กาดเชียงคำในปี พ.ศ.2481
แอ่วกาด เป็นภาษาพื้นถิ่นพายัพแปลว่า เที่ยวตลาด, ไปตลาด, ไปจับจ่ายแลกเปลี่ยนสินค้าที่ตลาด กาดมีหลายประเภท เช่น กาดเจ๊า เป็นตลาดเช้าตรู่จนถึงสาย กาดแลง เข้าตั้งแต่ช่วงบ่ายแก่ๆ จนถึงเย็นค่ำ ส่วนกาดที่เข้่าตลอดทั้งวันจะเรียกว่า กาดหมั้ว หรือ กาดเริง (เริงปอย = ไปเที่ยวงานปอยทั้งวัน) และมีตลาดสัปดาห์หรือแต่ละเดือนจะเข้าตลาดครั้งหนึ่งเรียกว่า กาดนัด (พึ่งมีมาไม่นาน) ถ้าเป็นตลาดวัวควาย เรียกว่า กาดงัว กาดควาย นอกจากขายสัตว์แล้วยังมีสินค้ามากมาย
ในบางครั้งกาดจะถูกเรียกตามชื่อบุคคลหรือสถานที่ เช่น กาดอุ้ยทา กาดอุ้ยแก้ว กาดทุ่งฟ้่าบด กาดศรีบุญยืน และกาดขนาดใหญ่ระดับจังหวัดหรืออำเภอมักจะเรียกว่า กาดหลวง
กาดเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของผู้คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ เป็นพื้นที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทางด้านอาหารของผู้คนในเมืองนั้นๆ
กาด นอกจากเป็นแหล่งรวมอาหารทุกชนิดแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมข่าวสาร จริง/เท็จ ทุกระดับ
รูป : กาดเชียงคำในปี พ.ศ.2481, ดร.โรเบิร์ต ลาริมอร์ เพนเดิลตัน, Wisuwat Buroot
เครดิต..ราชอาณาจักรล้านนา.