แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


Messages - ฮักล้านนา

หน้า: [1] 2 ... 46
1
ดูได้ที่ https://youtu.be/GsNAEXnWpGg?si=8W47cGMDvVtghjgF

เมืองสิง ไทลื้อแห่งอาณาจักรเชียงแขง I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.255

เมืองสิง เมืองชายแดนเล็ก ๆ ของแขวงหลวงน้ำทา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ สปป.ลาว  เป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจสุดท้ายของรัฐเชียงแขง รัฐไทลื้อเล็ก ๆ ที่ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าในลุ่มน้ำโขงตอนบน  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทั้งในพม่าและลาว  แต่ต่อมาเชียงแขงก็ต้องล่มสลายลงด้วยการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ สปป.ลาวในปัจจุบัน
     ในปี พ.ศ.2347 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร. 1 ทรงสถาปนากรุงเทพ ฯ แล้ว พระองค์โปรดให้กองทัพหัวเมืองเหนือยกขึ้นไปทำลายอิทธิพลของพม่าในดินแดนเชียงตุง และเชียงรุ่ง  โดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสองส่วน
       กองทัพเชียงใหม่ และลำปางยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เข้าตีเมืองยอง และเชียงตุง
       ส่วนกองทัพเมืองน่าน และหลวงพระบางยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง มุ่งสู่ดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองปันนา
       การยกทัพไปตีดินแดนสิบสองปันนา  เมืองเชียงรุ่งไม่ต่อสู้ขัดขืน ในคราวนั้นกองทัพน่าน และหลวงพระบางสามารถตีเมืองน้อยใหญ่ได้ 11- 12 เมือง รวมถึงเชียงแขง และยังกวาดต้อนผู้คนลงมาได้ราว 4-5 หมื่นคน
      กองทัพน่านยังยกเข้าตีเชียงแขงอีกครั้งในปี 2356 ตรงกับสมัย ร.2 ของไทย  ครั้งนั้นเจ้าสุมนเทวราช ผู้ครองนครน่านได้เกณฑ์เจ้าเมืองและราษฎรเกือบทั้งหมดลงมา  จนเชียงแขงแทบกลายเป็นเมืองร้าง  โดยปัจจุบันยังปรากฏชาวลื้อจำนวนมากจากเชียงแขงตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองน่านมาจนถึงทุกวันนี้
      ในราว พ.ศ. 2403 เมืองเชียงแขงย้ายหอคำและศูนย์กลางอำนาจข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งตะวันตกที่เมืองยู้ ตั้งชื่อว่า “เวียงจอมทอง” ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของพม่า
       ต่อมา ในปี พ.ศ.2426  ตรงกับสมัย ร. 5 ของไทย  เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำได้อพยพผู้คนไทลื้อ และไทเหนือราว 1,000 คน จากเมืองยู้ มาร่วมกันสร้างศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองสิง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง อันเป็นดินแดนที่เวลานั้นอยู่ภายใต้อำนาจของเมืองน่าน ซึ่งน่านอยู่ภายใต้อำนาจสยามอีกทอดหนึ่ง
       เมื่อย้ายศูนย์กลางเชียงแขงมาที่เมืองสิงแล้ว    ในปี พ.ศ. 2432 ด้วยการเชื้อเชิญผ่านเมืองน่าน เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำได้จัดส่งเครื่องราชบรรณาการลงไปถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาของสยาม 
       ในปี พ.ศ.2433 เมื่ออังกฤษขยายอำนาจเข้าปกครองรัฐฉานไว้ได้แล้ว  การเปิดเจรจาเรื่องดินแดนกับสยามในราวต้นปี พ.ศ. 2434 ซึ่งรวมถึงสถานะของรัฐเชียงแขงก็ได้เริ่มขึ้น เพราะอังกฤษต้องการจะเข้าควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงโดยตรงจากพม่ากับทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน 
      การเจรจาที่ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างสยามและอังกฤษเกี่ยวกับสถานะของเชียงแขงถูกชะลอออกไป จนกระทั่งในช่วงต้นปี 2435 ได้เกิดอีกหนึ่งขั้วอำนาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นคือ “ฝรั่งเศส”
      ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ 112  หรือวิกฤตการณ์ปากน้ำ  เป็นเหตุให้ไทยยอมทำความตกลงฝรั่งเศส-สยามในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2436  สยามต้องสละสิทธิทั้งหมดในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำให้แก่ฝรั่งเศส  ซึ่งนั่นหมายถึงเชียงแขงได้กลายเป็นดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้ฝรั่งเศสไปโดยปริยายตามข้อตกลงที่ว่านั้น
         ในเดือนมกราคม 2438 ตัวแทนของอังกฤษและฝรั่งเศสได้พบกันที่เมืองสิง เพื่อตกลงกันเรื่องดินแดนเชียงแขง  แต่ในที่สุดอังกฤษก็สั่งทหารจากเชียงตุงให้เข้าบุกยึดเมืองสิงไว้ เป็นเหตุให้เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำต้องหนีไปยังเมืองหลวงน้ำทาดินแดนอิทธิพลของฝรั่งเศส
       ความขัดแย้งเรื่องเชียงแขงระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส สิ้นสุดลงในเดือน พ.ค.ปี 2439     ทั้งสองฝ่ายตกลงทำอนุสัญญากำหนดการแบ่งอาณาเขตโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งแดน  ทำให้รัฐเชียงแขงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ    ส่วนด้านตะวันออก รวมถึงเมืองสิงห์ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส   
       เมื่อกองทัพอังกฤษก็ถอนตัวออกจากเมืองสิงกลับไปพม่าแล้ว ไม่นานเจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำก็กลับเข้าสู่เมืองสิง อันมีสถานะใหม่ในฐานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
       เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำปกครองเมืองสิงอีกเพียงไม่นาน ก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคมะเร็งหัวเสือที่จมูกในปี 2443     หลังจากนั้น “เจ้าฟ้าองค์คำ” รัชทายาทองค์โตก็ขึ้น สืบราชสมบัติแทน   แต่อีกเพียง 7 ปีต่อมา  เจ้าฟ้าองค์คำก็ต้องหนีไปยังเมืองเชียงรุ่ง หลังพยายามคิดการกบฏต่อฝรั่งเศสและได้สิ้นพระชนม์ลงที่นั่น  จากนั้นฝรั่งเศสได้เข้าปกครองเมืองสิงโดยตรง นับเป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าฟ้าแห่งรัฐเชียงแขงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      ฝรั่งเศสได้รวมเมืองสิง และเมืองไทลื้อที่เหลืออยู่มาขึ้นกับอาณาจักรล้านช้างร่มขาว กระทั่งเมื่อลาวได้รับเอกราช เมืองสิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสปป.ลาว มาจนถึงปัจจุบัน

