รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


เวียงท่ากาน เวียงโบราณล้านนาของคนยอง อ.สันป่าตอง

  • 0 ตอบ
  • 3540 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
เมืองโบราณเวียงท่ากาน

ตั้งอยู่ในเขตบ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง นครเชียงใหม่
อยู่บริเวณเส้นรุ้ง ที่ ๑๘ํ ๓๐' ๓๐" เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๘ํ ๔๓' ๘๘" ตะวันตก
พิกัดกริกที่ QMA 879080 (แผนที่ทางทหารลำดับชุด L 7017 ระหว่าง 4746 ll)

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับบ้านพระเจ้าทองทิพย์
ทิศใต้ ติดกับบ้านสันกะวาน
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านหนองข่อย
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านต้นกอก และบ้านต้นแหนหลวง

การเดินทางจากตัวจังหวัดเชียงใหม่

ใช้เส้นท่างสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทางประมาณ ๓๔ กิโลเมตร
จนถึงทางแยกเข้าบ้านท่ากานบริิเวณปากท่างบ้านทุ้งเสี้ยว เป็นระยะทางเข้าไปประมาณ
๒ กิโลเมตร โดยผ่านพื้นที่บ้านต้นกอก
เมืองเก่าเวียงท่ากานมีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวประมาณ ๗๐๐ เมตร
กว้างประมาณ ๔๐๐เมตร ปรากฏแนวคูเมือง ๑
ชั้น กว้างประมาณ ๗-๘ เมตร และมีกำแพงดินหรือคันดินล้อมรอบ ๒ ชั้น
ปัจจุบันเหลือแนวคูน้ำ คันดินให้เห็น ๓ ด้านยกเวณด้านทิศใต้

ตัวเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงพื้นโดยราบเป็นที่ราบลุ่มห่างจากลำน้ำปิง
ประมาณ ๓ กิโลเมตทางทิศตะวันออกมีลำน้ำแม่ขานไหลผ่านห่างจากตัวเมือง
เวียงท่ากานประมาณ ๒ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีลำเหมือง (ลำห้วย) สายเล็กๆ
ชักน้ำจากน้ำแม่ขานมายังคูเมืองทางทิศใต้และยังมีลำเหมืองขนาดเล็ก
ชักน้ำเข้ามาใช้ภายในเมืองทางทิศตะวันออก ซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นระบบชลประทาน
ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยโบราณ

สภาพภายในตัวเมืองเดิมเป็นป่าทึบต่อมามีการโค่นต้นไม้ใหญ่หักล้าง
พื้นถางพงเพื่อทำเป็นที่อยู่อาศัยพื้นที่บริเวณชายเนินที่เป็นที่นาทั้งหมด
ปัจจุบันบ้านเรือนราษฎรส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในตัวเมืองชาวบ้านท่ากานส่วนใหญ่เป็นพวกชาวยอง
ที่อพยพเข้ามาอยู่ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละีปกครองนครเชียงใหม่คนส่วนใหญ่พูดภาษายอง
คำว่า "ท่ากาน" ชาวบ้านเล่าว่ามาจากคำว่า "ต๊ะก๋า"ในตำนานเล่าว่า
เมื่อก่อนนี้มีกาเผือกตัวใหญ่จะบินลงที่นี้ชาวบ้านกลัวว่าเมืองบินลงจะทำ
ให้เกิดความเดือดร้อนในหมู่บ้านจึงพากันไล่กาหรือต๊ะก๋าไม่ให้มาลงก็เลย เรียกต่อกันมาว่าบ้านต๊ะก๋า
ต่อมาเมือประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐ เจ้าอาวาสวัดท่ากาน ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บ้านท่ากาน
เนื่องจากคำว่า บ้านต๊ะก๋า ไม่เป็น ภาษาเขียน
จากหลักฐานทางด้านเอกสารและตำนานหลายฉบับ เช่น ตำนานมูลศาสนา
พงศาวดารโยนก และ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวโดยรวมได้ว่า เมืองท่ากาน
เป็นเมืองที่มีประวัติเกี่ยวกับนิยายปรัมปราทางพุทธศาสนากล่าวถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเคยเสด็จมาที่เมืองนี้ เวียงท่ากาน ปรากฏชื่อใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า "เวียงพันนาทะการ"
คงจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๕๔)
โปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นในจำนวนสี่ต้น มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการ

เวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภาย
ใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะ
เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับ
นครเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ.๑๙๘๔-๒๐๓๐)
กล่าวว่าพระองค์ได้เสด็จยกทัพ
ไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเฉลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่าการเมืองเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงพันนาทะการ
คงจะหมายความว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของนครเชียงใหม่
เพราะคำว่าพันนาในภาษาล้านนา หมายถึง ตำบล
หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง
ในปี (พ.ศ.๒๑๐๑) เวียงท่ากานที่ตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกัน
ต่อมาทางเชียงใหม่ร้างไปประมาณ ๒๐ ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง (พ.ศ.๒๓๑๘-๒๓๓๙)
เวียงท่ากานก็คงจะร้างไปด้วย

