ราชวงศ์มังราย ราชวงศ์ที่สร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานีมีดังนี้
รัชกาลที่ ๑ พญามังรายมหาราช
ทรงสร้างนครเชียงใหม่เป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ครองนครเชียงใหม่จนถึง พ.ศ.๑๘๖๐ สวรรคตด้วยถูกอสนีบาตตกกลางเมือง ศิริรวมพระชนมายุได้ ๗๙ พรรษา ครองเชียงใหม่ได้ ๒๑ พรรษา หากจะนับตามลำดับ ราชวงศ์ลวจังกราชเป็นต้นมา ซึ่งเป็นต้นวงศ์ก่อนสถาปนาอาณาจักรลานนาไทย ก็นับ เป็นรัชกาลที่ ๒๕
เมื่อพระชนมายุได้ ๒๐ ชันษา พระเจ้าลาวเม็งสวรรคต พญามังรายเสวยราชสมบัติปกครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบต่อมา นับเป็นราชกาลที่ ๒๕ แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้วก็ทรงพระราชดำริว่า แว่นแคว้นโยนก ประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นเชื้อวงศ์ของปู่เจ้าลาวจก (ลวจังกราช) ต่างก็ปกครองอย่างสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกประการหนึ่งบ้านเมืองใด หากมีผู้เป็นใหญ่ปกครองบ้านเมืองมากเจ้าหลายนายก็มักจะสร้างความทุกข์ยากให้
แก่ไพร่บ้านพลเมืองของตนและถ้าหากมีศัตรูต่างชาติเข้าโจมตีก็อาจจะเสียเอกราช
ของชนชาติไทยได้โดยง่าย
ฉะนั้นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมือง พญามังรายจึงมีพระประสงค์ที่จะรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วิธีดำเนินตามนโยบายก็คือ แต่งพระราชสาสน์ไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้เข้ามายอมอ่อนน้อมในบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่ โดยดีหาไม่แล้วพระองค์จะทรงยกกองทัพไปปราบปราม
พ.ศ. ๑๘๐๕ พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงรายโดยการก่อกำแพงเมืองโอบเอาดอยจอมทองไว้ท่าม กลางเมือง ต่อมาตีได้เมืองของ ชาวลัวะคือ ม้งคุมม้งเคียนแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองเชียงตุง
พ.ศ. ๑๘๑๘ ขณะที่ประทับที่เมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าลวจังกราช เมืองฝางมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรหริภุญชัย ของพญายีบา พญามังรายทรงทราบเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรือง และความอุดมสมบูรณ์ของเมืองหริภุญชัย พระองค์ทรงมอบ ให้อ้ายฟ้าขุนนางเชื้อสายลัวะเป็นผู้รับอาสาเข้าไปเป็นไส้ศึกทำกลอุบายให้ พญายีบามาหลงเชื่อ และทำให้ชาวเมืองหริภุญชัยเกลียดชัง พญายีบา พญามังรายทรงมุ่งมั่นที่จะขยายพระราชอำนาจเหนือดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงตอนบนให้ ได้ จึงมอบเมือง เชียงรายให้แก่เจ้าขุน เครื่องปกครอง ส่วนพระองค์มาประทับที่เมืองฝาง
ต่อมาพระองค์ทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองพม่า แต่ด้วยเกรงในพระราชอำนาจ จึงถวายพระนางปายโคเป็นพระมเหสี เมื่อพระนางอั้วมิ่งเวียงไชยทราบก็ทรงสลดพระทัย เนื่องจากทรงระลึกได้ว่าพญามังรายทรงผิดคำสาบาน ที่พระองค์ทรงสาบาน ในเมื่อประทับ อยู่ที่เชียงแสนว่า จะมีมเหสีเพียง พระองค์เดียว พระนางจึงสละพระองค์ออกจากพระราชวัง ออกบวชชี ซึ่งเชื่อกันว่า ต่อมาบริเวณที่พระนางไปบวชนั้น เป็น เวียงกุมกาม
