รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


รายพระนาม นาม เหล่าพระประยูรญาติ และ เชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ (เฉพาะบางพระองค์/ท

  • 0 ตอบ
  • 3717 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 675
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
พระอัครชายา เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา (ศิริรจนา) ๓_๕ พระอัครชายาใน "สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ," ทรงเป็นราชขนิษฐาใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑"; ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่าง พระบรมราชจักรีวงศ์ และเจ้านายฝ่ายเหนือ ตั้งแต่ระยะต้นของกรุงรัตนโกสินทร์, เมื่อ "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" ได้ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระอนุชาฯ ขึ้นที่ "สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ" โปรดเกล้าฯ สถาปนา เจ้าหญิงศรีอโนชา (ศิริรจนา) ขึ้นที่ "พระอัครชายา เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา" และโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระธิดาในทั้งสองพระองค์เป็น "พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร"; และด้วยความเป็นสายพระญาติที่ใกล้ชิด และทรงประจักษ์ต่อความจงรักภักดีของเจ้านายฝ่ายเหนือต่อพระบรมราชจักรีวงศ์แล้ว ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนา "เจ้ากาวิละ, เจ้าเมืองเชียงใหม่" พระเชษฐาใน พระอัครชายาฯ ขึ้นที่ "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละฯ พระเจ้าประเทศราช" เป็นใหญ่ใน ๕๗ หัวเมืองฝ่ายเหนือ

เจ้าอุปราช หมูหล้า, เจ้าอุปราชนครลำปาง ๓_๖ ราชโอรสองค์ที่ ๗ ใน "เจ้าฟ้าสิงหราชธานี ชายแก้ว"; เป็นราชโอรสองค์เดียวที่มิได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครใดเลย; เจ้าอุปราชฯ เป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านายพี่น้อง (ชาย) ที่ร่วมกันกอบกู้ล้านนา อันเป็นที่มาแห่งการเรียกขานว่า "เจ้าเจ็ดตน (องค์)"

เจ้าบุรีรัตน์ น้อยกาวิละ, เจ้าบุรีรัตน์นครเชียงใหม่ ๓_๑๐ โอรสใน "เจ้าพ่อเรือน" ผู้เป็นราชอนุชาใน "เจ้าฟ้าสิงหราชธานี ชายแก้ว"; เป็นราชอนุชาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔"; เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ เชียงใหม่) สิโรรส" ชายาใน "เจ้ามหาพรหม สิโรรส" โอรสใน "เจ้าฟ้าเมืองสาม, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ ๑"; นับเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีครั้งสำคัญระหว่างราชวงศ์ "ทิพย์จักราธิวงศ์" กับ "ราชวงศ์เม็งราย"; เจ้านายผู้สืบสายวงศ์ของท่าน ได้เสกสมรสและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสองต่อมาตามลำดับ อาทิเช่น "เจ้าหนานไชยวงศ์ สิโรรส" สมรสกับ "เจ้าหญิงฟองสมุทร, ราชธิดาใน เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓", "เจ้าหญิงสุมนา (สิโรรส) ณ เชียงใหม่" สมรสกับ "เจ้าราชบุตร หนานสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่" โอรสใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"

เจ้าราชวงศ์ คำมูล, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ ๓_๑๑ โอรสใน "เจ้าพ่อเรือน" ราชอนุชาใน "เจ้าฟ้าสิงหราชธานี ชายแก้ว"; เป็นราชอนุชาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔"; และเป็นเจ้าตาใน "แม่เจ้าเฮือนคำ" ชายาใน "เจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗"

เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง กรมขุนศรีสุนทร ๔_๕ พระธิดาพระองค์ใหญ่ พระองค์เดียวใน "สมเด็จบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ" กับ "พระอัครชายา เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา", ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช" ให้ทรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น พระเจ้าหลานเธอ ชั้น "เจ้าฟ้า" และทรง "กรมขุน" เป็นกรณีพิเศษเพียงพระองค์เดียว ในจำนวนพระโอรส พระธิดารวม ๔๓ พระองค์ใน "สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท" แม้แต่ "พระองค์เจ้าหญิงอัมพุชฉัตร", "พระองค์เจ้าหญิงปุก", "พระองค์เจ้าหญิงวงศ์มาลา" พระธิดาใน "สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาถ" ที่ประสูติกับ "เจ้าจอมมารดา นักองค์อี" และ "เจ้าจอมมารดา นักองค์เภา" ผู้เป็นราชธิดาใน "พระเจ้ากัมพูชา" ก็มิได้โปรดเกล้าฯ แต่ประการใด พระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ได้แสดงให้ประจักษ์ถึงความสนิทเสน่หาของพระองค์ต่อพระญาติเจ้านายฝ่ายเหนือราชวงศ์ "ทิพจิกราธิวงศ์" ได้อย่างดียิ่ง

เจ้าราชบุตร น้อยสุริยฆาฏ, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ๔_๑ ราชโอรสองค์ที่ ๑ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑"; เป็นเจ้าปู่ใน "แม่เจ้าจามรี, เทวีใน พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙"

เจ้าอุปราช น้อยหน่อคำ, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ๔_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๔ ใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒" สมรสกับ "เจ้าหญิงบุนนาค" นัดดา (หลานปู่) ใน "เจ้าบุรีรัตน์ น้อยกาวิละ", ผู้เป็นราชอนุชาใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔"; เป็นเจ้าปู่ใน "พันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่"

เจ้าอุปราช พิมพิสาร, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ๔_๗ ราชโอรสองค์ที่ ๓ ใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"; เป็นแม่ทัพผู้พิชิตเมืองยองด้วยวิธีเกลี้ยกล่อม และเคยออกรบร่วมกับ "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕" ครั้งยังเป็น เจ้าอุปราช สามารถตีเมืองปุ เมืองสาตร และเมืองต่วนได้ภายใน ๖๐ วัน; หากไม่ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน จะได้ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖

เจ้าบุรีรัตน์ ภูเกียง, เจ้าบุรีรัตน์เมืองเชียงราย ๔_๗ ราชโอรสองค์ที่ ๒๕ ใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"; รับราชการสนองเจ้าบิดา และ "เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔" โดยได้กระทำศึกกับแคว้นฉานพม่าหลายครั้งหลายครา; เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้าหลวง หนานสุยะ, พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย" และเป็นเจ้าปู่ใน "เจ้าบุรีรัตน์ พรหมเทศ ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์นครลำพูน"

เจ้าหลวง ธรรมลังกา, พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย ๔_๗ ราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"; เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้าอุปราช คำตาด ณ ลำพูน, เจ้าอุปราชเมืองเชียงราย"; เป็นเจ้าหลวงเมืองเชียงราย องค์ที่ ๑

เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่ ๔_๗ ราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓; เป็นราชบิดาใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"; เป็นพระอัยกา (เจ้าปู่) ใน "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี"

เจ้าหลวง คำแสน, พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย ๔_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๓ ใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒"

เจ้าหลวง อินทวิไชย, เจ้าเมืองเชียงแสน ๔_๘ ราชโอรสใน "พระเจ้าบุญมาเมือง, พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๒"; เป็นต้นสกุล "เชื้อเจ็ดตน" แห่ง เมืองเชียงราย และเมืองเชียงแสน

เจ้าราชบุตร หนานธนัญไชย, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ๔_๙ ราชโอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าหลวงพุทธวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๔"

แม่เจ้าอุษา (ณ เชียงใหม่) ๕_๓ เทวีใน "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖" ผู้เป็นราชโอรสใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑; เป็นราชธิดาใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕" ผู้เป็นราชโอรส องค์ที่ ๒ ใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒; แม่เจ้าอุษาฯ เป็นเจ้ามารดาใน "แม่เจ้าทิพไกรสร" เทวีใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗" และเป็นพระอัยยิกา (เจ้ายาย) ใน "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี"

แม่เจ้าทิพไกรสร (ณ เชียงใหม่) ๕_๑ (๖_๓) เทวีใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"; เป็นราชธิดาใน "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖" และเป็นพระมารดาใน "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี"; ทรงมีพระนิสัยเฉียบขาดเยี่ยงพระบิดา ได้บัญชาให้ประหารชีวิตพระญาติสาย "ณ ลำพูน" ที่กระทำการอุกอาจแทงช้างพระที่นั่งพระสวามีของพระองค์ด้วยความคะนอง

