รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ความทรงจำที่เมืองเชียงตุง ที่เขียนจากคำบอกเล่าของเจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่

  • 0 ตอบ
  • 2878 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
The memoirs of Kengtung by Sao Nang Sukhantha.
จากหนังสือ “ความทรงจำที่เมืองเชียงตุง” ที่เขียนจากคำบอกเล่าของเจ้าสุคันธา ณ เชียงใหม่ ซึ่งท่านเป็นธิดาของเจ้ารัตน ก้อนแก้ว อินทรแถลง เจ้าผู้ครองนครเชียงตุง ท่านเล่าถึงการกางสัปทนและจ้องคำของเจ้านายเชียงตุงไว้ว่า

“เจ้านายเชียงตุงที่จะกางสัปทนและนั่งเสลี่ยงได้มี 3 คน คือ 1. ฟ้าหม่อม (เจ้ารัตนก้อนแก้ว อินทรแถลง) 2. เจ้าพี่กองไต(รัชทายาท) 3. เจ้าพี่พรหมลือ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเหล็ก (โอรสเจ้าแม่เมือง) นอกนั้นให้ใช้จ้องคำ(ร่มทอง)”

“ตัวของจ้องคำทำจากทองคำจริง ๆ ตีเป็นแผ่น แล้วบุบนตัวร่ม ซึ่งในบริเวณหอหลวงจะมีโรงทำเครื่องประดับของเจ้านายและทำทองคำเปลวที่ทำจากทองคำแท้ โดยจะนำทองคำหนัก 5 บาท ใส่ลงในถุงหนัง แล้วใช้ค้อนตีลงไปประมาณ 300 ครั้ง จนกลายเป็นแผ่นบาง ๆ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าผู้ทำทองคำเปลวต้องเกิดมาในตระกูลช่างทำทองเท่านั้น หากไม่ใช่อาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด ในช่วงเทศกาลสำคัญ (ปอย) เมือเจ้านายจะลงปอยจะมีคนกางจ้องคำ ซึ่งเรียกเป็นภาษาพม่าว่า “ทีโม” ให้เจ้านายคนละคัน

ในสมัยนั้นในหอหลวงมีไฟฟ้าใช้แล้วเพราะฟ้าหม่อมได้สั่งเครื่องปั่นไฟมาใช้ แต่ตอนลงปอยจะมีคนตั้งแถว 2 แถว ในมือถือไม้เกี๊ยะที่มัดรวมกัน แล้วจุดไฟยกชูขึ้นจะทำให้สว่างมากเป็นพิเศษ แสงไฟที่กระทบกับจ้องคำแลดูสวยงามมาก”
-------------------
หมายเหตุ
ฟ้าหม่อมคือคำที่เจ้าสุคันธาใช้เรียกเจ้าพ่อ คือเจ้ารัตนก้อนแก้ว อินทรแถลง

เจ้าแม่เมือง คือ มหาเทวี

ไพศาล จั่วทอง ถ่ายทอดความทรงจำ
บุตร-ธิดาของเจ้าสุคันธา ตรวจทานข้อมูล

Orawan Owatsan เอื้อเฟื้อข้อมูล

ขอขอบคุณเพจ
สายเครือไท (Tai race studies )
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้