รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


พระยอดขุนพล พิมพ์ฉัตรทวน

  • 0 ตอบ
  • 7606 อ่าน
*

ออฟไลน์ นันทปัญญา

  • Newbie
  • *
  • 3
  • 2
  • อาณาจักรล้านนา
    • ดูรายละเอียด
พระยอดขุนพล พิมพ์ฉัตรทวน
« เมื่อ: กันยายน 18, 2016, 09:22:27 PM »
พระยอดขุนพลพิมพ์ฉัตรทวน ขุดพบจากบริเวณกรุศาลเจ้า (ตลาดลำไย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ บริเวณวัดร้างบ่อแก้ว หรือบ้านปิน  จังหวัดแพร่ พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา โดยจะพบทั้งที่มีการลงรักปิดทองและส่วนที่ไม่ได้ลงรักปิดทองก็มี นอกจากนี้ยังพบที่เป็นเนื้อว่านอีกด้วย ศิลปะที่เห็นเป็นศิลปะแบบเดียวกับพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งเป็นสกุลช่างล้านนา สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช มหาราชกษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่ ราชวงศ์มังรายพระองค์ที่เก้า เนื่องจากในรัชสมัยนี้รุ่งเรืองทั้งด้านพระพุทธศาสนา สังคยานาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ณ เมืองเชียงใหม่ และมีแสนยานุภาพทางการทหารจนเลื่องลือไปเหนือจรดใต้ ถึงแผ่นดินจีนในพงศาวดารและจารึกวัดจุฬามณีในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุศรีอยุธยา เรียกกษัตริย์เมืองเอกราช สามเมืองที่ส่งอัฐบริขารไปร่วมงานผนวชของพระองค์ที่วัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลกไว้ต่างกัน คือ เรียกกษัตริย์เมืองหงสาวดี ว่า พญาหงสาวดี เรียกกษัตริย์ลาว ว่าพญาล้านช้าง แต่เรียกกษัตริย์เมืองเชียงใหม่ (พระเจ้าติโลกราช) ว่า มหาราชเมืองเชียงใหม่ อีกประการหนึ่งก็ด้วยเพราะในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชนั้น ฮ่องเต้ จักรพรรดิจีน แห่งราชวงศ์หมิง และทรงให้ราชสมญานามพระเจ้าติโลกราชว่า"ราชาผู้พิชิต", "ราชาแห่งทิศตะวันตก" ทรงพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราพระราชลัญจกร พระสุพรรณบัตร เครื่องประกอบเกียรติยศ (ซึ่งก็หมายถึงเครื่องสูงสำหรับพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในพระพิมพ์นี้นี่เอง จริงๆแล้วน่าจะเรียกว่าพระพิมพ์นี้ว่า “พระพิมพ์มหาราช” เสียด้วยซ้ำ) อีกทั้งในรัชสมัยนี้ได้ผนวกเอาเมืองแพร่ เมืองน่าน เข้าไว้ในอำนาจของอาณาจักรล้านนาได้สำเร็จ เป็นที่มาของการพบพระเครื่องพิมพ์นี้ในวัดร้างบ่อแก้ว บ้านปิน จังหวัดแพร่ อีกแห่งหนึ่ง
พุทธลักษณะของพระยอดขุนพลฉัตรทวนนั้นจะเป็นพระนั่งปางมารวิชัย ปรากฏรายละเอียดของพระพักตร์ชัดเจน การวางพระกรแบบแขนอ่อนวางพระหัตถ์อยู่นอกเข่า ซึ่งมักจะเรียกว่าเข่าใน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของเครื่องประกอบเป็นฉัตร และบังสูรย์ ประกอบด้านซ้ายและด้านขวา ล้วนเป็นเครื่องสูง ซึ่งจะใช้เฉพาะกับองค์กษัตริย์เท่านั้น
พระเครื่องชนิดนี้มีขนาดค่อนข้างเขื่องคือมีความกว้างประมาณ 4-4.3 ซ.ม. สูงประมาณ 5.5-6.2 ซ.ม. พุทธคุณนั้นว่ากันว่าเด่นทางด้านอยู่คงและแคล้วคลาดศัสตราวุธ ซึ่งเคยปรากฏว่า มีผู้ใช้พระเครื่องชนิดนี้ได้ถูกทหารลาดตระเวนฝั่งพม่า กราดยิงด้วยอาวุธสงคราม ซึ่งผู้ที่ถูกยิงนั้นได้เข้าไปตัดไม้ในฝั่งพม่า เขาได้เล่าเหตุการณ์ว่าได้ยินเสียงลูกปืนวิ่งฝ่าอากาศเฉียดหัวหูและแข้งขา จนหน้าแข้งรู้สึกร้อนไปหมดแต่ไม่มีกระสุนนัดใดยิงโดนเลย แสดงถึงคุณวิเศษด้านแคล้วคลาดอย่างยิ่งของพระเครื่องพิมพ์นี้ บางรายได้ประสบอุบัติเหตุจนกางเกงยีนฉีกขาด แต่ไม่ปรากฏว่าจะได้เลือดเลยสักหยด และยังปรากฏว่ามีผู้ได้รับพระเครื่องพิมพ์นี้ไปจากเจ้าอาวาส ซึ่งมีวัดอยู่บริเวณใกล้เคียงกับสถานที่แตกกรุ ท่านได้มอบให้คน 2 คนที่เดินทางมาจากภาคกลางเมื่อคราวที่ได้ทราบข่าวการแตกกรุพระกรุนี้ไปบูชาติดตัว ปรากฏว่าภายหลังบุคคลทั้งสองท่านนี้ได้เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพถึงระดับจอมพลทั้งสองคน ทำให้ได้พระเครื่องชนิดนี้ชื่อว่า พระยอดขุนพล ตั้งแต่บัดนั้น  และทำให้ไม่ค่อยพบเจอพระพิมพ์นี้ง่ายๆ เพราะผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองต่างนิยมเก็บไว้บูชาติดตัวไม่ต่างจากพระร่วงรางปืน พระยอดขุนพลพิมพ์ฉัตรทวน นับเป็นพระเครื่องศิลปะล้านนาที่สวยงามมากและมีคุณวิเศษที่ครอบจักรวาลทีเดียว ควรค่าแก่การเก็บรักษาเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่ลูกหลานสืบต่อไป