แม่เจ้ารินคำ (ณ เชียงใหม่) ๕_๗ เทวีใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"; เป็นราชธิดาใน "เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖"; และเป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘"

แม่เจ้าเมืองชื่น (ณ ลำปาง) ๕_๒ เทวีใน "พลโทเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๐ (๑๓)", เป็นราชธิดาใน "เจ้าหลวงวรญาณรังษี, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๖ (๙)" และเป็นเจ้ายายใน "เจ้าหญิงทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง" ชายาใน "เจ้าฟ้าพรหมลือ, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง"

เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่ ๕_๑ โอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าราชบุตร น้อยสุริยฆาฏ, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่" ซึ่งเป็น ราชโอรสองค์โตใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑"; เป็นเจ้าบิดาใน "แม่เจ้าจามรี, ชายาพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙"

เจ้าอุปราช น้อยปัญญา ณ เชียงใหม่, เจ้าอุปราชเมืองเชียงแสน ๕_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๙ ใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"

เจ้าหญิงยอดเรือน (ณ เชียงใหม่) ณ ลำพูน ๕_๓ ราชธิดาใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕" สมรสกับ "เจ้าบุรีรัตน์ มหาเทพ ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์นครลำพูน"

เจ้าหลวง หนานมหาเทพ ณ เชียงใหม่, พระยามหิทธิวงศา เจ้าเมืองฝาง ๕_๓ โอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าหญิงศรีปิมปา" ผู้เป็นราชธิดาองค์ที่ ๑ ใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒"

เจ้าอุตรการโกศล น้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่, เจ้าอุตรการโกศลนครเชียงใหม่ ๕_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๑ ใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"; เป็นแม่ทัพสำคัญของเชียงใหม่ในการนำทัพเข้าทำการรบกับเมืองเชียงตุง ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ภายหลังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ถวายงานอยู่ในราชสำนักกรุงเทพฯ; เป็นเจ้าตาใน "เจ้าจอมมารดา เจ้าทิพเกษร"

เจ้าราชบุตร หนานสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ๕_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕" ;เป็นเจ้าตาใน "เจ้าหญิงบัวผัน (ณ เชียงใหม่) สิโรรส" กับ "เจ้าหญิงฟองแก้ว (ณ เชียงใหม่) มาลากุล"

เจ้าหลวง น้อยมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่, พระยามหิทธิวงศา เจ้าเมืองฝาง ๕_๓ ราชโอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าหญิงบุญปั๋น" ผู้เป็นราชธิดาใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒"

เจ้าราชภาติกวงศ์ จันทราชา ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่ ๕_๓ (๖_๑๐) โอรสองค์ที่ ๔ ใน "เจ้าอุปราช น้อยหน่อคำ ณ เชียงใหม่, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่" เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้าทักษิณนิเกตน์ น้อยหมู ณ เชียงใหม่, เจ้าทักษิณนิเกตน์นครเชียงใหม่"

เจ้าอุปราช บุญทวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ ๕_๗ โอรสองค์ที่ ๒ ใน "เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่" ผู้เป็นราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"; เจ้าอุปราชฯ เป็นราชอนุชาใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"; มีบทบาทในการปกครองมาก บางครั้งมีอำนาจเหนือเจ้าหลวง เพราะสามารถลบล้างคำสั่งเจ้าหลวงได้ถ้าท่านไม่เห็นด้วย

เจ้าราชภาติกวงศ์ น้อยเทพวัง ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่ ๕_๗ โอรสองค์ที่ ๓ ใน "เจ้าราชวงศ์ มหาพรหมคำคง, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่" ผู้เป็นราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"; สมรสกับ "เจ้าหญิงบัวเพ็ชร ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นธิดาใน "เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"; เจ้าราชภาติกวงศ์ฯ เป็นราชอนุชาใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"

เจ้าอุปราช คำตาด ณ ลำพูน, เจ้าอุปราชเมืองเชียงราย ๕_๗ โอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าหลวง ธรรมลังกา, พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย" ผู้เป็นราชโอรสใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓"

