รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ตำแหน่งปกครองในล้านนา

  • 0 ตอบ
  • 1925 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ตำแหน่งปกครองในล้านนา
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2018, 08:49:30 PM »
ตำแหน่งปกครองในล้านนา (เชียงราย?)

พ่อเมืองมีที่ปรึกษา 4 ท่าน เรียก เรียกทั้งคณะว่า "เถ้าสรีเมือง" หรือ มนตรี เรียกเป็นสามัญว่า "ต้าวตังสี่-ท้าวทั้งสี่" ถ้าเรียกรายตัวว่า
1. ราชครูเมือง
2. อาจารย์หลวง
3. โหราหลวง
4. ต๋าเมือง คือ ตาเมือง ในเมืองเชียงตุงเรียก พญาประสาท
ก. ราชครูเมือง เป็นพระสังฆราชา เรียกเป็นสามัญว่า "หัวหน้าคณะฝ่ายหนใน" หมายความว่า "ฝ่ายปฏิบัติตนใกล้หรือเหมือนกับพระพุทธจริยาวัตร"
ข. อาจารย์หลวง คือ นักปราชญ์ เรียกเป็นสามัญว่า "หัวหน้าคณะหนฝ่ายนอก" หมายความว่า "ฝ่ายปฏิบัติไม่ครบอย่างพุทธจริยาวัตร" เป็นคฤหัสถ์ที่ได้บวชเรียนทรงความรู้เท่าๆ กับราชครูเมือง แล้วสึกออกมามีหน้าที่ให้คำแนะนำพ่อเมืองในการพิพากษาเทียบได้กับ "อธิบดีศาลฎีกา" และเป็นหัวหน้าชาวเมืองประกอบการกุศลบางครั้งก็เป็นผู้วินิจฉัยปัญหาในพระไตรปิฎก และให้คำแนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณร
ค. โหราหลวง คือ โหรหลวง มีหน้าที่ทางพยากรณ์โชคลางและวิธีในไสยศาสตร์ บางคนก็เป็น "พ่อเลี้ยง" คือแพทย์เรียกกันเป็นสามัญว่า "พ่อหมอเถ้า" ถ้าอยู่ในวัยชราเรียกว่า "ปู่เจ้า"
ง. ต๋าเมือง ตาเมือง เป็นที่พระนามหาอุปราชเทียบอย่างง่ายๆว่า "นายกรัฐมนตรี"

"ยศบริวาร" คือ เสนาอำมาตย์แบ่งเป็นส่วนส่วนดังนี้
1. หัวสาม เห็นจะตรงกับ "อาลักษณ์" หรือ "เลขาธิการคณะรัฐบาล" มีหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารและการคลังมีตำแหน่งขึ้นอยู่หัว 3 อย่างคือ
ก. หัวศีล เห็นจะตรงกับ "สังคการี"
ข. หัวเมืองแก้ว ทำกิจต่างเมือง หรือ การต่างประเทศ
ค. หัวคลังแก้ว นายคลัง
นอกจากนี้ยังมีตำแหน่ง "ม้าแข้งเหล็กหรือผู้เดินทน" กับ "ม้าแข้งไฟหรือผู้เดินเร็ว" ขึ้นอยู่กับหัวสามอีก 2 ตำแหน่ง เข้าใจว่า "ม้าแข้งเหล็ก" จะตรงกับ "ทหารรักษาวัง " ทางเมืองเชียงใหม่เรียกตำแหน่งนี้ว่า "เขน" แปลว่า สู้หรือต่อสู้ ส่วน "ม้าแข้งไฟ" เห็นจะตรงกับ "ตำรวจวัง" คำนี้ทางเมืองเชียงตุงเรียกว่า "แย" เห็นจะเป็นภาษาพม่าทำหน้าที่อยู่ยามและรับใช้
2. หัวสนาม บางทีเรียก "อะธิปติ: เห็นจะได้แก่ เจ้ากรมต่างๆ ฝ่ายพลเรือน เรียกเป็นสามัญว่า "จ๊ะเร" คำนี้ใกล้เคียงกับภาษาเขมรว่า "สเสร" ซึ่งแปลว่าเสมียน

คำว่า "สนาม" ตรงกับศาลากลางจังหวัดหรือศาลถ้าพ่อเมืองไปนั่งทำการที่สนามเทนนิสสนามนั้นเรียกว่า"เค้าสนามหลวง"

3 หัวสึก บางทีเรียกว่า "ขุนพล" ตรงกับ "แม่ทัพนายกอง" มีตั้งแต่หัวสิบหรือนายสิบ ผู้บังคับหมู่ หัวซาวหรือนายหมวด ผู้บังคับหมวด หัวร้อยหรือนายร้อย ผู้บังคับกองร้อย หัวพันหรือนายพัน ผู้บังคับกองพัน หัวหมื่นหรือนายพล ผู้บังคับการกองพล เจ้าแสนหรือแม่ทัพ ตำแหน่งชั้นเจ้าแสนนั้นบางทีเรียก "ขุนพลแก้ว" แต่เรียกตามคุณสมบัติ

ยศบริวารต่างๆ ที่สรรพนามมานี้ ตาเมืองหรือ พญามหาอุปราช เป็นหัวหน้าพญามหาอุปราชนั้นมีหน้าที่โดยเฉพาะ 2 อย่าง คือ จัดการปกครองบ้านเมืองและพิพากษาคดีต่างๆที่เรียกว่า "วัวพันหลัก" เห็นจะตรงกับ อุทลุม น่าจะเทียบได้กับ อธิบดีศาลอุทธรณ์

บันทึกไว้สมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ.2485

ที่มา : หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาส 777 ปี ชาตกาลพระญามังรายหลวง,อภิชิต ศิริชัย,สนพ.ล้อล้านนา,เชียงราย,2558
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้