รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


เวียงกุมกาม

  • 1 ตอบ
  • 5241 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
เวียงกุมกาม
« เมื่อ: มกราคม 02, 2012, 04:36:21 PM »
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=bflVwdMTlbk" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=bflVwdMTlbk</a>

เวียงกุมกาม

เวียงกุมกามคือชื่อของ เวียงโบราณแห่งหนึ่ง บนแอ่งที่ราบ เชียงใหม่-ลำพูน มีความสัมพันธ์ กับอาณาจักรหริภุญไชยในฐานะชุมชนโบราณแห่งหนึ่ง ที่ขยายตัวเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรล้านนาในเวลาต่อมา สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1837 ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตก ของเมืองเชียงใหม่ ในเขต ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันยังคงปรากฎหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรม และโบราณคดี จำนวนมากมาย

เวียงกุมกามสร้างก่อนเชียงใหม่ต้องมีอายุมากกว่า 700 ปี และไม่มีหลักฐานร่วมสมัยยืนยัน เอกสารที่เขียนสมัยราชวงค์มังรายเช่นชินกาลมาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ล้วนเขียนหลังสมัยหลายปีจึงระบุปีที่สร้างเวียงกุมกามต่างกัน แต่กุญแจสำคัญคือเวียงกุมกามสร้างหลังพญามังราย ยึดเมืองหริภุญไชยได้แล้ว
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
Re: เวียงกุมกาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 26, 2012, 10:11:00 AM »
เวียงกุมกาม นครโบราณใต้พิภพ นครต้นแบบของนครเชียงใหม่

เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณ ที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ
พ.ศ. ๑๘๒๙ โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง ๔ ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้
ในคูเมืองโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียง เป็นเวียง (เมือง)
ทดลองที่สร้างขึ้น ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี
จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณ ๕ กิโลเมตร

การสถาปนา

หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุณชัย (ลำพูน) อยู่ ๒ ปี
พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ
เวียงกุมกาม แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี
จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย นั่นก็คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่ง สุโขทัย และ
พญางำเมือง แห่ง พะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่
ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่

และเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้น
เป็นเมืองที่ทดลองสร้าง

การล่มสลาย

เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ โดยช่วงเวลานี้อยู่ในช่วงระหว่างปี
พ.ศ. ๒๑๐๑ - ๒๓๑๗ ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา
พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี
แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วม
ครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมากและสมควรที่จะบันทึกไว้
แต่ก็ไม่มีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ใดเลย
ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา
สภาพวัดต่างๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ดินในระดับ
ความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ ๑.๕๐ - ๒.๐๐เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือ
วัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และ วัดกู่ป่าด้อม

การขุดค้นพบ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการ
และประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ ๔ ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง
(ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง
พ.ศ. ๒๕๔๕ ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่ง
ของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์
และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและ
ศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆ
ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ

ที่ตั้ง และ ลักษณะ

เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ ๘๕๐ เมตร
ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ ๖๐๐ เมตร
ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสาย เดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง
ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียว กับเมืองเชียงใหม่
แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง
จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน
ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกระแสน้ำดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓
การเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย
และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จนกลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด

อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า
อีกหนึ่งสมมติฐานที่เวียงกุมกามถูกทิ้งร้างนั้นอาจเป็นได้ว่าเกิดสงคราม
ระหว่างล้านนากับพม่าทำให้ผู้คนหลบหนีออกจากเมืองไปก็เป็นได้
ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ ๓-๔
ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี
และอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง


สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ของเวียงกุมกามตั้งอยู่บริเวณแอ่งที่ราบ เชียงใหม่-ลำพูน
มีแม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญ โดยมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
บริเวณแอ่งที่ราบแห่งนี้ซึ่งเป็นที่ราบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือตอนบน
เป็นที่ราบระหว่างภูเขา มีอาณาบริเวณครอบคลุมเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูนรวม ๑๓ อำเภอ
(โดย ๑๐ อำเภออยู่ในจังหวัดเชียใหม่คือ แม่แตง แม่ริม สันทราย ดอยสะเก็ด สันกำแพง เมือง
สารภี หางดง สันป่าตอง และจอมทอง

และอีก ๓ อำเภออยู่ในจังหวัดลำพูนคือ เมือง (ลำพูน) ป่าซาง และบ้านโฮ่ง)
โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ ๙๔๐,๐๐๐ ไร่
สถานที่สำคัญ จากการสำรวจพบว่ามีอยู่มากกว่า ๔๐ แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน
และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม
วัดช้างค้ำ และ ซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว
วัดอีค่างซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและสมัยเชียงใหม่
รุ่งเรืองปะปนกันไป

