รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ประวัติเจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต

  • 0 ตอบ
  • 4078 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 671
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ประวัติเจ้าบุญวาทย์ วงษ์มานิต
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2012, 06:22:07 PM »
พลตรีมหาอำมาตย์โทเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
พลตรีมหาอำมาตย์โทเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต นามเดิม บุญทวงศ์ เกิดวัน ศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2400 (จ.ศ.1219) ตรงกับแรม 7 ค่ำ เดือน 12 ปี มะเส็ง ณ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นราชบุตร เจ้านรนันท์ไชยชวลิต เจ้าแม่ฟองแก้ว
การศึกษา
        - ศึกษาหนังสือไทยเหนือในสำนักอภิไชย วัดเชียงมั่น นครลำปาง
        - ศึกษาหนังสือไทยกลางที่บ้าน (คุ้ม) เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียน
อุปสมบท
        - สำนักพระปัญญา วัดสวนดอก อ.เมือง จ.ลำปาง
การรับราชการ
        - พ.ศ. 2428 ตำแหน่งพนักงานในกองมหาดไทย
        - 4 มกราคม 2433 เป็นเจ้า ?ราชสัมพันธ์วงษ์?
        - พ.ศ.2436 ตำแหน่งเสนามหาดไทย และคลัง
        - 23 พฤศจิกายน 2438 ตำแหน่งเจ้าอุปราชเมืองลำปาง
        - 2 ตุลาคม 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง สืบแทนบิดา มีนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า ?เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต สามันตวิชิตประเทศราช บริษัษย์นารถ ทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิไสย อภัยรัษฏารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาธิวรางค์ ลำปางคมหานครธิปไตย เจ้าผู้ครองนครลำปาง?
เกียรติคุณและผลงาน
        ในฐานะเจ้าผู้ครองนครลำปาง พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้บำเพ็ญกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อนครลำปาง และเป็นคุณต่อประเทศชาติเป็นอเนกประการ อาทิ ด้านการทหาร และการป้องกันนคร ได้ระดมชาวเมืองต่อสู้ป้องกันนครจากเงี้ยวที่ก่อจลาจล ยกกำลังเข้าตีนครลำปาง เมื่อเดือนสิงหาคม 2445 สามารถปราบปรามเงี้ยวได้ราบคาบจากการที่ท่านระดมพลเมืองเป็นทหารรบมุ่งทำสงครามทำให้เกิดมีกองทหารนครลำปางขึ้น และเพื่อความเป็นปึกแผ่นมั่นคงทางกิจการทหาร ท่านได้อุทิศที่ดินสร้างโรงทหาร โรงพยาบาลทหาร นับว่าท่านได้เป็นผู้ริเริ่ม และวางรากฐานด้านการทหารให้แก่นครลำปาง
ด้านการศึกษา
        การศึกษาของเยาวชนลำปางแต่เดิมมีอยู่ที่วัด โรงเรียนบุญวาทย์เดิมตั้งอยู่ ณ วัดพระแก้วดอนเต้า ต่อมาย้ายไปอยู่วัดสุชาดา แล้วย้ายไปอยู่วัดแสงเมืองมา พลตรีมหาอำมาตย์โทเจ้าบุญวาทย์ฯ ได้ให้ความสนใจติดตามความเคลื่อนไหว ด้านการจัดการศึกษาของส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) แล้วนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของนครลำปาง นำการศึกษาแบบสอนในโรงเรียน เข้ามาแทนการศึกษาที่วัด โดยการสร้างโรงเรียนนอกวัดเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2447 บริเวณหน้าคุ้มของท่าน คือที่ตั้งสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองลำปาง ปัจจุบันต่อมาจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ท่านได้สละทรัพย์ส่วนตัว ซื้อที่ดินและตึกของห้าง กิมเซ่งหลี สร้างและซ่อมแซมเป็นโรงเรียนใหม่ ที่บ้านน้ำล้อม อำเภอเมืองลำปาง คือ โรงแรมอรุณศักดิ์ในปัจจุบัน แล้วย้ายนักเรียนไปเรียนรวมกัน มอบให้เป็นโรงเรียนของรัฐ พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงอิสริยายศเป็นสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ เมื่อเสด็จถึงนครลำปาง ได้ทรงพระกรุณาเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดโรงเรียนแห่งใหม่นี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2448 และพระราชนามว่า ?โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย? เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์ ?ลิลิตพายัพ? ของพระบาทสมเด็จพระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงในนามแฝง ?หนานแก้วเมืองบูรพา? ว่า วันที่ชาวหกนั้น เสด็จไปทรงเปิดโรงเรียนไทย ฤกษ์เช้าบุญวาทย์วิทยาลัย ขนานชื่อ ประทานนอ เป็นเกียรติยศแด่เจ้า ปกแคว้นลำปาง พลตรีมหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์ฯ เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนานครลำปาง ท่านจึงส่งลูกหลานของท่าน และประชาชนลำปางที่ท่านคัดเลือกว่ามีสติปัญญา ความสามารถไปศึกษาต่อที่ กรุงเทพฯ โดยให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วให้บุคคลเหล่านั้นกลับมาทำงานรับใช้นครลำปาง อาทิ เจ้าบุตร ไปเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัย เจ้าน้อยหนู เจ้าน้อยขี้ไหน่ เจ้าน้อยสูญ ณ ลำปาง และเจ้าน้อยเต้า ณ ลำปาง ไปเรียนที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นายน้อย คมสัน ไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเทพศิรินทร์ หลังจากโรงเรียนบุญวาทย์ ได้ย้ายออกจากหน้าคุ้ม เจ้าพ่อบุญวาทย์ได้ตั้งโรงเรียนใหม่ขึ้นอีกโรงหนึ่ง ตรงที่หอพระบริเวณสวนดอกไม้ในคุ้มหลวง เพื่อให้บุตรหลานของเจ้าพ่อได้เรียน แล้วขยายรับเด็กที่อยู่บริเวณใกล้ๆ ด้วย โรงเรียนนี้ยังไม่มีชื่อ แต่คนนิยมเรียกว่า โรงเรียนเจ้าชื่น ต่อมาย้ายโรงเรียนมาตั้งหน้าคุ้ม และได้ชื่อว่า ?โรงเรียนบุญวงศ์อนุกุล? ตามชื่อเดิมของเจ้าพ่อบุญวาทย์ ภายหลังโรงเรียนนี้ได้ย้ายนักเรียนไปเรียนรวมกับโรงเรียนบุญวาทย์เมื่อ พ.ศ.2472 พ.ศ.2474 สถานที่ (บริเวณห้ามกิมเซ่งหลี) คับแคบเกินกว่าจะรับนักเรียนเพิ่มได้ จึงได้ย้ายโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ไปตั้งนอกกำแพงเมือง (คือสถานที่ตั้งของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยในปัจจุบัน)
ด้านการศาสนา
            เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้ให้ความอุปถัมภ์วัดต่างๆ โดยทั่วถึง สละทรัพย์ส่วนตน เพื่อบำรุงพุทธศาสนา ตามหลักฐานจารึก คือ พ.ศ.2455 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เห็นว่าโบราณวัตถุต่างๆ ของวัดหลวงไชยสัณฐาน (วัดบุญวาทย์) ซึ่งเป็นวัดราษฏร์ ทรุดโทรมมาก จึงให้รื้อพระวิหารหลวง หอไตร กุฏิ และกำแพงทั้งหมด แล้วให้หลวงประสานไมตรีราษฏร์ ผู้เป็นนายช่างลงไปลอกแบบอย่างพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานครมาจัดสร้างขึ้นใหม่ โดยได้สร้างพระวิหารหลวงหลังหนึ่ง และให้หล่อพระประธานองค์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 1 วา 2 ศอก สูง 2 วา 14 นิ้ว ขนานนามว่า ?พระเจ้าตนหลวง? แล้วเสร็จ พ.ศ.2457 และได้รายงานเสนอของเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า ?วัดหลวงบุญวาทย์บำรุง? พระวิหารหลวง และพระประธานยังคงสภาพงดงามอยู่จนกระทั่งบัดนี้ ครั้งรุ่งขึ้นอีกหนึ่งปีคือวันที่ 15 มิถุนายน 2458 เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เป็นประธานพร้อมด้วยพระธรรมจินดานายก (ผาย) เจ้าอาวาส ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลำปาง ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระคุณภูริโสภณ และเจ้านาย ข้าราชการได้ทำการฉลองวัดเป็นงานใหญ่ พร้อมกับผูกพันธสีมาโดยรอบพระวิหารหลวงด้วยการประชุมสงฆ์ร่วมทำสังฆกรรมจำนวน 120 รูป ทำพระวิหารหลวงเป็นพระอุโบสถ ปรากฏตามความในแผ่นจารึกหน้าพระอุโบสถดังนี้ ?