รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


บันทึกเมืองเชียงใหม่โดยปิแอร์ โอร์ต (ลีด)

  • 0 ตอบ
  • 1936 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
"ข้าพเจ้าไปพบเจ้าเมือง และ เจ้าผู้ครองนครผู้เฒ่า เจ้าเมืองพำนักอยู่ในคุ้มที่ปลูกด้วยไม้
ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
และ ออกมาต้อนรับข้าพเจ้าพร้อมด้วยลูกชาย
และเจ้านายอื่น ๆ อีก 2 องค์
เจ้าเมืองคะคั้นคะยอให้ข้าพเจ้ารับหอกไม้
ที่หุ้มด้วยเงิน 2 เล่ม
ซึ่งเป็นงานฝีมือของช่างพื้นเมือง

" จากหนังสือ ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง

ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางเยี่ยมหัวเมืองเหนือ
และตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน
ของนายปิแอร์ โอร์ต
ผู้ช่วยที่ปรึกษากฏหมายชาวเบลเยี่ยม
ที่ได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของภาคเหนือ
และ ประเทศสยาม ซึ่งพิษณุ จันทร์วิทัน
ได้แปลจากบันทึกต้นฉบับหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรุงบรัสเซลล์ ทำให้ทราบว่า ทำไมปิแอร์ โอร์ต
จึงมีความผูกพันกับประเทศสยาม และ เมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2439 ได้เกิดคดีสำคัญขึ้นที่เชียงใหม่ อันเป็นเรื่องที่เกือบจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสยาม กับ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ต้องได้รับความกระทบกระเทือน

เริ่มมาจากการที่นาย อี.วี.เคลเลตท์ รองกงศุลที่รัฐบาลสหรัฐส่งมาประจำอยู่ที่เชียงใหม่
เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของหมอชิก
หรือ นายแพทย์แดเนียล แมคกิลวารี
อดีตหมอสอนศาสนาชาวอเมริกัน
ซึ่งได้หันมาทำธุรกิจป่าไม้
และกำลังเป็นคดีความกับรัฐบาลสยาม
ได้ถูกทหารสยามทำร้ายร่างกาย
นายจอห์น บาเรตท์ ราชทูตสหรัฐในเมืองบางกอก
ได้ยื่นหนังสือขึ้นร้องต่อ
สมเด็จฯกรมหลวงเทววงศ์วโรปการ
เสนาบดีต่างประเทศ ขอให้พิจารณาสอบสวนคดีนี้โดยตั้งคณะอนุญาโตตุลาการผสม
ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายสหรัฐ และ ฝ่ายสยาม
ขึ้นพิจารณาคดี โดยทางฝ่ายสยาม
ได้แต่งตั้งนายปิแอร์ โอร์ต ผู้ช่วยที่ปรึกษากฏหมายเดินทางไปทำหน้าที่พิจารณาคดี
ร่วมกับนายจอห์น บาเรตท์ ราชทูตสหรัฐ
ที่เมืองเชียงใหม่
นายปิแอร์ โอร์ต และนายจอห์น บาเรตท์
ออกเดินทางจากบางกอก
เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2440
โดยทางเรือขึ้นมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา
ผ่านเมืองชัยนาท ปากน้ำโพขึ้นมาตามลำน้ำปิง
ผ่านกำแพงเพชร เมืองตาก
จนมาถึงเมืองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม
ปีเดียวกัน ทั้งสองได้ร่วมกันพิจารณาคดี
โดยเบิกพยานทั้งสองฝ่ายมาให้การ
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2440
จนกระทั่งถึงวันที่ 20 กันยายน
การพิจารณาคดีก็เสร็จสิ้นลง และได้ลงนาม
ในคำพิพากษาลงโทษทหารที่ทำร้าย
รองกงศุลสหรัฐลดหลั่นกัน ตามความเหมาะสม