จนถึงช่วงปี พ.ศ.๒๓๓๙ พระเจ้ากาวิละทรงตี
นครเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไตยองเข้ามาอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้
หลักฐานทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุเช่นพระพิมพ์ดินเผาพระพุทธรูปดินเผา
พระพุทธรูปสำริดและพระโพธิสัตร์เป็นต้นแสดงให้เห็นถึงศิลปะแบบหริภุญไชย
ซึ่งยังคงเหลือให้ศึกษาอยุ่นอกเหนือจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโบราณสถาน
และโบราณวัตถุในสมัยล้านนาให้ศึกษาอย่างต่อเนื่องและนอกตัวเมืองอีกด้วย

กลุ่มโบราณสถานมีขนาดใหญ่มากทีสุด มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔ ไร่ในกลุ่มนี้
ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญยังคงเหลืออยู่คือเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภุญไชย
และเจดีย์ทรงกลมสมัยล้านนานอกจากนี้ยังปรากฏเนินโบราณสถานอีกหลาย
เนินซึ่งเป็นองค์เจดีย์วิหารอีกหลายเนินภายในกลุ่มโบราณสถานแห่งนี้
ยังเคยมีคนขุดพบ พระบุทองคำ เงินสำริด พระพิมพ์ดินเผา
ที่สำคัญคือไหรายโบราณสมัย ราชวงศ์หยวน
(พ.ศ.๑๘๒๓-๑๙๑๑) ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดท่ากานจะเป็นโถบรรจุ
อัฐิของพระเถระผู้ใหญ่เจดีย์ทั้งสององค์นี้ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเมื่อประมาณ
ต้นปี พ.ศ.๒๕๓๑ โดยหน่วยศิลปกรที่ ๔ ได้พบโบราณวัตถสามาถกำหนดอายุของเจดีย์
ทั้ง ๒ องค์ได้ว่ามีอายุอยู่ในช่วงหริกุญไชยลงมาถึงล้านนา

กลุ่มวัดกลางเมืองนี้ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน ๓ กลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือมีแนวกำแพงล้อมรอบประกอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยม
อยู่ด้านหลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตกห่างกันประมาณ ๔ เมตร
ภายในแนวกำแพงเข้าด้านหน้ามีซุ้มประตูโขงเจดีย์เป็นแบบหริภุญไชย และ ล้านนา
อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๒

กลุ่มที่ ๒ เป็นกลุ่มที่มีเนื้อที่น้อยที่สุดโดยใช้เ้แนวกำแพงร่วมกัน

กลุ่มที่ ๓ ประกอบด้วยฐานวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออกผนังด้านหลังวิหารเชื่อม
ติดกลับล้านประทักษิณของเจดีย์ประธานเป็นระฆังฐานสี่เหลี่ยมกลุ่มอาคารด้าน
ทิศตะวันออกหลังเจดีย์ประกอบด้วยฐานของศาลาโถง ๒ หลัง และบ่อน้ำ
วัดกลางเมืองกลุ่มที่ ๓ ประกอบด้วยโบราณสถาน ๗ แห่งล้อมรอบด้วยกำแพง
โดยกำแพงด้านทิศตะวันออกเชื่อมกับกำแพงกลุ่มที่ ๒ และใช้กำแพงด้านทิศเหนือ
ร่วมกันมีซุ้มประตูโขงเป็นประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า


กลุ่มที่ ๒ อยู่ทางทิศเหนือของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดพระอุโบสถเนื่องจากในบริเวณนี้
มีพระอุโบสถหลังเก่าซึ่งร้างอยู่ต่อมาชาวบ้านได้รื้อใหม่ทับแทนของเดิม
นอกจากนี้ยังปรากฏเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนาและฐานเนิน
วิหารและยังคงมีเนินโบราณสถานกระจายอยู่ในบริเวณนี้อีก ๒-๓ แห่ง
อีกทั้งยังมีเนินซุ้มประตูโขง และแนวกกำแพงให้เห็นเป็นช่วง
กลุ่มวัดพระอุโบสถประกอบด้วยเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร
หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีอุโบสถหลังใหม่อยู่ขนาดทางด้านขวาด้านซ้าย
เป็นฐานวิหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่หลังเจดีย์เหลี่ยมขนาดเล็กบริเวณรอบวัดล้อมรอบ
ด้วยแนวกำแพงแก้วและมีซุ้มประตูโขงตั้งอยู่ด้านหน้ากลุ่มวัดอุโบสถนี้จัดเป็นศิลปะแบบล้านนา
อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒


กลุ่มที่ ๓ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดต้นโพธิ์เนื่องจาก
เชื่อกันว่ามีต้นโพธิ์พญามังรายโปรดให้นำมาปลูกในบริเวณนี้มีเนินโบราณสถาน
กระจายอยุ่ด้วยกัน ๔ เนินภายในวัดประกอบด้วยฐานวิหารและเจดีย์ประธานมีซุ้มประตูโขง
และแนวกำแพงแก้วล้อมรอบสถาปัตยกรรมของกลุ่มวัดต้นโพธิ์
จัดเป็นศิลปะแบบล้านนาอายุราวศตวรรษที่ ๑๙-๒๒


กลุ่มที่ ๔ อยู่ทางตอนกลางของเมืองค่อนไปทางทิศตะวันออกเรียกวัดหัวข่วง
ปรากกฏเนินโบราณสถานที่เป็นเจดีย์และวิหารโดยวิหารเหลือแต่ฐานสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศใต้ฐานเจดีย์ประธานเป็นลักษณ์แบบทรงเรือธาตุมีกำแพง
แก้วล้อมรอบกลุ่มวัดหัวข่วงนี้จัดเป็นศิลปะแบบล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๒๑-๒๒


กลุ่มที่ ๕ อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเรียกว่ากลุ่มวัดพระเจ้าก่ำปรากฏเนินโบราณ
สถานขนาดใหญ่ ๒ เนินชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปสำริดองค์หนึ่งถูกไฟเผาจนเป็นสีดำ
จึงเรียกว่าวัดพระเจ้าก่ำภายในบริเวณโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยฐานวิหาร
และเจดีย์ประธานลักษณะเจดีย์แบ่งเป็น๒ส่วนคือฐานชั้นล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับ
เรือนธาตุด้านบนฐานเจดีย์นี้ได้เชื่อมต่อกันฐานของวิหารโบราณสถานกลุ่มเป็นศิลปะแบบล้านนา
อายุราวพุทะศตวรรษที่ ๑๙-๒๒

กลุ่มที่ ๖ ตั้งอยู่นอกเมืองท่างทิศตะวันตกเฉียงเหนือนอกเมืองอยู่ในเขตบ้านต้นกอก
เรียกว่าวัดต้นกอกมีเจดีย์ทรงกลมที่ช่วงฐานมีการขยายฐานส่วนนอกไปอีกเพื่อสร้าง
เจดีย์แบบพม่าสวมครอบทับเมื่อประมาณ ๕๐ กว่าปีที่ผ่านมาแต่ยังสร้างไม่เสร็จนอก
จากนี้ยังมีเนินโบราณสถานอีก ๓ แห่งโบราณสถานกลุ่มนี้ประกอบด้วยเจดีย์ประธาน
ทรงระฆังมีฐานใหญ่ซ้อนกัน ๓ ชั้นตั้งอยู่หลังวิหารในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
นอกจากนี้ยังปรากฏวิหารอยู่ทางทิศเหนือของเจดีย์อีกหนึ่งฐานและใกล้จากนี้ไป
ทางทิศตะวันตกมีฐานวิหารอีกฐานหนึ่งตั้งอยู่นอกจากนี้กลุ่มโบราณสถานสถาน
ที่กล่าวมาแล้วนยังปรากฏเนินโบราณสถานนอกเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ใกล้กับเขตบ้านต้นกอกอีกหลายเนิน

ในปีงบประมาณ ๒๕๓๑ หน่วยศิลปกรที่ ๔ เชียงใหม่ได้ทำการขุดแต่งและบูรณะเจดีย์โบราณ
สถานกลางเมือง ๒ องค์คือเจดีย์แปดเหลี่ยมแบบหริภิญไชย๑องค์และเจดีย์ทรงกลม
แบบองค์เรือยธาตุอีก ๑ องค์ได้พบหลักฐานประเภทโบราณวัตถุจำนวนมาก
ทั้งเศษภาชนะดินเผาแบบหริภิญไชย พระพุทธรูปสำริดเป็นต้นอนึ่งหลักฐาน
ทางด้านโบราณวัตถุและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ซึ่งมีการบูรณะซ่อมแซมบ้างแล้ว
หลายครั้สามารถกำหนดอายุโบราณสถานดังกล่าวได้ว่าน่าจะมีอายุตั้งแต่สมัยหริภัญไชย
ตอยปลายลงมาถึงสมัยล้านนาตอนต้นประมาณพุธศตวรรษที่ ๑๘ ถึง พุทธสตวรรษที่ ๒๑-๒๒

เอกสารอ้างอิง : ประวัติเวียงท่ากาน
ภาพประกอบจาก cm108
ขอขอบคุณ http://www.chiangmai-thailand.net
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้