2
ก๋ารแอ่ว - อู้จีบ ของ บ่าวสาวสมัยบ่าเก่า

ชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=-oMBPwTkiYA

ฮีตกองล้านนา : ศูนย์รวมวัฒนธรรมล้านนา

3
ประตู – กำแพงเมืองเชียงใหม่ แท้ หรือ เทียม ? I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.254

ชมคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=cSv37Jlwo_Y

ประตูและกำแพงเมืองเชียงใหม่ สิ่งคุ้นตาของชาวไทยและชาวต่างชาตินี้ไม่เพียงเป็นปราการสำคัญแห่งอาณาจักรล้านนา   ข้อมูลส่วนหนึ่งเคยเชื่อว่าพวกมันถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.1839  แต่จากการตรวจสอบหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าประตูและกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ อาจไม่ได้สร้างในครั้งพญามังราย แต่ถูกต่อเติมขึ้นในหลายช่วงระยะเวลาด้วยกัน
.
ประตูและกำแพงเมืองเชียงใหม่ที่เห็นในปัจจุบันยังไม่ใช่ของดั้งเดิมที่มีอายุเก่าแก่กว่าร้อยปี  พวกมันถูกรื้อและบูรณะขึ้นใหม่เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา  การบูรณะครั้งนั้นไม่ได้ยึดถือตามรูปแบบโบราณ  แต่จากเหตุการณ์พังทลายของประตูช้างเผือกในปี พ.ศ.2565  ประกอบกับแผนที่นครเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2436 ที่แสดงแผนผังของประตูเมืองแบบดั้งเดิมเอาไว้ จึงเป็นโอกาสให้กรมศิลปากรได้ทำการขุดสำรวจประตูเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง และพบกับความจริงที่ว่าประตูเมืองเชียงใหม่ชั้นในมีรูปแบบเป็นป้อมประตูในลักษณะ 2 ชั้น  และนอกจากนี้ เมืองเชียงใหม่ยังมีกำแพงเมืองชั้นนอกที่ค่อยทำหน้าที่สำคัญเมื่อครั้งอดีต  แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันพวกมันถูกพังทลายลงจากการสร้างบ้านเรือนไปแล้ว
.
เรื่องราวของประตูและกำแพงเมืองเชียงใหม่จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในรายการประวัติศาสตร์นอกตำรา