โดยเฉพาะที่วัดธาตุขาวนั้น มีเรื่องเล่าของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย พระมเหสีของพญามังราย
พระนางได้มาบวชชีที่นี่ แล้วก็ได้สิ้นพระชนม์ที่นี่ด้วย
สาเหตุก็คือพญามังรายได้มีพระมเหสีพระองค์ใหม่ เมื่อครั้งยกทัพไปตีพม่า
พม่ายอมสวามิภักดิ์และถวายพระธิดาปายโคมาเป็นมเหสี
แต่สิ่งนี้ทำให้พระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทรงเสียพระทัยมาก เนื่องจากพระนาง และ พญามังราย
ได้เคยสาบานกันในขณะที่พำนักอยู่ในเมืองเชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียงแค่พระองค์เดียว
พระนางจึงเสียพระทัยมาก จึงตัดสินใจไปบวชชี และ ยังมีเรื่องอีกว่า
สาเหตุที่พญามังรายสวรรคตต้องอสนีบาตในระหว่างที่ทรงเสด็จไปตลาดนั้น ก็เพราะสาเหตุ
ที่พระองค์ทรงผิดคำสาบาญ

โบราณสถานในเวียงกุมกาม

* วัดเจดีย์เหลี่ยม หลังจากที่หน่วยกรมศิลปากรที่ ๔
เชียงใหม่ได้ไปทำการขุดค้นหาซากเมืองและโบราณสถานเพิ่มเติม ก็ได้ค้นพบเจอวัดต่างๆ
ที่จมอยู่ใต้พื้นดินเป็นจำนวนหลายวัดอีกดังต่อไปนี้

* วัดกานโถม (ช้างค้ำ) พญามังรายได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๓
ประกอบด้วยฐานเจดีย์ฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๘ เมตร มีซุ้มคูหาสี่ทิศ
มีการใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็น ๒ ชั้น (ชั้นล่าง- มีพระพุทธรูปนั่ง ๔ องค์
ชั้นบน- มีพระพุทธรูปยืน ๒ องค์) วิหารและเจดีย์ทรงมณฑปบนฐานลานประทักษิณเตี้ย
บริเวณฐานวิหารพบพระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชยฝังไว้โดยรอบ
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์อีก ๑ องค์ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดระฆัง
ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกามาไว้ด้วย

* วัดปู่เปี้ย ถือเป็นวัดที่มีความงดงามแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม รูปแบบผังการสร้างวัด
และรูปแบบเจดีย์ประธานมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
โบราณสถานประกอบด้วยวิหารสร้างยกพื้นสูง เจดีย์ อุโบสถ ศาลผีเสื้อ และแท่นบูชา
พร้อมทั้งมีลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ที่สวยงามมาก

* วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ
พญามังรายทรงโปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๑ โบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ
องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด ๕ ชั้น วัดนี้มีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง
และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย
โดยที่พญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรกๆ

* วัดอีก้าง (วัดอีค่าง) ที่เรียกว่าวัดอีค่างหรืออีก้างนั้นเพราะเดิมบริเวณวัดเป็นป่ารกร้าง
และมีฝูงลิงฝูงค่างใช้ซากวัดแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ?อีก้าง?
โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน
วิหารมีขนาดใหญ่ ๒๐ x ๑๓.๕๐ เมตร เจดีย์เป็นแบบองค์ระฆังทรงกลม

* วัดพระธาตุขาว (วัดธาตุขาว)
ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาวเนื่องมาจากแต่เดิมนั้นตัวเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาวนั่นเอง
โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์ อุโบสถ และมณฑป โดยมีการก่อสร้างขึ้นมา ๒ ระยะคือ
ระยะแรกก่อสร้างเพียงเจดีย์ วิหาร อุโบสถ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงต่อเติมฐานเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น
ระยะที่สองมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป

* วัดพระเจ้าองค์ดำ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกาม
โดยอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนมีการขุดแต่งนั้นเป็นสวนลำไย
มีพื้นที่เป็นเนินดิน ๒ แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า เนินพญามังราย และเนินพระเจ้าดำ
และสันนิษฐานว่าที่เรียกวัดพระเจ้าองค์ดำนี้ เพราะวัดแห่งนี้เคยมีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานอยู่
โบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นวิหารหลายหลัง มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพง
ถัดจากซุ้มโขงเข้ามามีวิหารและเจดีย์

* วัดพญามังราย ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อวัดพญามังรายนี้เป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นมาใหม่โดยกรมศิลปากร
เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้
แต่เมื่อพิจารณาจากการที่เห็นว่าตั้งอยู่ใกล้วัดพระเจ้าองค์ดำมากที่สุดจนดู เหมือนเป็นวัดเดียวกัน
เอกลักษณ์ของวัดนี้อยู่ที่การสร้างพระวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้านหน้า
แต่สร้างไว้ที่ด้านซ้าย (กรณีที่หันหน้าไปทางหน้าวัด)
ในส่วนพระเจดีย์พบร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้

* วัดหัวหนอง ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ
ภายในประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์
มีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน สิงห์ หงส์ที่มีความงดงาม

* วัดกุมกาม ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม
สิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