พ.ศ. ๑๘๒๔ อ้ายฟ้าสามารถทำการได้สำเร็จ โดยหลอกให้พญายีบาเดินทางไปขอกำลังพลจากพญาเบิกเจ้าเมืองเขลางค์นคร พญามังรายจึงสามารถเข้าเมืองหริภุญชัยได้พระองค์ทรงมอบเมืองหริภุญชัยให้ อ้ายฟ้าปกครอง ส่วนพระองค์ได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ซึ่ง อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ชื่อว่า เมืองกุมกาม หรือเวียงกุมกาม ต่อมาพญามังรายทอดพระเนตรชัยภูมิระหว่างดอยสุเทพ ด้านตะวันตกกับแม่น้ำปิง ด้านตะวันออก ทรงพอพระทัยจึงเชิญพระสหาย คือ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง แห่งเมืองพะเยา มาร่วมปรึกษาหา รือการสร้างเมืองแห่งใหม่ให้นามว่า เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙ เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ พญามังรายได้ย้ายเมืองหลวง จากเวียงกุมกามสถาปนาเมืองใหม่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรล้านนามีอำนาจเหนือ ดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกกถึงแม่น้ำโขงตอนกลางจนถึงหัวเมืองไทยใหญ่ (เงี้ยว) ๑๑ หัวเมืองลุ่มแม่น้ำสาละวิน
พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อทรงเสด็จออกตลาด โดยมี อสุนีบาตต้องพระองค์สิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าเป็นปาฏิหารย์ของ พระนางอั้วมิ่งเวียงไชย
อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง ด้านการเมือง การปกครอง ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นที่ยอมรับของอาณาจักรข้างเคียง พญามังรายทรงเป็นปฐมวงศ์กษัตริย์ราชวงศ์มังราย มีกษัตริย์สืบเชื้อสายถึง ๑๘ พระองค์ จนถึง พ.ศ. ๒๑๐๑ ล้านนาสูญเสียความเป็น เอกราชให้แก่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์แห่งพม่า
พญามังรายมหาราช ได้ทรงรับราชบุตรและราชธิดาบุญธรรม ในช่วงอายุ ๗๔ - ๘๐ ปีก่อนสวรรคต ราชธิดาบุญธรรมพระองค์แรก คือ เจ้าหญิงธรรมธารี พระธิดากษัตริย์แห่งอาณาจักรพุกาม (เขตพม่า) ก่อนเมืองแตก ราชบุตรบุญธรรม พระองค์ที่สอง คือ เจ้ายอดเมือง (เจ้าแสนต่อ) ราชบุตรของเจ้าเมืองเวียงกาหลง (ปัจจุบันคือ ตำบลเวียงกาหลง อ.ป่าแงะ จ.เชียงราย) ซึ่งเจ้าแสนต่อนี้เองที่เป็นต้นตำนานแห่งสุวรรณภูมิ ที่ มิได้ถูกบันทึกไว้ เนื่องจากเป็นลูกเจ้าเมืองเล็กๆ แต่วีรกรรม นั้นยิ่งใหญ่มาก ได้อาสารบกับกองทัพพระเจ้ากุบไลข่านแห่งมองโกลที่ยิ่งใหญ่ พร้อมๆ กับกษัตริย์อีก ๒ อาณาจักรคือ พญางำเมือง และ พ่อขุนรามคำแหง จนชนะทำให้พระเจ้ากุบไลข่านยกทัพกลับมองโกล เกิดเป็นแผ่นดินแห่งสยามและเป็นตำนานพระยอดขุนพลจนทุกวันนี้
รัชกาลที่ ๒ พญาชัยสงคราม หรือ เจ้าขุนคราม
ราชโอรสองค์ที่ ๒ ของพญามังราย ขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระราชบิดา ครองเมืองเชียงใหม่เพียง ๔ เดือน ก็ทรงกลับไปครองเมืองเชียงรายตามเดิม และโปรดให้เจ้าแสนภูราชโอรสครองเมือง เชียงใหม่แทน
รัชกาลที่ ๓ เจ้าแสนภู
ราชโอรสองค์ที่ ๑ ของเจ้าชัยสงคราม ครองเมืองเชียงใหม่ ๒ ครั้ง ๆ ที่ ๑
เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ ครองเมืองได้ไม่นานนัก เจ้าขุนเครือ พระเจ้าอาว์ซึ่งถูกพระ เจ้าเม็งรายเนรเทศไปครองเมืองนาย ได้ยกกองทัพมาชิงเอาราชสมบัติ เจ้าแสนภูไม่ต่อสู้ หนีไปหาเจ้าน้ำท่วมอนุชาซึ่งครองเมืองฝาง เจ้าน้ำท่วมจึงส่งพระเชษฐาไปยังเมืองเชียงราย
รัชกาลที่ ๔ เจ้าขุนเครือ
ขึ้นครองเมือง โดยไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษกอยู่ไม่กี่วัน เจ้าชัย สงคราม พระเชษฐา ซึ่งครองเมืองเชียงราย ทรงทราบเหตุที่มาแย่งชิง เอาเมืองเชียงใหม่ จากเจ้าแสนภู จึงโปรดให้เจ้าน้ำท่วมโอรสยกกองทัพมาชิงเอาเมืองเชียงใหม่คืน เจ้าน้ำ ท่วมชิงเอาเมืองคืนได้และจับตัวเจ้าขุนเครือพระเจ้าอาว์ไว้ได้ จึงกราบทูลให้
เจ้าชัยสงครามพระราชบิดาทรงทราบ เจ้าชัยสงครามจึงให้เอาตัวไปคุมขังไว้ที่แจ่งกู่เฮือง (มุมเมือง ทางทิศหรดี) ให้หมื่นเรืองคุมตัวไว้ เมื่อหมื่นเรืองถึงแก่กรรมสร้างกู่ (อนุสาวรีย์) ไว้ ณ ที่นั้น เลยได้ชื่อว่าแจ่งกู่เฮืองมาจนทุกวันนี้ เจ้าขุนเครือนั้นถูกคุมขังอยู่ได้ ๔ ปี สวรรคต