เจ้าราชบุตร น้อยพิมมะสาร ณ ลำพูน, เจ้าราชบุตรนครลำพูน ๕_๗ ราชโอรสใน "เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖"

เจ้าหลวง สุยะ ณ ลำพูน, พระยารัตนเขตต์ เจ้าเมืองเชียงราย ๕_๗ โอรสองค์ที่ ๑ ใน "เจ้าบุรีรัตน์ ภูเกียง ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์เมืองเชียงราย"; สมรสกับ "เจ้าหญิงแก้วยวงคำ (ณ เชียงใหม่) ณ ลำพูน" ผู้เป็นราชธิดาใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒"

เจ้าหญิงเรือนคำ (สิโรรส) ณ เชียงใหม่ ๕_๑๐ ธิดาใน "เจ้ามหาพรหม สิโรรส" ผู้เป็นราชโอรสใน "เจ้าฟ้าเมืองสาม, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง" กับ "เจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ เชียงใหม่) สิโรรส"; สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"

เจ้าหญิงสุมนา (สิโรรส) ณ เชียงใหม่ ๕_๑๐ ธิดาใน "เจ้ามหาพรหม สิโรรส" ผู้เป็นราชโอรสใน "เจ้าฟ้าเมืองสาม, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง" กับ "เจ้าหญิงศรีแก้ว (ณ เชียงใหม่) สิโรรส"; สมรสกับ "เจ้าราชบุตร หนานสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่" ผู้เป็นราชโอรสใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"

เจ้าราชบุตร น้อยพุทธวงศ์ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่ ๕_๑๑ โอรสใน "เจ้าน้อยมหาวงศ์ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นโอรสใน "เจ้าราชวงศ์คำมูล, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่" กับ "เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นราชธิดาใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"

เจ้าทักษิณนิเกตน์ หนานมหายศ ณ เชียงใหม่, เจ้าทักษิณนิเกตน์นครเชียงใหม่ ๕_๑๑ โอรสใน "เจ้าน้อยมหาพรหม ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นโอรสใน "เจ้าราชวงศ์คำมูล, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่"

พระราชชายา เจ้าดารารัศมี (ณ เชียงใหม่) ๖_๑ (๗_๓) (๖_๗) พระมเหสีเจ้าลำดับที่ ๕ ใน "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"; ราชธิดาใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗" กับ "แม่เจ้าทิพไกรสร" ผู้เป็นราชธิดาใน "พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๖"; ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรวมล้านนาเข้ากับสยามดังปัจจุบัน ก่อนเข้าเสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งสหราชอาณาจักร ได้ส่งราชทูตมาทูลขอพระองค์ไปเป็นพระธิดาบุญธรรม ด้วยหมายรวมล้านนาเข้าในเครือจักรภพ (พระประวัติเพิ่มเติม)
เจ้าจอมมารดา เจ้าทิพเกษร (ณ เชียงใหม่) ๖_๑ (๗_๓) (๖_๗) เจ้าจอมมารดาใน "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"; ธิดาใน "เจ้าสุริยะ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน "พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑" กับ "เจ้าหญิงสุวรรณา ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน "พระเจ้ามโหตรประเทศ, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๕"; เป็นเจ้ามารดาใน "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี"

แม่เจ้าหม่อมราชวงศ์หญิง รถแก้ว (อิสรเสนา) ๖_๗ ส. เทวีใน "เจ้าหลวงอินทยงยศโชติ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๙"; เป็นเจ้ามารดาใน "พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐"; แม่เจ้าฯ เป็นพระนัดดา (หลานปู่) ใน "พระองค์เจ้าพงศ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช" ผู้เป็นพระโอรสใน "สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์"

แม่เจ้าปิมปา (ณ เชียงใหม่) ๖_๑ เทวีใน "เจ้าฟ้าแสนหวี, เจ้าเทพดำรงค์รักษาเขต เจ้าเมืองขุนยวม"; เป็นธิดาใน "เจ้าหญิงปินตอง ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นธิดาใน "เจ้าราชบุตร น้อยสุริยฆาต, เจ้าราชบุตรนครเชียงใหม่"; เป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าหญิงทิพวัน (ณ เชียงใหม่) กฤดากร" ชายาใน "พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรเดช"

