา ?ตั๋วเมือง? ในโรงเรียนทุกแห่ง  และกำหนดให้ครูและนักเรียนใช้ภาษาไทยสยามเท่านั้น และได้ห้ามคนจากสยามเรียกคนล้านนาว่าเป็นลาว เน้นการปลูกฝังเรื่องชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทำให้การสอนภาษาล้านนามีเฉพาะในวัด ที่สำคัญคือ การที่คนท้องถิ่นไม่สามารถอ่านและเขียนภาษาของบรรพบุรุษได้ก็คือจุดเริ่มต้นของอวสานของศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น เช่น ความตายของภาษาเขียนนำไปสู่การชะงักงันของภาษาพูด ภาษาพูดที่จะพัฒนาต่อไปก็คือการรับเอาคำจากภาษาไทยเข้ามามาขึ้นตามลำดับ ฯ

4.ในปี พ.ศ. 2542 อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวได้วิเคราะห์ว่า การย้ายเสาอินทขิลน่าจะเกิดจากความเห็นว่าศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ถูกคนของอยุธยาทำไสยศาสตร์ด้วยการฝังไหกระดูกผี (รวมทั้งฝังไว้ประตูเมืองทุกแห่ง) เพื่อทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเมืองในสมัยพญาติโลกราช (พ.ศ.1984-2030) พญาติโลกราชจับได้จึงคิดวิธีแก้ไขสิ่งชั่วร้ายดังกล่าวด้วยการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุลงในเจดีย์วัดเจดีย์หลวง ฯ

5.ครั้นถึงสมัยพญากาวิละ (พ.ศ.2325-2356) อรุณรัตน์จึงเสนอว่าเนื่องจากเมืองเชียงใหม่ได้ประสบชะตากรรมครั้งแล้วครั้งเล่า จนสิ้นราชวงศ์มังราย และตกเป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง 200 ปีเศษ พญากาวิละคงจะฟื้นความเชื่อของพญาติโลกราช จึงย้ายเสาอินทขิลมาไว้ในเจดีย์หลวงในปี พ.ศ. 2343

6.การสร้างคุกบนพื้นที่ที่เคยเป็นหอคำหรือพระราชวังของกษัตริย์ล้านนาเป็นการทำลายความศักดิ์สิทธิ์จุดหนึ่งของเมือง ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดคือ เรือนจำเชียงใหม่ และลำพูน ฯ กรณีเชียงราย ประชาชนขอสั่งรื้อเรือนจำ สถานที่เคยเป็นที่ดินศักดิ์สิทธิ์ใช้ในการฟ้อนผีเจ้านาย เจ้ามด เจ้าเม็ง และทำพิธีสำคัญของเมืองเชียงรายในอดีต

7.การล่มสลายของอำนาจเจ้านายท้องถิ่น ไม่เพียงแต่ส่งผลให้อาคารสำนักงานของรัฐบาลสยามเกิดขึ้นในเขตศูนย์อำนาจเก่า หากยังเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ายึดครองที่ดินหลายส่วน โดยเฉพาะที่ดินติดถนนเพื่อสร้างเป็นร้านคา ส่งผลให้ที่ดินบริเวณพญามังรายถูกฟ้าผ่า ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 1854 ซึ่งมีผู้สร้างศาลพญามังรายให้ผู้คนได้กราบไว้ ต้องกลายเป็นที่ดินของเอกชน ฯ ความศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมดั้งเดิมของเมืองถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลง สถานที่สำคัญกลายเป็นที่จอดรถ ฯ และยังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่น่าศึกษาจากหนังสือคนเมือง ของ ธเนศวร์ ตั้งแต่เรื่องของครูบาศรีวิชัยถูกจับกุม การขอคืนอำนาจให้เจ้านายท้องถิ่นในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น การสร้างโรงเรียนในนามเจ้านคร และการยอมรับการปรับตัวของคนเมืองในระบอบของสยาม

*เป็นความรู้ ไม่ได้ส่งเสริมให้เกลียดชังกันนะครับ

ขอขอบคุณ เชียงรายโฟกัสครับ
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้