รัชกาลที่ ๕ เจ้าน้ำท่วม
ราชโอรสองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าชัยสงคราม ครองเมืองเชียง ใหม่ ปี พ.ศ.๑๘๖๒ เจ้าน้ำท่วมครองเมืองอยู่ได้ ๕ ปี พระเจ้าชัยสงครามพระราชบิดา ทรง ระแวง พระทัยจะคิดกบฎ เพราะเจ้าน้ำท่วมทรงกล้าหาญ ในการณรงค์สงคราม และใฝ่ใจ ในการ ทหาร จึงให้เนรเทศไปครองเมืองเชียงตุง แล้วให้เจ้าแสนภูราชโอรสองค์ที่ ๑ มาครอง เมืองเชียงใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๑๘๖๗ พระเจ้าแสนภูครองเมืองเชียง ใหม่จน ถึงปี พ.ศ.๑๘๗๑ ก็มอบเวนให้เจ้าท้าวคำฟู ราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วน พระองค์ไป สร้างเมืองเชียงแสน (ตำนานสิงหนวัติว่า ทรงไปบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง ที่ร้างไปนั้น ขึ้นใหม่แล้วขนานนามเมืองว่า เมืองเชียงแสน ซึ่งหมายถึงว่า เมืองของพระ เจ้าแสนภู เช่น เดียวกับเมืองเชียงราย หมายถึงว่าเมืองของพญาเม็งราย
รัชกาลที่ ๖ พระเจ้าท้าวคำฟู หรือ พระเจ้าคำฟู
ได้ขึ้นครองเมือง เชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๗๑ ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๗๗ พระเจ้าแสนภูพระราชบิดา ซึ่งไปสร้างเมืองเชียงแสน เป็นราชธานีใหม่ของพระองค์นั้นสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา เจ้าท้าวคำฟูได้ ขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมา เมื่อพระองค์ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ก็ทรงมอบเวนให้พ่อท้าว ผายู ราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จไปครองเมืองเชียงแสนและ สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๘๘๗ โดยถูกเงือกกัดตายที่แม่น้ำคำ พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา พระอัฐิของพระองค์ได้นำมาบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เล็กที่วัดพระสิงห์เชียงใหม่ ได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ มีทองคำจารึกลายพระนามพระมหา เถรในยุคนั้นหนังถึง ๓๖๐ บาท
รัชกาลที่ ๗ พระเจ้าผายู
หรือในหนังสือชินกาลมาลี ปกรณ์ ว่า พระเจ้าตายุมหาราช โอรสของพระเจ้าคำฟู ได้ครองราชย์สมบัติในปี พ.ศ.๑๘๘๗ พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ในยุคนี้นครเชียงใหม่มีสภาพเป็นราชธานีอีกครั้งหนึ่ง เพราะพระเจ้าผายูไม่โปรดที่จะ ไปครองเมืองเชียงแสนเช่นพระบิดา พระเจ้าผายูเป็นกษัตริย์ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข การพระศาสนาเจริญรุ่งเรือง พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติ ณ เมืองเชียงใหม่ได้ ๒๘ พรรษา ลุปีมะเมีย พ.ศ.๑๙๑๐ (จุลศักราช ๗๒๙) พระชนมายุได้ ๕๗ พรรษาก็สวรรคต เสนาอำมาตย์จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาพ่อท้าวกือนาหรือพ่อท้าวตื้อนา ราชโอรสซึ่งไปครองเมืองเชียงแสนมาเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์
รัชกาลที่ ๘ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช
ได้เสวยราชสมบัตินครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๙๑๐ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรม เช่นเดียวกับพระราชบิดา ทรงทนุ บำรุงการพระศาสนาเป็นอันมาก และได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าไปประดิษฐานบนดอยสุเทพ เป็นที่สักการบูชาของบรรดาพุทธศาสนิกชน มาตราบทุกวันนี้ ในยุคนี้ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะมีศึกฮ่อมาประชิดชายแดนแต่ก็พ่ายแพ้บุญญาธิการไป พระองค์ได้ให้ราชฑูตไปขออาราธนาพระสุมนเถร จากกรุงสุโขทัยมาเผยแพร่พุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ในลานนาไทย ซึ่งพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์นี้ได้เจริญรุ่งเรือง ในอาณา จักรลานนาไทยมาตราบทุกวันนี้ พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติได้ ๒๑ พรรษา พระชน มายุได้ ๖๑ พรรษา ก็ทรงพระประชวรสวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๓๑