ศุภนิสดุ พระพุทธศาสนายุกาลล่วงแล้วได้ 2455 พรรษา เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง ได้รื้อพระวิหารหลวงหลังเก่า แต่โบราณนั้นเสีย ได้สร้างพระอุโบสถหลังนี้แทนขึ้นใหม่สำเร็จแล้วบริบูรณ์ และได้ทำมหกรรมทำบุญฉลอง และผูกพันธสีมาลงที่พระอุโบสถ นี้ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2458 ได้บริจาคทุนทรัพย์สร้างพระอุโบสถหลังนี้ เป็นจำนวนเงิน 32,738 บาท 75 สตางค์ ?ด้วยอำนาจอานิสงษ์ผลทั้งนี้ ขอจงบันดาลให้ เจ้าบุญวาทย์ วงศ์มานิตให้ได้ เสวยอิฐวิบูลผลโอฬารริกภาพยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ? เมื่อฉลองวัด และผูกพัทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาส และเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้พร้อมกันนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชวโรกาสถวายพระราชกุศล และขอถวายวัดหลวงบุญวาทย์บำรุง เป็นพระอารามหลวง สืบไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามใหม่ว่า ?วัดบุญวาทย์วิหาร? เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 (ตามหนังสือกระทรวงธรรมการลงวันที่ 31 ตุลาคม 2458) นอกจากบูรณะปฏิสังขร วัดบุญวาทย์วิหาร แล้วท่านได้สร้างวัดช้างเผือก ตามหลักฐานจารึกหน้าปันอุโบสถด้านในวัดช้างเผือก ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง ว่า ?เจ้าบุญวาทมานิต? เจ้าผู้ครองนครลำปาง พร้อมด้วยโอรสและนัดดา มีพระทัยเลื่อมใสพระพุทธศาสนา ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงสร้างพระอาราม พระอุโบสถ วัดช้างเผือกไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสงฆ์จากจาตุรทิศ ได้อาศัย และลงอุโบสถสังฆกรรม ขอพระพุทธภูมิในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ สำเร็จลงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พระพุทธศักราช 2464 ตรงกับวันอาทิตย์ เดือน 6 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ปีระกา จุลศักราช 1283?
จากประวัติวัดบุญวาทย์นิมิต ตั้งอยู่เลขที่ 50 หมู่ 8 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง ปรากฏในแผ่นทองที่หุ้มองค์พระเจดีย์เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้บูรณะก่อสร้างวัดนาหม้อ (นาม้อ) เมื่อ พ.ศ.2447 ร.ศ.1267 เหตุที่มีการบูรณะสร้างวัดนาม้อ ด้วยเหตุพระการวิชัยเจ้าอาวาสวัดแม่ปุ๋มหลวง (ดอนธรรม) พ.ศ.2455-2489 บอกเล่าให้พระมณีวรรณ ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแม่ปุ๋มหลวง สืบต่อจากพระกาวิชัยว่า ตรงที่นาติดกับแนวป่า ทุ่งนาม้อ มีต้นมะค่าโมงขนาดใหญ่ และบริเวณนั้น มีเศษอิฐ เศษกระเบื้อง ถ้วยดินเผา เคยมีแสงประหลาดพุ่งขึ้นตามต้นมะค่าโมงเสมอ พระมณีวรรณจึงนำศิษย์วัไปขุดค้น ได้พบพระธาตุหลายองค์และได้นิมิตฝันว่าขอให้ท่านช่วยบูรณะขึ้นด้วย พระมณีวรรณซึ่งมีความคุ้นเคยกับเจ้าผู้ครองนครลำปาง (เจ้าหลวง) เพราะเจ้าผู้ครองเมืองมีที่นาอยู่ใกล้หมู่บ้าน พระมณีวรรณจึงนำเรื่องนี้ไปปรึกษากับเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าบุญวาทย์ เห็นว่าควรสร้างเป็นวัดและเจดีย์ขึ้นในที่แห่งนั้น จึงให้ญาติวงศ์ เจ้านาน หรือรือบุรี เจ้าหัวเมืองแก้ว เจ้าราชบุตร พร้อมประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ครูมาโน วัดปงสนุก เป็นประธานควบคุมการก่อสร้าง คณะศรัทธา มีพญาหล้า พญาสิทธิ พญาวงศ์ ทำการก่อสร้าง วิหาร กุฏิ ศาลาบาตร กำแพง พระเจดีย์ขนาดฐานกว้าง ด้านละ 48 เมตร สูง 30 เมตร บรรจุพระธาตุที่ขุดได้อีกส่วนหนึ่ง ได้มาจากวัดปันต้า พระมณีวรรณได้ย้ายจากวัดแม่ปุ้มหลวงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดที่สร้างใหม่ ซึ่งมีชื่อว่า วัดตามนิมิตของท่านและนามเจ้าผู้ครองนครเมืองลำปางว่า ?วัดบุญวาทย์นิมิต?