เจ้าไชยสงคราม น้อยโท่น ณ ลำปาง, เจ้าไชยสงครามนครลำปาง ๖_๒ ราชโอรส องค์ที่ ๑๔ ใน "เจ้านรนันท์ไชยชวลิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๙ (๑๒)"

เจ้าหญิงบัวเทพ (ณ ลำปาง) ณ ลำพูน ๖_๒ ราชธิดา องค์ที่ ๑๗ ใน "เจ้านรนันท์ไชยชวลิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๙ (๑๒)" สมรสกับ "เจ้าหนานบุญปั๋น ณ ลำพูน"; เป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าหญิงสุทธวลัย (ณ ลำพูน) เชื้อเจ็ดตน"

เจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชนครลำปาง ๖_๒ ราชโอรส องค์ที่ ๒๐ ใน "เจ้านรนันท์ไชยชวลิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๙ (๑๒)" สมรสกับ "เจ้าหญิงสำเภาแก้ว ณ ลำปาง" ผู้เป็นราชธิดาใน "พลโทเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๐ (๑๓)"; เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้าเทพดำรงค์ ณ ลำปาง" และ "เจ้าหญิงอัตถ์ ณ ลำปาง"

พันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่, เจ้าไชยสงครามนครเชียงใหม่ ๖_๓ โอรสใน "เจ้าน้อยรถ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นราชนัดดา (หลานปู่) ใน "พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๒"; เป็นเจ้าปู่ใน "ฯพณฯ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่" และเป็นเจ้าตาทวดใน "ฯพณฯ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร"; เจ้าไชยสงครามฯ ได้รับขนานนามว่า "มือปราบแห่งเวียงพิงค์" เป็นที่กลัวเกรงของเหล่าโจรผู้ร้ายเป็นอย่างยิ่ง ได้ปฏิบัติหน้าที่ควาญช้างพระที่นั่งในคราที่ "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เจ้าสุริยวงศ์ คำตัน สิโรรส, เจ้าสุริยวงศ์นครเชียงใหม่ ๖_ม.ส. (๒๔๐๐-๒๔๗๘), โอรสใน "เจ้าน้อยกาวิละ สิโรรส" เจ้านายราชวงศ์เม็งราย กับ "เจ้าหญิงจันทร์หอม (ณ เชียงใหม่) สิโรรส"; สมรสกับ "เจ้าหญิงสุคันธา (ณ เชียงใหม่) สิโรรส" ธิดา ใน "เจ้าราชบุตร หนานสุริยวงษ์ ณ เชียงใหม่" (มีหม่อมอีก ๓ ท่าน); เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย แขวงเมืองขุนยวม (อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน) ที่โจรผู้ร้ายกลัวเกรง, เป็นผู้ประพันธ์ กวีนิพนธ์ภาษาล้านนา ค่าวซอ เรื่อง "หงส์หินมหาชาตินครกัณฑ์สมัยใหม่"

เจ้าบุรีรัตน์ พรหมเทศ ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์นครลำพูน ๖_๗ (๖_๘) เสนายุติธรรมแห่งนครลำพูน; โอรสใน "เจ้าแก้วมนุษย์ ณ ลำพูน" ผู้เป็น ราชนัดดา (หลานปู่) ใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓" กับ "เจ้าหญิงคำป้อ ณ ลำพูน" ผู้เป็นราชนัดดา (หลานตา) ใน "พระเจ้าบุญมาเมือง, พระเจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๒"; เป็นเจ้าบิดาใน "แม่เจ้าขานแก้ว จักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน" และ "แม่เจ้าแขกแก้ว จักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน" เทวีใน "พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๑๐"

เจ้าหญิงรสคำ (ณ ลำพูน) ณ เชียงใหม่ ๖_๗ ธิดาใน "เจ้าเหมพินธุ์ไพจิตร, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๘"; สมรสกับ "เจ้าแก้วมรกต ณ เชียงใหม่"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพิสี ๗_๑ (๘_๓) (๗_๗) "เสด็จเจ้าน้อย", พระราชธิดาใน "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และ "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี", สิ้นพระชนม์ขณะทรงพระเยาว์ ในพระบรมมหาราชวัง; การสิ้นพระชนม์ในครานี้ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก รับสั่งกับ "กรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ว่าทรงเสียพระทัยที่ลืมตั้ง "เสด็จเจ้าน้อย" ให้เป็นเจ้าฟ้า