รัชกาลที่ ๙ พระเจ้าแสนเมืองมา
ราชโอรสได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมา ในปี พ.ศ. ๑๙๓๑ เมื่อพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่ยังไม่ทันทำพิธีราชาภิเศก เจ้าท้าวมหา พรหมพระเจ้าอาว์ของพระองค์ซึ่งพระเจ้ากือนาให้ไปครองเมืองเชียงรายนั้น ได้ยกกอง ทัพมาจะแย่งชิงราชสมบัติ แต่ขุนพลแสนผานองผู้ซื่อสัตย์ได้สู้รบป้องกัน ราชบัลลังก์ไว้ได้ และขับไล่กองทัพเจ้าท้าวมหาพรหม ไปยังเมืองชะเลียง พระเจ้าแสนเมืองมาครองราชย์ สมบัติได้ ๒๓ พรรษา สวรรคตในปี พ.ศ.๑๙๕๔
รัชกาลที่ ๑๐ พระเจ้าสามฝั่งแกน
หรือในตำนานพื้นเมืองว่าเจ้าสามผะหญาแม่ ใน เป็นราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. ๑๙๕๔ ทรง ครองเมืองอยู่ได้นาน ๓๑ ปี ถูกเจ้าท้าวลกราชบุตรองค์ที่ ๖ ซึ่งพระองค์เนรเทศไปอยู่เมืองยวมใต้ (คืออำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน) คบคิดกับขุนนางชื่อพญาสามเด็กย้อย อำมาตย์ผู้ใหญ่ทำการกบฎ บังคับให้พระเจ้าสามฝั่งแกนสละราชสมบัติ แล้วทำพิธีปราบดาภิเษกเจ้าท้าวลกขึ้นเป็นกษัตริย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๘๕ ในรัชกาลนี้มีศึกฮ่อมาตีเมืองเชียง แสน ได้ทำการสู้รบกันแรมปีผลที่สุดกองทัพฮ่อแตกพ่ายไป กองทัพลานนาไทยตีเอาเมือง เชียงรุ้ง เมืองยอง คืนจากพวกฮ่อได้ เจ้าขุนแสนแม่ทัพใหญ่จับได้เชลยฮ่อ และเอาช่าง ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ มายังเวียงพิงค์ เป็นการนำเอานาฎศิลป์การฟ้อนรำมาจากแคว้น สิบ สองปันนามาเผยแพร่ในอาณาจักรลานนาไทย
รัชกาลที่ ๑๑ พระเจ้าติโลกราชมหาราช
หรือ "ดิลกมหาราช" มีพระนามเดิมว่า "เจ้าท้าวลก" เป็นราชบุตรองค์ที่ ๖ ของพระเจ้าสามฝั่งแกน เดิมพระราชบิดาให้ไปครองเมืองพร้าววัง หิน หากกระทำผิดพระราชอาญา พระราชบิดาจึงเนรเทศไปอยู่เมืองยวมใต้ ได้คบคิดกับ อำมาตย์ชื่อสามเด็กย้อยชิง เอาราชสมบัติจากพระราชบิดา ได้ทำพิธีปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ.๑๙๘๕ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ทรงยกกองทัพไปตีเอาดินแดนสิบสองปันนา และสู้รบขับเคี่ยวกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นเวลานานถึง ๑๔ ปี ในบั้นปลายของ ชีวิต พระองค์ทรงหันมาทะนุบำรุงการพระพุทธศาสนา ได้ทำสังคายนาครั้งที่ ๘ ของโลกที่วัด มหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๒๐ ขณะขึ้นครองราชย์สมบัติทรง มีพระชนม์ได้ ๓๔ พรรษา ครองสมบัตินาน ๔๕ พรรษา สวรรคตในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระ ชนม์ได้ ๗๙ พรรษา พระเจ้าติโลกราชทรงเป็นกษัตริย์ที่สร้างความเจริญ ให้แก่อาณาจักร ลานนาไทยเป็นอันมาก ทั้งในด้านพระศาสนา และด้านอาณาจักร ทรงเป็นทั้งนักรบและ นักปกครองที่ประวัติศาสตร์ลานนาไทยยกย่อง
รัชกาลที่ ๑๒ พระยอดเชียงราย
พระเจ้าติโลกราช มี ราชโอรสคือ พ่อท้าวบุญเรือง แต่ทรงหลงเชื่อ พระ นางหอมุกข์พระสนมเอก ให้ประหารชีวิตเสีย คงมีแต่พระราชนัดดาทรงพระนามว่าพระ ยอดเมือง หรือพระยอดเชียงราย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเจ้าติโลกราชในปี พ.ศ.๒๐๓๐ พระยอดเชียงรายมีใจฝักใฝ่คบหาสมาคมกับพวกฮ่อ ถึงกับทรงรับเอาฮ่อชื่อ เพลาสง มาเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พวกขุนนางข้าราชการไม่พอใจ เจ้าแสนจุซึ่งเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และมีอิทธิพลมากจึงคุมสมัครพรรคพวกบังคับ ให้พระยอดเชียงราย สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่เมืองจวาด พระยอดเชียงรายถูกบังคับให้สละราชสมบัติ ในปี พ.ศ.๒๐๓๘ อยู่ในราชสมบัติได้ ๘ ปี