4
เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่๔๐ เสด็จนั่งบนเสลี่ยงหลังช้าง ทรงเสด็จออกจากประตูเมือง พร้อมด้วยขบวนม้า และบริวาร รอบขบวนคราคร่ำไปด้วยชาวเมืองเชียงตุงที่สวมหมวกปีกกว้างอันเป็นเอกลักษณ์ในเทศกาลโปร่งน้ำร้อน เพื่อจะเสด็จไปอาบน้ำร้อน(น้ำปุ่งบ้านล้าว) ปี 2463

Sao Kawng Kiao Intaleng ,Kengtung ,1920

#ที่มา Wisuwat Buroot

5
เหตุการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ที่ผ่านมา สร้างความเสียหายให้กับโบราณสถานหลายแห่ง โดยเฉพาะเวียงกุมกาม ขณะที่การซ่อมแซม บูรณะ ต้องดำเนินด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง เพราะอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นได้

เร่งบูรณะเวียงกุมกาม จ.เชียงใหม่ | 19 ธ.ค. 2567

ดูคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=EPgDWr0LW_8

6
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย | เรื่องเล่าหลังเที่ยงคืน EP.36

ดูคลิปได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=DMya1vhzAUQ

ในอดีตเชียงใหม่เคยมีเจ้าผู้ปกครองของตนเอง แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงเชียงใหม่ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โดยมี “เจ้าแก้วนวรัฐ เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย”

และเมื่อเจ้าแก้วนวรัฐถึงแก่พิราลัยสยามได้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่
สิ้นสุดสายราชวงศ์ที่สืบทอดกันมานับร้อยปี แต่ก็ยังมีผู้สืบสายสกุล “ณ เชียงใหม่” ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน

#เจ้าแก้วนวรัฐ #เจ้าดารารัศมี #โลกวิวัฒน์ #เรื่องเล่าหลังเที่ยงคืน #เจ้านายฝ่ายเหนือ  #เจ้าน้อยศุขเกษม #มะเมี๊ยะ #ล้านนา #เชียงใหม่ #รัชกาลที่5 #การเมือง #ประวัติศาสตร์ล้านนา #ThairathStudio #ไทยรัฐสตูดิโอ

ติดต่องาน
LINE : @ThairathStudio (มี@ด้านหน้า) หรือ https://lin.ee/VgGroFt
ติดตามคอนเทนต์ดี ๆ กด subscribe ได้ที่     / @thairathstudio https://www.youtube.com/@ThairathStudio

7
สี่แยกประตูชัยพะเยาในอดีต ในช่วงโรงเรียนบน เลิกเรียน สมัยอดีตชาวบ้านจะเรียกว่า"โรงเรียนบน" ก็คือ โรงเรียนพะเยาพิทยาคมในปัจจุบัน และก็ จะมีโรงเรียนที่ชาวบ้านเรียกว่า"โรงเรียนล่าง"ก็คือโรงเรียนสตรีพะเยา (โรงเรียนสตรี คือโรงเรียน อนุบาลพะเยาในปัจจุบัน เป็นโรงเรียนหญิงล้วน)

ขอบคุณเพจ พะเยาบ้านฉัน

8
ย่านชุมชนสันติธรรม เชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2498

วัดสันติธรรม นครเชียงใหม่ สมัยก่อตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2498

ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง #เชียงใหม่

ขอบคุณภาพจาก Naret Boontiang

จากเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

9
บ้านพักข้าราชการ (นายแพทย์) ตำบลเวียง จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ.๒๔๙๔

ภาพเก่าที่ทรงคุณค่าซึ่งบันทึกเรื่องราวของบ้านพักข้าราชการ (นายแพทย์) ที่ตำบลเวียง จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ภาพนี้สะท้อนวิถีชีวิตในอดีตที่เรียบง่ายและอบอุ่น สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ "อ่างล้างเท้า" ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเด็ก ๆ ในยุคนั้นมักไม่ชอบใส่รองเท้า การล้างเท้าก่อนขึ้นบ้านจึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนต้องทำ