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรค์วิสัยนรบดี ๗_๑ (๘_๓) (๗_๗) พระราชโอรสใน "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" และ "เจ้าจอมมารดา เจ้าทิพเกษร"; ทรงเป็น เจ้านายพระองค์แรก และคนไทยคนที่ ๒ ที่สำเร็จการศึกษาวิชาระดับปริญญาเอก, ทรงสมรสกับ "เจ้าหญิงศิริมา ณ เชียงใหม่" พระญาติ (ไม่มีพระโอรส พระธิดา)

เจ้าหญิงกาบคำ (ณ เชียงใหม่) อิศรางกูร ณ อยุธยา ๗_๑ ธิดาใน "เจ้าหนานสมมนุษย์ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นโอรส องค์ที่ ๑ ใน "เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"; สมรสครั้งที่ ๑ กับ "พันเอกพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค)", ครั้งที่ ๒ กับ "มหาอำมาตย์ตรี พระยาวิเศษฤาไชย (หม่อมหลวง เจริญ อิศรางกูร)"; เป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าสุริยนต์ บุนนาค" กับ "เจ้าสุริยฉาย (อิศรางกูร ณ อยุธยา) สิโรรส"

อำมาตย์ตรี เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์ สิงห์แก้ว ณ เชียงใหม่, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครเชียงใหม่ ๗_๑ โอรสใน "เจ้าน้อยดวงฤทธิ์ ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นโอรส องค์ที่ ๒ ใน "เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"; สมรสครั้งที่ ๑ กับ "เจ้าหญิงคำตุ้ย ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นธิดาใน "เจ้าอุตรการโกศล หนานแก้ววงศ์ ณ เชียงใหม่", ครั้งที่ ๒ กับ "หม่อมปั๋น" ผู้เป็นหลานสาวใน "พญาผาบ, วีรบุรุษผู้ต่อต้านภาษี สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์"

เจ้าหญิงทิพวัน (ณ เชียงใหม่) กฤดากร ๗_๑ ชายาใน "พลเอกพระวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช" (ไม่มีพระโอรส พระธิดา), เป็นธิดาใน "แม่เจ้าปิมปา (ณ เชียงใหม่)" กับ "เจ้าฟ้าแสนหวี, เจ้าเทพดำรงค์รักษาเขต เจ้าฟ้าเมืองขุนยวม"; ได้โดยเสด็จ "พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช" พระสวามีไปดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส จึงได้มีโอกาสอภิบาล "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเจ้านายในจักรีบรมมหาราชวงศ์หลายพระองค์ ขณะประทับศึกษาอยู่ในยุโรป

เจ้าอุตรการโกศล น้อยศุขเกษม ณ เชียงใหม่ ๗_๑ (๗_๗) เจ้าชายในตำนาน "มะเมียะ", ราชโอรสองค์ใหญ่ ใน "พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ ๙", เป็นเชษฐาใน "พลตรี เจ้าราชบุตร วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่" ;ภายหลังสมรสกับ "เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่"

พลตรี เจ้าราชบุตร วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่ ๗_๑ (๗_๗) ราชโอรสใน "พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙" กับ "แม่เจ้าจามรี (ณ เชียงใหม่)" ผู้เป็นธิดาใน "เจ้าราชภาคินัย น้อยแผ่นฟ้า ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"; เป็นเจ้าบิดาใน "คุณหญิง เจ้าพงษ์แก้ว (ณ เชียงใหม่) ณ ลำพูน" กับ "คุณหญิง ดร.เจ้าระวีพันธ์ (ณ เชียงใหม่) สุจริตกุล"; เจ้าราชบุตรฯ คือผู้ที่จะขึ้นเป็น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑๐ หากไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง

พลตำรวจตรี เจ้าราชวงศ์ แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง, เจ้าราชวงศ์นครลำปาง ๗_ม. ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๕ (ภาคเหนือ) ท่านแรก

