(มุมภาพไกลๆ เห็นรถถึบ)
ร.7 เสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ.2469
พิธีรับและขึ้นระวางสมโภชพระเศวตคชเดชน์ดิลก
ซุ้มโขลนทวางตั้งที่ประตูเมืองเชียงใหม่
รับช้างเผือกเข้าเมือง
(รูปที่ 2)
บริเวณหน้าห้างบอเนียว
ตกแต่งรับช้างเผือก
ที่จะเข้ามาทำพิธีที่ในตัวเมืองเชียงใหม่
ในอดีตชาวจีน พม่า และเงี้ยว (ไทยใหญ่)
ขออนุญาตจากเจ้าผู้ครองนครต่างๆ
ในหัวเมืองทางเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน
และลำปาง ให้เข้าไปตัดฟันไม้สักออกจากป่า
โดยเสียเงินค่า "ตอไม้" ให้แก่เจ้าผู้ครองนคร
หลังจากที่รัฐบาลไทย
ได้ตกลงทำสนธิสัญญาบาวริง (Bowring Treaty) เพื่อการติดต่อค้าขายกับอังกฤษ ใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ชาวอังกฤษ และคนในบังคับ ได้แก่ พม่า เงี้ยว
และมอญ ได้เข้ามาร่วมดำเนินกิจการ
ทำไม้สักมากขึ้น
บริษัทบริติช บอร์เนียว
(British Borneo Company,Ltd.)
เข้ามาเริ่มดำเนินกิจการป่าไม้ในประเทศไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๐๗ โดยรับซื้อไม้
จากพวกที่ทำไม้อยู่ก่อนแล้ว ในพ.ศ. ๒๔๒๕
กับตันแอช เอ็น แอน เดอร์เซน
(Captain H.N. Andersen) กัปตันเรือชาวเดนมาร์ก ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันเรือสำเภา
บรรทุกสินค้าระหว่างประเทศของไทย
ในรัชกาลที่ ๔ ชื่อเรือ "ทูลกระหม่อม"
ได้บรรทุกไม้สักจากไทย
ไปขายยังเมืองลิเวิอร์พูล (Liverpool)
ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก ปรากฏว่า
ไม้สักที่บรรทุกไปขายได้ราคาดีมาก
และหมดภายในเวลาอันรวดเร็ว
ได้กำไรมากกว่าร้อยละ ๑๐๐
ทำให้เป็นที่เลื่องลือกันในตลาดยุโรป
ถึงความงดงามของไม้สักชั้นดีจากเมืองไทย
จึงได้มีบริษัทต่างๆ ในยุโรปสั่งจองซื้อไม้สัก
จากประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
เรื่องจากเพจ เหนือฟ้า ปัญญาดี
ภาพที่มา : คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
ขอขอบคุณเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น