รัชกาลที่ ๑๓ พระเมืองแก้ว
ราชโอรสของพระยอดเชียงราย ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๘ เฉลิมพระนามว่า "พระเจ้าพิลกปนัดดาธิราช" คือเป็นเหลนของพระ เจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์นี้มีพระนามหลายพระนามด้วยกัน คือ เจ้ารัตนราช, เจ้าแก้ว พันตา เป็นต้น กษัตริย์องค์นี้ทรงดำเนินรอยตามพระเจ้าติโลกราช พระอัยกาธิราช พระองค์ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ไม่แพ้รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช และเนื่องด้วยเหตุนี้เอง พระสังฆราชคณะทั้งหลายจึงพร้อมใจกัน ทำพิธีราชาภิเษกเฉลิม พระนามใหม่ว่า "พระเจ้าศิริธรรมจักรพรรดิราช" ในปี พ.ศ.๒๐๖๑ ในรัชสมัยของพระ องค์นี้ มีนักปราชญ์ราชบัณฑิตเป็นพระเถระหลายองค์ เช่น พระสิริมังคลาจารย์ ผู้รจนา หนังสือมงคลทีปนีสูตร ซึ่งใช้ในการศึกษามหาเปรียญมาจนทุกวันนี้ และพม่า เขมร ก็นำไปแปลไปเป็นภาษาของตน กับพระรัตนปัญญาเถร ผู้รจนาหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ พระเมืองแก้วสวรรคตในปี พ.ศ.๒๐๖๘ อยู่ในราชสมบัติ ๓๐ ปี ขณะสวรรคตพระชน มายุได้ ๔๔ พรรษา พระองค์ไม่มีราชโอรสและธิดา ขุนนางข้าราชการและไพร่ฟ้าประชา ชน จึงพร้อมใจกันไปอัญเชิญเอาท้าวเกษแก้วกุมาร พระอนุชาต่างพระมารดามาครอง ราชสมบัติสืบมา
รัชกาลที่ ๑๔ ท้าวเกษแก้วกุมาร
ขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนามว่า "พระเมืองเกษเกล้า" พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติได้ ๑๓ พรรษา เจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสคิดกบฎ จับพระองค์บังคับให้สละราชสมบัติในปี พ.ศ.๒๐๘๑ แล้วเนรเทศไปอยู่เมืองจวาดน้อย
รัชกาลที่ ๑๕ เจ้าท้าวทรายคำ
ชิงราชสมบัติจากพระราชบิดา แล้วก็ทำพิธีปราบดา อภิเษกเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ.๒๐๘๑ เจ้าท้าวทรายคำเป็นกษัตริย์ที่ไม่ดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม บ้านเมืองเกิดเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า พระองค์ครองเมืองได้ ๕ ปี ก็ถูกพวก ข้าราชการที่ซื่อสัตย์จับปลงประชนม์เสีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๘ แล้วข้าราชการต่างก็พากันอัญเชิญพระเมืองเกษเกล้า กลับมาครองเมืองเชียงใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๒ พระเมืองเกษเกล้า กลับมาครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๒ ปี ทรงเสียพระจริต ขุนนางชื่อแสนดาว (หรือแสนค่าว) จับปลงพระชนม์เสียที่หัวข่วง (คือสนามหลวง เห็นจะเป็นที่วัดหัวข่วง ปัจจุบัน) ในยุคนี้บ้าน เมืองเกิดการจลาจลวุ่นวาย ไม่เป็นปกติสุข พวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่แบ่งกันเป็นก๊กเป็น เหล่า เกิดรบราฆ่าฟันกันเองกลางเมือง และมีศึกเจ้าฟ้าเมืองนายมาประชิดติดนคร ขุน นางบางคนคิดกบฏ แต่ยังมีขุนนางที่มีความจงรักภักดีในราชวงศ์เม็งราย ได้ปราบปราม พวกกบฏได้ แล้วพร้อมใจกันอัญเชิญให้พระนามจิระประภาราชธิดา ของพระเมืองเกษเกล้าขึ้นเสวยราชสมบัติในปี พ.ศ.๒๐๘๘
รัชกาลที่ ๑๖ พระนางเจ้าจิระประภามหาเทวี