คุณหญิง หม่อมศรีนวล (นันทขว้าง) ณ เชียงใหม่ ๗_๑ ส. (๗_๗ ส.) หม่อมท่านสุดท้ายใน "พลตรีเจ้าราชบุตร วงษ์ตวัน ณ เชียงใหม่", เจ้านายผู้ใหญ่ผู้อุทิศตนเพื่อสังคมล้านนา และเป็นผู้วางแนวทางการรับเสด็จแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ ๗_๑ (๘_๓) (๗_๗) อดีตนายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (๒๕๐๔-๒๕๐๘), สมรสครั้งที่ ๑ กับ "เจ้าหญิงศิริประกาย ณ เชียงใหม่" ราชธิดาใน "พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙" , ครั้งที่ ๒ กับ "คุณหญิงถวิล ณ เชียงใหม่"; เจ้ากาวิละวงศ์ฯ เป็นเจ้าบิดาใน "เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล ณ เชียงใหม่"

เจ้าหญิงบุษบง ณ ลำปาง ๗_๒ ราชธิดาองค์สุดท้ายใน "พลโทเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๐ (๑๓)" (ที่ ๒ ใน หม่อมช้อย); เจ้านายชั้นราชธิดาในเจ้าผู้ครองนครผู้มีอายุยืนนานที่สุด สิ้นอายุขัยในรัชกาลปัจจุบัน (๒๕๔๖) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับพระศพเจ้าหญิงฯ ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ พร้อมพระราชทานหีบทองราชนิกูลลายก้านแย่ง ชั้น "หม่อมเจ้า"

เจ้าราชวงศ์ เลาแก้ว ณ เชียงใหม่ ๗_๗ ราชโอรสองค์เดียวใน "เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘"

เจ้าหญิงสร้อยสุวรรณ (ณ เชียงใหม่) ศิริวงศ์ ๗_ม. ธิดาใน "เจ้าบุรีรัตน์ ณ เชียงใหม่" สมรสกับ "หม่อมศิริวงศ์วรวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์ ฉายฉาน ศิริวงศ์)" พระโอรสใน "พระองค์เจ้าฉายเฉิด กรมหมื่นนฤบาลมุขมาตย์" ผู้เป็นพระโอรสใน "สมเด็จพระบรมราชตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์", เป็นเจ้ามารดาใน "หม่อมหลวง แสงฉาย (ศิริวงศ์) ณ เชียงใหม่" ภริยาใน "เจ้าพงศ์พันธ์ ณ เชียงใหม่"
เจ้าหญิงยวงแก้ว สิโรรส ๗_๗ (๗_๑๐) ธิดาใน "เจ้าน้อยคำคง สิโรรส" ผู้เป็นราชปนัดดา (เหลนปู่ทวด) ใน "เจ้าฟ้าเมืองสาม, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ ๑" และเป็นนัดดา (หลานย่า) ใน "เจ้าหญิงฟองแก้ว (ณ เชียงใหม่) สิโรรส" ผู้เป็นราชธิดาใน "เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓" ได้โดยเสด็จ "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี" เข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง ด้วยความรักต้องห้ามในวังหลวงกับ หม่อมราชวงศ์หญิงท่านหนึ่ง ในที่สุด เจ้าหญิงฯ ได้ตัดสินใจกระโดดตึกจากพระตำหนักฯ ถึงแก่อสัญกรรม
เจ้าหญิงฟองแก้ว (ณ เชียงใหม่) มาลากุล ๗_๓ ผู้ยอมหย่าขาดจากเจ้าพระยาผู้สามี เพื่อไม่ตัดผมละทิ้งประเพณีเมืองเหนือ; ธิดาใน "เจ้าน้อยบัวละวงษ์ ณ เชียงใหม่" โอรสใน "เจ้าราชบุตร หนานสุริยวงศ์ ณ เชียงใหม่"; ได้โดยเสด็จ "พระราชชายา เจ้าดารารัศมี" เข้าไปประทับในพระบรมมหาราชวัง และได้สมรสกับ "เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ธิบดี (หม่อมราชวงศ์ ปุ้ม มาลากุล)" แต่หย่าขาดภายหลัง มีบุตร คือ "หม่อมหลวง เทียม มาลากุล"
เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ ๗_๓ นักธุรกิจ, ผู้บุกเบิกกิจการด้านโรงแรมและโรงภาพยนต์ในจังหวัดเชียงใหม่; โอรสใน "พันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่" กับ "หม่อมคำใส"; เป็นเจ้าบิดาใน "ฯพณฯ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่"