ด้านการคมนาคม
            ท่านได้ดำเนินการให้มีการติดต่อสื่อสารด้วยโทรเลข โดยได้ซื้อที่ดินของวัดบุญวาทย์เพื่อขยายที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข และให้สร้างอาคารที่ทำการใหม่ แทนอาคารเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม รวมถึงการเดินรถไฟของนครลำปาง ได้เริ่มขึ้นในสมัยเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เป็นผู้ครองนครลำปาง ด้านสาธารณกุศล พ.ศ.2452 ได้ออกเงินส่วนตนซื้อไม้ขอนสัก 200 ต้น ราคา 10,000 บาท สำหรับก่อสร้างสนามหลวงเมืองนครลำปาง (ศาลากลางจังหวัด) ได้มีใบบอกลงไปยังกระทรวงมหาดไทยที่ 12/1842 ลงวันที่ 26 กันยายน ร.ศ.128 และได้รับศุภอักษรตอบที่ 8/11551 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน ร.ศ.128  พ.ศ. 2453 ได้ออกเงินส่วนตนจัดซื้อที่ดินและตักสร้างเป็นโรงเรียนที่บ้านน้ำล้อม อำเภอเมืองลำปาง สิ้นเงิน 13,432 บาท ถวายเป็นโรงเรียนรัฐบาล ได้มีใบบอกถวาย พระราชกุศลไปยังกระทรวงมหาดไทยที่ 21/1908 ลงวันที่ 23 กันยายน ร.ศ.130 และได้รับสารตรากระทรวงมหาดไทยตอบที่ 2/8689 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ร.ศ.130 พ.ศ.2454 ซ่อมถนนสายหัวเวียง และสร้างสะพานข้ามห้วยแม่กะทืบไปกองทหาร สิ้นเงิน 2,500 บาท ได้มีใบบอกขอไปยังกระทรวงมหาดไทยที่ 5/823 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม ร.ศ.131 และได้รับสารตรากระทรวงมหาดไทยตอบที่ 2/2562 ลงวันที่ 24 มิถุนายน ร.ศ.131 และออกเงินส่วนตนจำนวน 11,284 บาท สร้างโรงพยาบาล ทหารให้แก่กองทหารนครลำปาง ไว้ใช้ในราชการทหาร ได้มีใบบอกไปยังกระทรวงกลาโหมที่ 1/824 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม ร.ศ. 131 และได้รับท้องตราตอบที่ 1/6236 ลงวันที่ 17 มิถุนายน ร.ศ.131 เพื่อประโยชน์แก่ราชการและนครลำปาง ท่านได้อุทิศที่ดินเพื่อสร้างเป็นสถานที่ก่อสร้างหน่วยราชการหลายแห่ง อาทิ 
       - ที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดลำปาง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง)
        - ที่ดินที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข
        - ที่ดินที่ทำการศาลจังหวัดลำปาง
        - ที่ดินเรือนจำกลางลำปาง
ด้านอุตสาหกรรม
            ได้จัดตั้งโรงงานทอผ้า โรงงานฟอกหนัง (อยู่ข้างโรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี) ปัจจุบันเป็นที่เก็บพัสดุของเทศบาลเมืองลำปาง น่าจะเป็นโรงฟอกหนังแห่งแรกในประเทศไทย เพราะมีก่อนโรงฟอกหนังที่กรุงเทพฯ นับว่าท่านเป็นผู้มีความคิดก้าวหน้าเห็นการณ์ไกลด้านอุตสาหกรรม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของนครลำปางพลตรี มหาอำมาตย์โทแจ้งบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย ถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2465 รวมเวลาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง 24 ปี พระชนมายุ 65 พรรษา
พลตรี มหาอำมาตย์โท เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต


ขอขอบคุณ lampang108.com
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้