* วัดน้อย (วัดธาตุน้อย) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดกานโถม
ก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินสองแห่ง มีชาวบ้านเข้ามาปลูกบ้านอาศัยบนโบราณสถานแห่งนี้
และยังพบร่องรอยกสารขุดหาทรัพย์สินด้วย โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์
วิหารตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและด้านข้าง ๑ แห่ง พื้นวิหารปูอิฐ
ด้านหลังวิหารเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธานปูนปั้น เจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ขนาด ๑๓.๓๕ x ๑๓.๓๕ เมตร สูง ๑.๖๔ เมตร ต่อขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ๖.๒๐ x ๖.๒๐ เมตร ลักษณะเจดีย์มีฐานใหญ่แต่องค์เจดีย์เล็ก

* วัดไม้ซ้ง ตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ภายในเวียงกุมกาม บริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา
สถาพก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าไม้ซ้งอยู่
(เป็นที่มาของชื่อวัด) โบราณสถาน ประกอบด้วยวิหารเจดีย์แปดเหลี่ยม
และฐานซุ้มประตูโขงพร้อมกำแพง

* วัดกู่ขาว ตั้งอยู่ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สภาพรอบๆ วัดก่อนการขุดแต่งพบเจดีย์มีความสูงประมาณ ๕ เมตร และรอบๆ
องค์เจดีย์เป็นเนินดิน หลังจากขุดลอกดินที่ทับถมอยู่ได้พบโบราณสถาน ๓ แห่งคือ
กำแพงแก้วและซุ้มประตูอยู่หลังเจดีย์, เจดีย์ประธานเป็นศิลปะล้านนา
เรือนธาตุมีลักษณะสูงก่อทึบตันทั้ง ๔ ด้าน (ไม่ทำซุ้มพระ)
ส่วนยอดเจดีย์เป็นฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆัง และวิหารที่มีมุมฐานบัวลูกแก้ว
ฐานชุกชีเดิม และลายกลีบบัว

* วัดกู่ป่าด้อม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเวียงกุมกาม
ชื่อของวัดนี้ได้ตั้งชื่อตามเจ้าของที่ดิน โบราณสถานของวัดมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย
วิหารฐานใหญ่ มีบันไดทางขึ้นวิหาร มีราวบันไดด้านปลายเป็นรูปตัวเหงา
ส่วนเจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น มีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน
กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒

* วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนอกเวียงกุมกาม
โบราณสถานประกอบด้วยวิหารซึ่งเหลือเพียงฐาน และเจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

* วัดกู่อ้ายหลาน เป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม
ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน
โบราณสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก

* วัดกู่อ้ายสี เป็นวัดขนาดเล็ก โบราณสถานประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน
และแท่นบูชา

* วัดกู่มะเกลือ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก
เรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้นบนโบราณสถาน หลังจากทำการขุดลอกดินออกแล้ว
พบเจดีย์และวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกันและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

* วัดกู่ลิดไม้ ตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านใต้ วัดนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรีกกันเนื่องจากมี
ต้นเพกา (ต้นลิดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัด โบราณสถานประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เจดีย์ด้านหลังวิหารเหลือเพียงฐาน และเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มประตูโขงและกำแพงแก้ว

* วัดกู่จ๊อกป๊อก ตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงกุมกามทางทิศตะวันออกฉียงใต้
โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน

* วัดหนานช้าง ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน ด้านหน้าของวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปิง
ซุ้มโขงมีลายปูนปั้นประดับเล็กน้อย ถัดจากซุ้มโขงลงไปมีทางเดินและมีวิหาร
ซึ่งที่ฐานพระประธานมีลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น
เรือนธาตุได้พังเสียหายไปแล้ว เยื้องกับเจดีย์เป็นมณฑป ถัดไปเป็นอุโบสถ

* วัดเสาหิน ตั้งอยู่เขตท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราว ของวัดนี้ในอดีต

* วัดหนองผึ้ง ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี
จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่
หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นวัดดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย
มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุประเภทพิมพ์แบบลำพูน สิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้คือ
วิหารพระนอน เป็นองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว ๓๘ ศอก (๓๙ เมตร)

* วัดศรีบุญเรือง ตั้งอยู่เขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชีงใหม่
เป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่

* วัดข่อยสามต้น อยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม
ชื่อวัดนี้ตั้งตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน ๓ ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด
และไม่ปรากฏความเป็นมาในเอกสารและตัวแทนทางประวัติศาสตร์

* วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
เป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า ?พัน?
นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง
ที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ ?เลา?
ตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ
สภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป
และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร
และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน
และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา

คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

       

ที่มาเนื้อหา/เอกสารอ้างอิง

สรัสวดี อ๋องสกุล, เวียงกุมกาม : การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา
นพคุณ ตันติกุล, เวียงกุมกาม
จักรกริช พิสูจน์, เวียงกุมกาม

ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://www.chiangmai-thailand.net
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้