รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ระบบปันนา การปกครองบ้านเมือง ในอาณาจักรล้านนา

  • 0 ตอบ
  • 2121 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ในอดีตนั้น ไม่ว่าเมืองลี้ เมืองลื้อ หรือ เมืองต่างๆที่อยู่ในอาณาจักรล้านนาทั้งหมด จะมีรูปแบบกลไกการปกครองบ้านเมืองที่เรียกกันว่า ระบบปันนา ซึ่งหลักการในระบบปันนานี้จะมีกฏหมายโบราณที่มาควบคุมอีกทีเรียกว่า มังรายณ์ศาสตร์ ในมังรายณ์ศาสตร์จะมีบทบัญญัตลักษณะกฏหมายในด้านต่างๆ รายละเอียดจะนำมาเล่าฟังในครั้งต่อๆไป การกำหนดให้ประชาชนโดยทั่วไป หรือ ไพร่นั้น สามารถทำมาหากินบนที่ดินได้ แต่ไม่สามารถนำที่ดินนั้นไปซื้อขาย เพราะที่ดินทั้งหลายถือว่าเป็นของพญาผู้ปกครอง บทกำหนดในมังรายณ์ศาสตร์กำหนดให้ไพร่ 1 คนสามารถทำนาจุข้าวได้ 5 ถัง นาของไพร่ 5 คนจะเรียกว่า 1 หัวนา และ 5 หัวนาจะเรียกว่า 1 หมวดนาที่อยู่ในปันนานั้น...
...กำหนดให้บ้านเรือนราษฏร 5 หลังนับเป็น 1 เส้นฏีการ
1,000 ส้นฏีการ หรือ รวมๆบ้านเรือนประมาณ 5,000 หลังคาเรือนเรียกว่า 1 ปันนา...แต่ถ้าจำนวนหลังคาเรือนของราษฏรมีไม่ถึง 1,000 เส้นฏีการ หรือ 5,000 หลังคาเรือนจะเรียกว่า ต่อนา..
...ผู้ปกครองหมู่บ้าน หรือ ชุมชนเรียกว่า แก่บ้าน มีหน้าที่ดูแลสารทุกข์ของชาวบ้านในหมู่บ้านหรือชุมชนและคอยรายงานผลผลิตทางการเกษตรภายในชุมชนหรือหมู่บ้าน...
...ผู้ปกครอง ต่อนา มีตำแหน่ง พัน หรือเรียกว่า พันปากนา
....ผู้ปกครองพันนา (เทียบเท่ากับตำบล) มีตำแหน่งเป็น หมื่น ( เทียบเท่ากับกำนัน) ในยุคต่อมาที่ล้านนาขึ้นกับพม่าแล้วจะเรียกว่า แคว่น หรือ ท้าวแคว่น...
....เจ้าเมืองต่างๆที่ปกครองจะใช้ระบบเหมืองฝายเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ระบบฝายจะมีการส่งน้ำจ่ายน้ำไปเส้นทางส่งน้ำหรือที่เรียกกันว่า ลำเหมือง การเกณฑ์ไพร่ลงมาทำงานสร้างฝาย ขุดเหมือง ถือว่าเป็นงานหน้าหมู่ ไม่มีการจ้างวานแต่บังคับให้ทุกคนต้องมาช่วยกันทำ ในมังรายณ์ศาสตร์กำหนดว่า ให้ไพร่มาทำงานให้หลวง เช่น ช่วยกันทำเหมืองฝาย 10 วัน จากนั้นจึงได้พักเพื่อให้ทำงานของตนเอง 10 วัน.....
...บทลงโทษสำหรับผู้ที่หลบเลี่ยงไม่มาช่วยงานทำเหมืองฝายคือ ห้ามใช้น้ำในลำเหมืองฝายนั้นๆ...ถ้าไม่มาช่วยแล้วใช้น้ำในเหมืองฝาย ถือว่าลักน้ำต้องถูกปรับเป็นเงิน 120 บาท(ในสมัยนั้น เงินเจียง เงินท๊อค ) ถ้าทำผิดครั้งที่ 2 ท่านว่าให้ฆ่าเสีย...