หลังจากที่พิจารณาคดีนี้กำลังจะแล้วเสร็จ
นายปิแอร์ โอร์ต ก็ได้รับคำบัญชา
จากพระยาอภัยราชาให้ออกเดินทางไปเยี่ยม
หัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือและภาคอีสาน
ซึ่งสร้างความยินดีให้กับปิแอร์ เป็นอย่างมาก
ปิแอร์ โอร์ต ออกเดินทางไปเยี่ยมหัวเมืองต่าง ๆ
เริ่มจากเมืองลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ซึ่งขณะนั้นรวมเป็นมณฑลลาวเฉียง
ซึ่งการเดินทางในครั้งนั้นใช้เวลานานหลายเดือน โดยปิแอร์ ใช้วิธีการเดินทางด้วยการนั่งช้าง
ขี่ม้าและเดินเท้า เมื่อไปถึงเมืองใด
ปิแอร์ ก็จะหารือข้อราชการกับข้าหลวง
ถึงปัญหาต่าง ๆ ถ้าเรื่องไหนเห็นว่าสามารถแก้ไขได้
ก็จะแนะนำให้ข้าหลวงดำเนินการโดยทันที
หลังจากที่ออกเดินทางจากเมืองน่านแล้ว
ท่านได้เดินทางไปถึงเมืองปากสายริมแม่น้ำโขง
แล้วล่องแพไปตามลำน้ำจนถึงเมืองเวียงจันทน์
จากนั้นก็ใช้แพเดินทางล่องลงมา
จนถึงเมืองหนองคาย ผ่านเมืองหมากแข็ง
หรือ จังหวัดอุดรธานี จนมาถึงเมืองโคราช
ผ่านดงพญาไฟและมาขึ้นรถไฟที่หมู่บ้านหินลัง
ในเขตจังหวัดสระบุรี ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองบางกอก โดยปิแอร์ โอร์ต ใช้เวลาในการเดินทาง
เยี่ยมหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งหมดนานถึง 5 เดือนเต็ม

บันทึกของปิแอร์ โอร์ต
ในหนังสือล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง ได้เล่าถึงการเดินทางมาเชียงใหม่ ตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้าไปพบเจ้าเมือง และ เจ้าผู้ครองนครผู้เฒ่า เจ้าเมืองพำนักอยู่ในคุ้มที่ปลูกด้วยไม้
ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และ ออกมาต้อนรับข้าพเจ้าพร้อมด้วยลูกชายและเจ้านายอื่น ๆ อีก 2 องค์ เจ้าเมืองคะคั้นคะยอให้ข้าพเจ้ารับหอกไม้ที่หุ้มด้วยเงิน 2 เล่ม ซึ่งเป็นงานฝีมือของช่างพื้นเมือง"

นอกจากนั้นในบันทึกยังเขียนไว้อีกว่า

เมืองเชียงใหม่สมัยนั้น (พ.ศ.2440)
มีประชากรราว 5 หมื่นคน ลักษณะของเมือง
แบ่งเป็น 2 เขต แต่ละเขตมีกำแพงสูง 2 - 3 เมตร
และมีป้อมสูงที่แต่ละมุมกำแพง
ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำปิง มีสะพานไม้
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นสะพานแห่งแรก
ที่สร้างข้ามแม่น้ำปิง (บริเวณหน้าวัดเกตุ)
ทำด้วยไม้สัก ต่อมาได้พังลง
เนื่องจากถูกท่อนซุง
ที่ไหลมากับกระแสน้ำเชี่ยวพุ่งชน

อย่างไรก็ตามในบันทึกยังกล่าวถึงเมืองต่าง ๆ
ที่ท่านได้เดินทางผ่านไว้ในหลายแง่มุม
ซึ่งหากอยากทราบว่าท่านได้เดินทางไปเมืองไหน
พบเจออะไรบ้าง สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ
ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
ซึ่งแปลโดย พิษณุ จันทร์วิทัน

เรื่องจาก จักรพงษ์ คำบุญเรือง
jakrapong@chiangmainews.co.th. 23/4/53
29/4/2553
ที่มา
http://www.chiangmainews.co.th/read.php?id=16740
ภาพถ่ายชีวิตชาวเชียงใหม่ เมื่อร้อยปีก่อน
ฟิล์มกระจกของหลวงอนุสารสุนทร ที่ทรงคุณค่า
ภาพจากเพจอ. Songsak Prangwatanakun
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้