รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


หอคำหลวงเชียงตุง

  • 0 ตอบ
  • 9245 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
หอคำหลวงเชียงตุง
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2014, 08:23:47 AM »
หอคำหลวงเชียงตุง เนื้อที่ ของคุ้มกว้างประมาณสิบกว่าไร่ ภายในนั้นนอกจากตำหนักของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง และ ตำหนักของเจ้าย่าตำหนักใหญ่ ของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว เป็นตึกสามชั้นสีขาวแบบแขกอินเดีย สร้าง พ.ศ.244ุ9 -2534

เมื่อร้อยปีก่อนนั้น เชียงตุง เป็นเมืองที่ใหญ่
และ ร่ำรวยที่สุด ในรัฐฉาน
บ้านเมืองเจริญยิ่งกว่า เมือง เชียงใหม่
มีพื้นที่ ๒๐,๐๐๐ ตร. ไมล์ ยื่นยาวไป
จรดพรมแดน สยาม ล้านนา ลาว และ จีน
ตัวเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ภายใต้กำแพง ที่ล้อมรอบอย่างแน่นหนา และ มีคูเมือง เป็นปราการชั้นนอก
เมืองล้อมรอบด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อน
สิ่งก่อสร้างภายในเมือง ประดับประดาไปด้วย
นกยูง และ สิงห์
เชียงตุง ตั้งอยู่ริมฝั่งทางด้านทิศตะวันออก
ของแม่น้ำสาละวิน เหมือนกับ เมืองโกก้าง
เจ้าฟ้าเชียงตุง สามารถ จ่ายค่าบรรณาการ แก่อังกฤษที่กำหนดไว้ปีละ ๓๐,๐๐๐ รูปี
เจ้าฟ้าเชียงตุง แม้จะมีจิตใจตั้งมั่นอยู่ใน ศีลธรรม
แต่เมืองนี้ ก็มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจาก ฝิ่น
ซึ่งสมัยนั้นยังเป็น สิ่งถูกกฏหมาย
จนเจ้าฟ้าเชียงตุง สามารถสร้าง
หอหลวงเชียงตุงสถาปัตยกรรมอินเดีย
อันโดดเด่น สง่างาม ยิ่งใหญ่ที่สุดใน รัฐฉาน ได้
เมื่อร้อยปีก่อน นับเป็นอาคารที่ทำจากปูน
เป็นอาคารแรกของเชียงตุง
หอหลวง" หรือ "หอคำ" เชียงตุง
เปรียบเสมือน สัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ
ของชาวไทเขิน และ ชาวไต เชียงตุง
”เนื้อที่ ของคุ้มกว้างประมาณสิบกว่าไร่
ภายในนั้นนอกจากตำหนักของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง และ ตำหนักของเจ้าย่า แล้ว
เจ้าพ่อยังสร้างบ้านไว้หลังหนึ่ง สำหรับ นางฟ้าของ
เจ้าพ่อคลอดลูก เนื่องจากเมื่อก่อน ลูกๆทุกคน
ของเจ้าพ่อคลอดบนตึกใหญ่ หรือ ตำหนักของเจ้าพ่อ แต่ท่านมีบุตรชายหญิงแออัดหลายคน
ภายหลังจึงสร้างบ้านอีกหลังหนึ่ง
สำหรับเป็นที่คลอดบุตรของเหล่านางฟ้าโดยเฉพาะ ตำหนักใหญ่ ของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว เป็นตึกสามชั้นสีขาวแบบแขกอินเดีย โดยมีแรงบัลดาลใจ จากเมื่อครั้งได้ไปเห็นความเจริญของประเทศ อินเดีย
ในงานเดอบาร์..ที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษ
จัดขึ้นในปี พ.ศ.244ุ6 ...อาคารสถาปัตยกรรมอินเดีย อังกฤษ ผสม หลังคา แบบไทเขิน เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2449 โดยสร้างหอใหม่บัง หอเดิมที่เป็นทรงไทยใหญ่ แต่สามารถ เดินเชื่อมหากันได้
นับเป็นอาคารก่อสร้างด้วยปูน อาคารแรก ในเมืองเชียงตุง เมื่อสร้างสำเร็จ อาคารหลังนี้ก็ยิ่งใหญ่สง่างาม หาอาคารใด ในรัฐฉาน งดงามเปรียบเทียบได้
ชั้นบนสุดเป็นหอพระ บนตำหนักมีห้องถึง เก้าห้อง
แต่ละห้องใหญ่โตมาก แบ่งออกเป็นสามปีกด้วยกัน ปีกซ้าย คือ ห้องของเจ้าฟ้าก้อนแก้ว ส่วนห้องโถงใหญ่ตรงปีกกลางนั้น เอาไว้สำหรับออกขุนนาง เวลามีงานใหญ่โต ถัดไปทางด้านหลังอีกห้อง เป็นห้องคลัง สำหรับเก็บเงินท้องพระคลัง เงินสมัยนั้นเป็นเหรียญมีรูร้อย เรียกว่า เงินแถบ”
ยุคสมัยเจ้าก้อนแก้วอินแถลงขึ้นครองราชย์
เป็นเจ้าฟ้าหลวงเชียงตุง (พ.ศ.๒๔๓๙)
ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕–๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และ ตรงกับ สมัยพระเจ้าอินทวิไชยานนท์
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ และ เจ้าแก้วนวรัฐ
แห่งนครเชียงใหม่ ตลอดเวลาที่
เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลง ครองเมืองเชียงตุง
พระองค์ได้สร้างความเจริญแก่เมืองเชียงตุง
เป็นอย่างมาก เช่น การสร้างถนนหนทาง
ทำนุบำรุงพระศาสนา เช่น สร้างวัดหลายแห่ง
และมี การบูรณะปฏิสังขรณ์ เช่นวัดหัวข่วงที่ถูกไฟไหม้ก็สร้างใหม่แล้วยกเป็น วัดหลวง
มีการสร้างวัดพระเจ้าหลวง ประดิษฐาน
พระพุทธมหามัยมุนีจำลอง มาจากเมืองมัณฑะเลย์ บ้านเรือนเจ้าแม่ เจ้านาง ได้เปลี่ยนเป็นตึกแบบใหม่หมด สร้างที่อาบน้ำที่น้ำพร้อมนอกเมือง
รวมความว่าสิ่งใดที่จะนำความเจริญมาสู่บ้านเมือง ท่านผู้นี้ก็ได้พยายามจัดขึ้นทำขึ้น
การติดต่อกับเพื่อนบ้านก็ให้ตัดถนนเป็นทางรถยนต์ติดต่อกับจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับ เชียงตุง ทางตะวันตกก็มีทางรถยนต์ ติดต่อกับ ตองยี พร้อมกับได้สร้างความสัมพันธ์
กับเจ้าฟ้า ทางเชียงใหม่ แสนหวี สี่ป้อ
โดยทางแต่งงานของราชบุตร ราชธิดา เป็นต้น
และ ได้ปฏิบัติงานเป็นที่พึงพอใจแก่อังกฤษ
ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม จนรัฐบาลอังกฤษได้ยกให้ท่านเป็น C.I.E. (Companion of the Indian Empire)
เจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง ผู้ครองนครเชียงตุง
ท่านมีชายา 6 คน มี บุตรธิดารวม 19 คน
ครองราชมื่อ พ.ศ. 2439 สิ้นเมื่อ พ.ศ. 2478
รวมอายุ 60 ปี