...ไพร่คนใด เบิกที่นาที่ไร่ที่สวนใหม่ ให้เว้นไม่ต้องเก็บภาษีเป็นเวลา 3 ปี ไพร่คนใดกู้ยืมเงินไปลงทุนให้เว้นมิต้องเสียค่าดอกเบี้ย 3 ปี หากนายเงินไปเก็บค่าดอกในเวลา 3 ปีแรก ให้ลงโทษนายเงินผู้นั้น...
...การเกณฑ์กำลังพลจากพวกไพร่ในราชการสงคราม กำหนดให้ไพร่ 10 คน อยู่ในการควบคุมของนายสิบ นายสิบ 2 คน อยู่ในการควบคุมของนายซาว นายซาว 5 คนอยู่ในการควบคุมของนายห้าสิบ นายห้าสิบ 2 คน อยู่ในการควบคุมของนายร้อย นายร้อย 10 คน อยู่ในการควบคุมของนายพัน นายพัน 10 คน อยู่ในการควบคุมของนายหมื่น นายหมื่น 10 คน อยู่ในการควบคุมของนายแสน และ สุดท้ายนายแสนอยู่ในการควบคุมของพญาเชียงใหม่.........
....ตำแหน่งเสนาบดี....เรียกว่า หาญ มี 4 คน
หาญวัง ดูแลเกี่ยวกับในคุ้มหอคำ ในเวียงชั้นใน
หาญโกฐ ดูแลเกี่ยวกับการคลัง ภาษีอากร และ เสบียงอาหาร
หาญบ้าน ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการในเมือง
หาญเมือง ดูแลเกี่ยวกับงานราชการในเมืองต่างๆ
..มีตำแหน่งราชองค์รักษ์เรียกว่า พญายอดอาวุธ...
ตำแหน่ง แสนหนังสือ ดูแลงานอาลักษ์การส่งหนังสือ เขียนบันทึก การเขียนใบบอก ราชโองการ ไปยังเมืองต่างๆ
หมื่นด้ามพร้า เป็นหัวหน้าผู้ควบคุมนายช่าง หรือ สล่าหลวง
หมื่นล่าม เป็นทูตเจรจาต่างเมือง
หมื่นเจตนา เป็นหัวหน้าช่างแกะสลัก
สิงห์เมือง เป็นหัวหน้าลูกขุนในการตัดสินพิจรณาคดีความ
จ่าเมือง เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยภายในเมือง และ ในสมัยล้านนากำหนดให้แต่ละเมืองต้องมี จ่าเมืองสองคน (ในเมืองลี้มี พญาเมืองซ้าย พญาเมืองขวา ทั้งสองท่านกินตำแหน่งจ่าเมืองทำหน้าที่ในการช่วยเหลือ พญาเจ้าเมืองลี้ ปกครองดูแลเมืองลี้)
ขุนต่างใจ ทำหน้าที่เป็นคณะลูกขุนพิจรณาคดีร่วมกับสิงห์เมือง และคอยเก็บ ส่วย ฤาชา อากร
ขุนต่างกว๊าน เป็นคณะลูกขุนพิจรณาคดีความ
ขุนต่างเมือง เป็นผู้ติดต่อราชการต่างเมือง ส่งหนังสือ ส่งสานส์ แจ้งราชโองการหลวงไปยังหัวเมืองต่างๆ
จ่าฉาง เป็นผู้รวบรวมเงินภาษี เสบียงอาหาร
ลูกขุนหมายนา เป็นผู้ดูแลควบคุมไพร่ในการทำงานให้หลวง
นายชาวกองชาวด่าน เป็นผู้เก็บค่าธรรมเนียม ค่าผ่านด่าน ผ่านทาง
กุ๋มเหมือง เป็นผู้ดูแลเหมืองฝาย หากมีความเสียหายต้องรายงานให้กับจ่าเมืองทราบ
หมื่นล่ามนา ดูแลไร่นา ดูแลควบคุมไพร่ให้มาทำงานขุดลอกซ่อมแซมเหมืองฝาย
นายเกวียน ควบคุมกองคาราวานสินค้า ควบคุมพ่อค้าต่างเมืองที่มาค้าขาย
พ่อเวียก ควบคุมการเกณฑ์ไพร่ในการมาทำงานให้หลวง
แก่บ้าน ควบคุมดูแลไพร่ในหมู่บ้านหรือชุมชนชนของตนในยามไม่มีศึกสงคราม

ขอขอบคุณเพจ เมืองลี้ในตำนาน
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้