บรรยากาศบ้านพักในยุคนั้นมีความเงียบสงบ และแฝงไว้ด้วยความทรงจำของชีวิตที่เรียบง่ายและวิถีชีวิตที่ผูกพันกับธรรมชาติ ภาพนี้ยังคงคุณค่าในการย้อนรำลึกถึงความงามของอดีตและการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตตามกาลเวลา

ถ่ายโดย : Joe Scherchel นิตยสาร LIFE

ขอขอบคุณ : Apichart Pariyanont , Yoong Ja

10
เจ้าฟ้าไทใหญ่ทั้ง 34 หัวเมือง ก่อนจะสิ้นอำนาจ

ก่อนปี 2502 รัฐฉานแบ่งการปกครองออกเป็น 34 เมืองใหญ่ แต่ละหัวเมืองมีเจ้าฟ้าปกครองดูแล สืบทอดทางสายตระกูล ดังนี้

1. เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าเมืองแสนหวี
2. เจ้าเสือห่มฟ้า เจ้าฟ้าเมืองไหย๋
3. เจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ
4. เจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าเมืองน้ำสั่น (ชาวปะหล่อง)
5. เจ้าขุนเขียว เจ้าฟ้าเมืองมีด
6. เจ้าหย่านจีนส่าย เจ้าฟ้าเมืองโกก้าง
7. เจ้าส่วยหมุ่ง เจ้าฟ้าเมืองเกซี
8. เจ้าหม่านฟ้า เจ้าฟ้าเมืองสู้
9. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าเมืองกึ๋ง
10. เจ้าหนุ่ม เจ้าฟ้าเมืองลายค่า
11. เจ้าเป้ เจ้าฟ้าเมืองนาย
12. เจ้าหม่านเหล็ก เจ้าฟ้าเมืองเลิน
13. เจ้าทุนฟ้า เจ้าฟ้าเมืองหมอกใหม่
14. เจ้าอุงหม่อง เจ้าฟ้าเมืองหนอง
15. เจ้าทุนเอ เจ้าฟ้าเมืองสาเมืองคำ
16. เจ้าคำเซิก (ส่วยไต) เจ้าฟ้าเมืองยองห้วย
17. เจ้าขุนส่า เจ้าฟ้าเมืองลอกจอก
18. เจ้าส่วยจี่ เจ้าฟ้าเมืองปั่น
19. เจ้าวินจี่ เจ้าฟ้าเมืองป๋างตะละ (ชาวทะนุ)
20. เจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองป๋อน
21. เจ้าโมจ่อ เจ้าฟ้าเมืองป๋างลอง
22. เจ้าขุนทุนจิ่ง เจ้าฟ้าเมืองโปยละ (ชาวทะนุ)
23. เจ้าขุนโอ้ เจ้าฟ้าเมืองหัวโปง
24. เจ้าขุนยุ่น เจ้าฟ้าจะก่อย
25. เจ้าขุนอู เจ้าฟ้าเมืองป๋างหมี
26. เจ้าขุนซอง เจ้าฟ้าเมืองโจง (ชาวทะนุ)
27. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าจ๋ามกา
28. เจ้าจิ่งยุ่น เจ้าฟ้าเมืองบ้านเหย่น
29. เจ้าขุนอ่อง เจ้าฟ้าเมืองป่อ
30. เจ้าขุนยี่ เจ้าฟ้าเมืองหยั่วหง่าน
31. เจ้าตองส่วย เจ้าฟ้าเมืองน้ำโค่กหนองหมอน
32. เจ้าอ่องมิ่น เจ้าฟ้าเมืองสะโถ่ง (ชาวปะโอ)
33. เจ้าจายหลวง เจ้าฟ้าเชียงตุง
34. เจ้าหวุ่นนะ เจ้าฟ้าเมืองปาย เมืองยางแหลง (คะยา)

ที่มา ล้านนาประเทศ

11
ภาพถ่ายการรื้อหลังคาพระวิหารวัดบ้านดงหลวงสบลี้ เมืองลำพูน เมื่อราว 60 ปีก่อน

วัดบ้านดงหลวงตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2418 โดยตั้งชื่อว่า “วัดบ้านดงหลวง” ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน

ขอบคุณภาพจาก ยาง แบน จูง

12
คูเมืองบริเวณแจ่งศรีภูมิ จ.เชียงใหม่ ถ่ายไปทางทิศตะวันตก เห็นดอยสุเทพลางๆ
ด้านขวาของภาพคือถนนมณีนพรัตน์ซึ่งยังเป็นทางที่ค่อนข้างแคบ แทบไม่เห็นผู้คน

จากกลุ่ม Chiang Mai Memories
โพสท์ของ คุณ Garnet Hoyes

13
"นิทานล้านนา" นินทาเจ้าเมือง ศาสนา ชนเผ่า ? แต้อี้ แต้กะ EP.2 จากช่อง Youtube อินไซด์ล้านนา : https://www.youtube.com/@insidelanna

ดูคลิปได้ที่ Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=X-6QA-CKHUE

14
ไทลื้ออำเภอเชียงคำ อพยพมาจากเมืองพง
เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองยั้ง เมืองเงิน
เมืองเชียงคาน โดยการตั้งหมู่บ้าน
ใช้ชื่อเมืองที่อยู่เดิมตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน
เช่นบ้านหยวน บ้านมาง บ้านเชียงคาน บ้านล้า ฯลฯ
นอกจากนั้นยังมีประเพณีในการนับถือเทวดาเมือง
องค์เดียวกันคือ เจ้าหลวงเมืองล้า ในบ้านน้ำแวน หมู่ 1 ตำบลน้ำแวน บ้านแวน หมู่ 2 ตำบลน้ำแวน
บ้านแวนพัฒนาหมู่ 5 ตำบลเชียงบาน บ้านล้า ตำบลเวียง ( อิสรา ญาณตาล .พ.ศ. 2534 )

กลุ่มไทลื้อเชียงคำ อพยพมาจากเมืองปัว
ซึ่งเป็นกลุ่มที่นับถือเจ้าหลวงเมืองล้า
มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงคำ โดยเลือกเอา
บริเวณที่ห้วยแม่ต๋ำไหลมาบรรจบกันกับแม่น้ำแวน
(ปัจจุบันคือบ้านหมู่ที่ 1) หลังจากนั้น
ก็มีการขยายชุมชนออกไปตั้งอยู่อีกฟากหนึ่ง
ของห้วยแม่ต๋ำ (ปัจจุบันคือ หมู่บ้านแวนหมู่ที่ 2)
และการขยายตัวครั้งสุดท้าย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2460
ไปตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำแวน ซึ่งปัจจุบัน
คือ บ้านแวนพัฒนา หมู่ 5 ตำบลเชียงบาน
ซึ่งไทลื้อกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มเดียวกับที่ถูก
กวาดต้อนมาจากสิบสองปันนาในสมัยพระเจ้ากาวิละ
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
เจ้าผู้ครองนครน่าน

บ้านแวนทั้ง 3 หมู่บ้าน ยังมีความสัมพันธ์
ทางเครือญาติกับกลุ่มไทลื้อในอำเภอท่าวังผา
ความสัมพันธ์เครือญาติระหว่างบ้านแวนพัฒนา
หมู่ 5 กับบ้านหนองบัว เพราะใน พ.ศ. 2495
มีครอบครัวไทลื้อจากบ้านหนองบัว
มาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านแวนพัฒนา
โดยตรงประมาณ 20 ครอบครัว

นอกจากนี้ กลุ่มไทลื้อเชื้อสายเมืองล้า
(บ้านหนองบัว ต้นฮ่าง ดอนมูล รวมถึง
บ้านแวนทั้ง 3 และบ้านล้า) มีความสัมพันธ์
ทางเครือญาติกับไทลื้อที่เมืองคอบ
ซึ่งอยู่ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน กล่าวคือ
ต่างก็นับถือเทวดาเจ้าหลวงเมืองล้า
เป็นเทวดาเมืองเหมือนกัน และทุกปีเมื่อมี
พิธีกรรมเมือง เลี้ยงเทวดาเจ้าหลวงเมืองล้า
ก็มีเครือญาติจากบ้านแวนและบ้านหนองบัว
ไปร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง

ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดพะเยา

สำเนาภาพถ่ายจากหอจดหมายเหตุพายัพ
มหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่
ภาพจากเพจ Naren Punyapu

15
วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

จาก นิตยสารเพลินจิตต์ พิเศษ
ฉบับประจำเดือน มกราคม พ.ศ.2496

หน้า: [1] 2 ... 46