น่าเศร้าที่หลังจากเจ้าก้อนแก้วท่านเสียชีวิต
เมืองเชียงตุงร้อนร้ายไปด้วยการช่วงชิงตำแหน่ง
เจ้าฟ้าคนถัดไป จนเจ้าฟ้ากองไต เจ้าฟ้าองค์ถัดมา
ที่พึ่งถูกแต่งตั้งถูกฆาตกรรม และ อีกไม่นานระบบเจ้าฟ้าครองเมือง ก็ถูกยึดอำนาจโดยรัฐบาลทหารพม่า
..ต่อมาหอหลวงเชียงตุง ของเจ้าก้อนแก้ว อินแถลง ก็ถูก รัฐบาลทหารพม่า ระเบิดทิ้งเมื่อ พ.ศ. 2534 ท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวเมืองเชียงตุง และ ก่อสร้างเป็น โรงแรม นิวเชียงตุง ในปัจจุบัน
วันวานผ่านพ้นไป แล้ว แต่หอคำเชียงตุง
อันแสนงาม ยังอยู่ในความทรงจำของ ชาวเชียงตุง
ให้รำลึกถึงอดีต อันเปี่ยมสุข และ ที่มาของพวกเขา

ขอขอบคุณเฟสบุ๊ค คุณ Montri Punyafu
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้