พระราชธิดาของพระเมืองเกษเกล้า ได้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่ไม่ได้ทำพิธีราชาภิเษก บ้านเมืองในยุคนี้เกิดจลาจลวุ่นวาย มีการ รบราฆ่าฟันกันเอง ในระหว่างพวกขุนนางที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และมีศึกสมเด็จ พระไชยราชา กรุงศรีอยุธยายกไปประชิดพระนคร แต่พระนางจิระประภามหาเทวี ทรง เห็นว่าหากทำสงครามกับพระไชยราชาก็คงสู้ไม่ได้ จึงยอดทำทางพระราชไมตรีด้วย พวกขุนนางข้าราชการเห็นว่า ในยามที่บ้านเมืองคับขันเช่นนี้ มีกษัตริย์ปกครองเป็น สตรีนั้นย่อมไม่เหมาะสม จึงไปอัญเชิญเอาพระอุปวโยราช หรือสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ราชโอรสของพระเข้าโพธิสารราช ซึ่งครองกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้างร่มขาว ซึ่ง เป็นราชนัดดาของพระเมืองเกษเกล้า มาครองเมืองเชียงใหม่ในปีต่อมา พระนางเจ้า จิระประภาครองเมืองเชียงใหม่ได้เพียงปีเดียวเท่านั้น และในปีนี้มีภัยธรรมชาติปรากฏ ขึ้นเป็นลางสังหรณ์คือ เกิดฝนตกหนัก และแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ยอดพระเจดีย์หลวง และเจดีย์อื่น ปรักหักพังลงหลายแห่ง ซึ่งอีก ๑๓ ปีต่อมา อาณาจักรลานนาไทยของพระเจ้า เม็งรายก็ถึงกาลดับสูญ ตกอยู่ในอำนาจของพม่าในปี พ.ศ.๒๑๐๑
รัชกาลที่ ๑๗ พระอุปวโยราช เมืองล้านช้าง หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระไชยเชษฐาธิราช
เป็นราชนัดดาของพระเมืองเกษเกล้า พระองค์เสด็จมาครองเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ทรงครองอยู่ได้ ๒ ปี ทางเมืองล้านช้างเกิดการจลาจล พระองค์จึงเสด็จไป ปราบปราม เมื่อปราบปรามการจลาจลราบคาบแล้ว ก็ทรงอยู่ครองเมืองล้างช้างเนื่องจาก พระบิดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ เมืองเชียงใหม่จึงว่ากษัตริย์ไปหลายปี ในระหว่างนี้ บ้านเมืองเกิดจลาจลรบราฆ่าฟันกันเอง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๙๔ บรรดาขุนนาง ข้าราชการ ที่ยังมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์เม็งราย เห็นว่ายังมีเชื้อสายของเจ้าขุนเครือราชโอรส ของพระเจ้าเม็งรายอยู่ที่เมืองนาย (เห็นจะเป็นเจ้าฟ้าเมืองนายที่ยกมาตีเมืองเชียงใหม่) จึงไปอัญเชิญมาเป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๐๙๔
รัชกาลที่ ๑๘ เจ้าฟ้าเมืองนาย
ได้เสวยราชสมบัติเมืองเชียงใหม่แล้ว ทรงขนาน พระนาม ว่า "พระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์" สามัญนิยมเรียกเพี้ยนเป็นเจ้าแม่กุ ตามสำเนียง ชาวไทย ใหญ่ (เงี้ยว) เมืองนายเรียกเจ้านายของเขา พระเจ้าเมกุฎ ฯ ครองเมืองเชียง ใหม่ได้ ๗ ปี พระเจ้าบุเรงนอง หรือพม่าเรียกว่า "บะหยิ่นหน่อง" กษัตริย์พม่า หากแต่ไป ครองกรุง หงสาวดีเป็นราชธานีจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "พระเจ้ากรุงหงสาวดี" ที่แท้เป็น พม่ามิใช่ มอญ พระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ได้ในปี พ.ศ.๒๑๐๑ นับ แต่นั้นมา อาณาจักรลานนาไทยก็ตกอยู่ในอำนาจของพม่า แต่พระเจ้าบุเรงนองยังคงให้ พระเจ้า เมกุฎ ฯ ครองเมืองเชียงใหม่ โดยมีขุนนางพม่าและไพร่พลจำนวนหนึ่งอยู่ควบ คุม ทำให้ พระเจ้าเมกุฎ ฯ มีความคับแค้นพระทัยเป็นอันมาก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๐๖ พระเจ้าเมกุฎ ฯ ก็คบคิดกับพญากมลราช (หรือเจ้ารัตนกำพล) เจ้าเมืองเชียงแสน เจ้า เมืองแพร่ เจ้า เมืองน่าน คิดกู้อิสรภาพ แต่ถูกพระเจ้าบุเรงนองยกกองทัพมาปราบปราม เป็นครั้งที่ ๒ พระเจ้าเมกุฎ ฯ ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ยังกรุงหงสาวดี จนทิวงคต
รัชกาลที่ ๑๙ พระนางวิสุทธิเทวี