เจ้าไชยณรงค์ ณ เชียงใหม่ ๗_๓ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่; นักธุรกิจ, เจ้าของ "โรงแรมไชยณรงค์", โอรสใน "พันตำรวจเอก เจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่" กับ "หม่อมคำใส"; ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว" ทรงโปรดรับไว้ในพระบรมราชูปถัมป์ ให้เข้ารับการศึกษาในกรุงเทพฯ

เจ้าน้อยไชยวงศ์ (เปอะ) โชตนา ๗_๗ โอรสใน "เจ้าหนานวัง" ราชนัดดา (หลานปู่) ใน "เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคคุณ, เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๖" สมรสกับ "แม่นายต๊อด โชตนา"; เป็นเจ้าบิดาใน "พ่อเลี้ยง เจ้าทิม โชตนา" และ "เจ้าแสงด้าย (โชตนา) ชุติมา"; หลังจากกำพร้าเจ้าบิดา เจ้ามารดา ได้สร้างเนื้อสร้างตัว และ ตั้งสกุล "โชตนา" ในเมืองเชียงใหม่

เจ้าหญิงสุคันธา (ณ เชียงตุง) ณ เชียงใหม่ ๗_๗ ส. ราชธิดาใน "เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ ๘", สมรสกับ "เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่" ราชโอรสใน "พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๙"; เป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีครั้งสำคัญระหว่างเจ้านายราชวงศ์ "ทิพย์จักราธิวงศ์" กับ ราชวงศ์ "เม็งราย" ผู้มีศักดิ์เป็นราชโอรสและราชธิดาในเจ้าผู้ครองนคร
เจ้าหญิงสุมิตรา ณ เชียงใหม่ ๗_๗ ธิดาใน "เจ้าราชวงศ์ น้อยขัติยะ ณ เชียงใหม่, เจ้าราชวงศ์นครเชียงใหม่" ผู้เป็นราชบุตรใน "พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗"; สมรสครั้งที่ ๑ กับ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร" ผู้ทรงเป็นพระอัยกา (สมเด็จตา) ใน "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีใน ร.๗" (ไม่มีพระโอรส พระธิดา), ครั้งที่ ๒ กับ "พระยามหาเทพสมบัติ (บุตร์ บุณยรัตพันธ์)" และครั้งที่ ๓ กับ "เจ้าราชภาคินัย น้อยสิงโต ณ เชียงใหม่, เจ้าราชภาคินัยนครเชียงใหม่"; เป็นเจ้ามารดาใน "เจ้าหญิงเกี๋ยงเหมย ณ เชียงใหม่" และ "เจ้าสิงห์ธร ณ เชียงใหม่"

เจ้าหญิงพันธ์คำ (ณ เชียงใหม่) สุขุม ๗_๗ ธิดาใน "เจ้าน้อยคำเจียง ณ เชียงใหม่" กับ "เจ้าหญิงแว่นฟ้า ณ เชียงใหม่" ผู้เป็นธิดาใน "เจ้าอุปราช พิมพิสาร, เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่"; สมรสกับ "คุณประสาท สุขุม" ผู้เป็นบุตรใน "เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)"
เจ้าหญิงทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง ๗/๘_๒ ชายาใน "เจ้าฟ้าพรหมลือ, เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุง องค์ที่ ๙", เทวีองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงตุง; เป็นราชนัดดา (หลานตา) ใน "พลโทเจ้าบุญวาทย์วงค์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๑๐ (๑๓)", การเสกสมรสระหว่าง ๒ ราชวงศ์ฝ่ายเหนือในครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งระดับการเมืองระหว่างประเทศ, ภายหลังเมื่อประเทศไทยอยู่ในสถานะแพ้สงคราม บรรดาเจ้านายแห่งเมือง
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้