เมื่อคุมตัวพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ กษัตริย์ผู้อาภัพไปคุมขังไว้ ณ กรุงหงสาวดี แล้ว พม่าก็แต่งตั้งให้พระนางวิสุทธิเทวีเชื้อ สายของพระเจ้าเม็งราย เป็นนางพระยาครองเมืองเชียงใหม่ จนถึงปี พ.ศ.๒๑๒๑ จึงทิวงคต พระเจ้าบุเรงนองจึงให้เจ้าฟ้าสารวดี หรือสารวดีมินทร์ราช บุตร อันเกิดแต่พระสนมมาครองเมืองเชียงใหม่ และเป็นอันสิ้นสุดเชื้อสายของราชวงศ์ เม็งราย เพียงพระนางวิสุทธิเทวีนี้เอง
พระนครเชียงใหม่นับแต่แรกสร้างเมืองใน ปี พ.ศ.๑๘๓๙ จนถึง พ.ศ.๒๑๐๑ เสียอิสระ ภาพแก่พระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่า รวมเวลาที่เป็นอิสระและเป็นราชธานีของอาณา จักรลานนาไทย เป็นเวลานาน ๒๖๒ ปี และปกครองโดยกษัตริย์ในราชวงศ์เม็งรายแต่ เพียงราชวงศ์เดียว
หลังจากสิ้นสุดเชื้อสายของราชวงศ์เม็ง ราย เพียงแค่พระนางวิสุทธิเทวีแล้ว ราชบุตร ของพระเจ้าบุเรงนองคือเจ้าฟ้าสารวดี ได้มาครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๑๔๑ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ยกกองทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้น ล้านนาไทยได้จากพม่า เช่น เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย และ เชียงแสน พระเจ้าเชียงใหม่ในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าสารวดี หรือในตำนานโยนกเรียกว่า มักซานรธามังคุยราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยอมสวามิภักดิ์ด้วย แว่นแคว้นลานนา ไทยจึงขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยาต่อมา และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดให้พระ รามเดโช ซึ่งเป็นชาวล้านนาไทย หากแต่ลงไปรับราชการกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กอบกู้อิสรภาพของชาติไทย ให้ขึ้นมาครองเมืองเชียงแสน คอยควบคุมหัวเมืองฝ่ายเหนือ
เชื้อสายของเจ้าสารวดีที่ครองเมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีก คือ
๑. มองซวยเทา อนุชา ครอง พ.ศ.๒๑๕๐
๒. มองกอยต่อ บุตรเจ้าฟ้าสารวดีองค์ที่ ๑ ครอง พ.ศ.๒๑๕๒
๓. น้องมองกอยต่อ ครอง พ.ศ.๒๑๕๔
๔. เจ้าศรีสองเมือง ราชบุตรบุญธรรมของเจ้าฟ้าสารวดี ครองเมืองน่าน แล้วมาครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๑๕๗ พ.ศ.๒๑๗๔ คิดกู้อิสรภาพ พระเจ้าสะโดะ ธรรมราชา กษัตริย์พม่าจับไปคุมขังไว้ที่กรุงอังวะจนทิวงคต พระเจ้าสุทโธธรรมราชา หรือ พระเจ้าสะโดะธรรมราชา กษัตริย์พม่าพระองค์นี้ ทรงตั้งพระทัยที่จะเอาแว่นแคว้น ลานนาไทย เข้ารวมอยู่ในอำนาจของพระองค์โดยสิ้นเชิง ถึงกับทรงยกกองทัพมาตั้งอยู่ที่ เมืองเชียงแสนเป็นเวลานาน ทรงแต่งตั้งให้ข้าราชการคนพื้นเมืองที่มีความจงรัก-ภักดี ในพระองค์มาเป็นเจ้าเมือง และทรงจัดการแบ่งการปกครอง เมืองเชียงใหม่และเมือง เชียงแสนเสียใหม่ โดยให้เมืองเชียงแสนเป็นอิสระ ไม่ต้องขึ้นเมืองเชียงใหม่แต่ขึ้นตรง ต่อกรุงอังวะ เจ้าเมืองเชียงแสนมีศักดิ์สูง ถึงกับเป็น "เจ้าฟ้า" เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่พม่า แต่งตั้งให้ครองเมืองสืบต่อมา มีดังนี้
๑. พญาหลวงทิพเนตร ครอง พ.ศ.๒๑๗๔
๒. พระแสนเมือง บุตรพญาหลวงทิพเนตร ครอง พ.ศ.๒๑๙๓ เสียเมืองแก่พระนารายณ์ มหาราช ในปี พ.ศ.๒๒๐๔
๓. พระเจ้าเมืองแพร่ พ.ศ.๒๒๐๖
๔. อึ้งแซะ ราชบุตรพระเจ้าอังวะ ครอง พ.ศ.๒๒๑๕
๕. มังแรนร่า ครอง พ.ศ.๒๒๒๘ ถึง พ.ศ.๒๒๗๐
มังแรนร่าครองเมืองเชียงใหม่ต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๒๗๐ พม่ากดขี่ข่มเหงชาวลานนาไทย มากนัก เทพสิงห์วีรบุรุษชาวเมืองยอน อดรนทนอยู่มิได้ จึงคุมชาวเมืองที่รักชาติ สู้รบกับ พวกพม่ารามัญที่ปกครองบ้านเมือง มังแรนร่าถูกฆ่าตาย ด้วยความแค้นเคืองพม่ารามัญ ที่ข่มเหงชาวลาน-นาไทย เทพสิงห์จึงให้กวาดล้างชาวพม่ารามัญเสียให้สิ้นผืนดินลานนา ไทย พม่ารามัญทั้งหลายที่รอดจากการกวาดล้าง จึงพากันไปหาเจ้าองค์นก เจ้าชาวล้านช้าง ซึ่งลี้ภัยการเมืองมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสวนดอก ขอให้เจ้าองค์นกลาสิกขาบทมาเป็น หัวหน้า สู้รบกับพวกของเทพสิงห์ เจ้าองค์นกก็ลาสิกขาบทออกมาเป็นหัวหน้าทำการขับ ไล่เทพสิงห์จนหายสาบสูญไป พวกพม่ารามัญและชาวเมืองจึงพร้อมใจกันเชิญเจ้าองค์นก ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ทำพิธีปราบดาภิเษก แล้วขนานพระนามว่า "พระเจ้าหอคำ"
ใน รัชกาลของพระเจ้าหอคำนี้ เมืองเชียงใหม่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อพม่าและไทยกลาง และหัวเมืองต่าง ๆ ในลานนาไทยก็ปกครองตนเองเป็นอิสระนคร พระเจ้าหอคำ ครอง เมืองเชียงใหม่ได้นาน ๓๒ ปี ก็ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๐๒ เจ้าจันทร์ ราชบุตรได้ ครองเมืองต่อมาอีก ๒ ปี เจ้าปัดอนุชาเป็นกบฏ ชิงราชสมบัติได้แต่หาครองเองไม่ กลับไป เชิญเอาเจ้าอธิการวัดดวงดี ลาสิกขาบทออกมาครองเมืองแทน บ้านเมืองในยุคนี้ยุงเหยิง ไม่เป็นปกติสุข ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๖ พม่ามีกำลังเข้มแข็งขึ้น พระเจ้ามังระจึงให้โป่อภัย คามินี ยกกองทัพมาตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้ เชียงใหม่จึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกครั้ง หนึ่ง และต่อมาอีก ๑๒ ปี พระยาจ่า-บ้านกับพระยากาวิละ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยา สุละวะฤาชัยสงคราม (ทิพช้างแห่งนครลำปาง) ได้คิดกอบกู้อิสรภาพ และนำเอาเมือง เชียงใหม่ไปขึ้นกับไทยกลาง (ตรงกับรัชกาลของพระเจ้ากรุงธนบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๗ แต่พม่ายังมีอิทธิพลปกครองเมืองเชียงแสนอยู่
ต่อ มา พ.ศ.๒๓๔๗ ถึงจะขับไล่พม่าออก พ้นดินแดนลานนาไทยได้สำเร็จ พม่าพยายามจะมาตีเอาเมืองเชียงใหม่คืนหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ เพราะชาวเมืองซึ่งได้รับการกดขี่ข่มเหงจากพม่ามาแล้วอย่างแสนสาหัส ไม่ ยอมที่จะอยู่ในอำนาจการปกครองของพม่าอีกต่อไปแล้ว และได้รวมกำลังกันต่อสู้พม่า อย่างยอมถวายชีวิต ชนิดที่เรียกว่า ตายเสียดีกว่าที่จะเป็นขี้ข้าพม่า ชาวลานนาไทยจึงต่อสู้ อย่างดุเดือด พม่าไม่สามารถเอาชัยชนะได้ กอปรกับ มีกองไทย(กลาง) คอยช่วยเหลืออยู่ เสมอ พม่าจึงเป็นฝ่ายปราชัยไปทุกครั้ง
เนื่อง จากบ้านเมืองถูกพวกพม่ารบกวนบ่อย ๆ นี้เองทำให้บ้านเมืองกลายเป็นเมืองร้างไป เพราะผู้คนไม่กล้าอยู่ พระยาจ่าบ้าน ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งจากพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เป็นที่ "พระยาวชิรปราการ" เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ เป็นคนแรก เห็นว่าพม่ายกมารุกรานบ่อยนัก และเมืองเชียงใหม่ก็กว้างขวาง ไพร่พลก็ มีน้อย ยากแก่การรักษา จึงย้ายไปตั้งอยู่ที่เมืองป่าซาง ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะกว่าและอุดม สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเมื่อเสียทีแก่พม่าก็ล่าถอยไปทางใต้ได้ง่าย เมือง เชียงใหม่ได้กลายเป็นเมืองร้างไปจนถึงปี พ.ศ.๒๓๓๙ พระเจ้ากาวิละ หรือพระเจ้าบรมราชาธิบดี ฯ พระเจ้าเชียงใหม่องค์ที่ ๑ จึงได้เอาครอบครัวพลเมืองเข้ามาตั้งใหม่ แล้ว ขนานนามเมืองใหม่ว่า "เมืองรัตนติงสาอภินวปุรี" และได้บูรณปฏิสังขรณ์บ้านเมืองและวัด วาอาราม ที่ปรักหักพังรกร้างไปนั้น ให้กลับฟื้นคืนคงจนเจริญรุ่งเรืองมาตราบกระทั่งทุกวันนี้
ราชวงศ์ทิพจักราธิวงศ์
ที่ครองพระนครเชียงใหม่ มีรายพระนามดังนี้
ต่อด้านล่าง