รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


กษัตริย์องค์สุดท้าย ของชาว "ไทลื้อ" สิ่นพระชนม์แล้ว

  • 0 ตอบ
  • 1984 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
กษัตริย์องค์สุดท้าย ของชาว"ไทลื้อ"

'เจ้าหม่อมคำลือ"สิ่นพระชนม์แล้ว
เมื่อตีสองวันนี้ 1/10/60

“เจ้าหม่อมคำลือ” ซึ่งถือเป็น
“กษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ”
แคว้นปกครองชนชาติตนเองไทสิบสองปันนา
“เจ้าหม่อมคำลือ” ปัจจุบันพำนักในบ้านพักที่รัฐบาลจีนจัดให้ ในเขตจินนิ๋วเสี่ยวชี เมืองคุนหมิง
พร้อมด้วยภริยา และบุตรสาวคนโตและลูกเขย
เจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรของ เจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม


เจ้า หม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928
และไปเรียนหนังสือที่เมืองจุงกิงเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี


อย่าง ไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้ บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสน เมือง พระ ราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ


หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้ว ท่านได้เรียนหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953 ก่อนที่ จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้ง สองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาล จีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำ งานในสวนอ้อยใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี


การ ใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วย และหลังจาก เติ้ง เสี่ยว ผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาด ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน จนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์”


อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้ว ทางการจีนได้ให้ฐานะ ทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว


ปัจจุบัน (ปี2552)เจ้าหม่อมคำลือมีอายุ 82 ปี
อาศัยอยู่ ในเมืองคุนหมิง ประเทศจีน มีบุตร 4 คน เป็นชาย 2 หญิง 2 ซึ่งรับราชการทั้งหมด ชีวิตที่เมืองคุนหมิงของท่านเป็นชีวิตที่เรียบง่ายและสงบ แม้ว่าจะมีโรคประจำตัวคือโรคเกาต์ แต่ท่านก็ยังดูสุขภาพดี เช่นเดียวกับภรรยาของท่านในวัย 80 ปี ที่ก็ยังแข็งแรงดี

ทั้ง นี้ เจ้าหม่อมคำลือมีพระอนุชาชื่อ เจ้าหม่อมมหาวัง อยู่ที่แม่สาย จ.เชียงราย ของไทย แต่ปัจจุบันก็สิ้นแล้ว คงเหลือแต่ลูก ๆ ซึ่งอยู่ที่แม่สาย และรวมถึงในกรุงเทพฯ ที่ใช้ นามสกุล “คำลือ” เพื่อเป็นที่ระลึกถึง “เจ้าหม่อมคำลือ”

อาณาจักรไทเดิม-ศักดินาจารีต

แคว้นปกครองชน ชาติตนเองไทสิบสองปันนา ในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ปัจจุบันนี้ ในอดีตเป็น “หอคำเชียงรุ่ง” เป็นอาณาจักรไทลื้อที่ปกครองด้วยระบบศักดินาแบบจารีตที่มีเจ้าแผ่นดินไทเป็น ประมุข เชียงรุ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอาณาจักรไทเดิมในภูมิแหลมทองตอนบน

ต่อ มาอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง โกสัมพี (ใต้คง) แสนหวี เชียงตุง ฯลฯ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงตาม ๆ กัน โดยล้านนาได้ถูกผนวกเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศไทย ล้านช้างตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แสนหวี เชียงตุง ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ โกสัมพีถูกสำนักราชวงศ์หมิงของจีนยุบอาณาจักร

มี แต่หอคำเชียงรุ่งที่แม้ว่าตกอยู่ใต้อาณัติของจีน แต่จีนก็อนุญาตให้เจ้าแผ่นดินเชียงรุ่งปกครองตามระบอบศักดินาเหมือนเดิม จนกระทั่งถึงยุคที่จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสังคมนิยม

หอคำ เชียงรุ่ง สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1703 ถูกเปลี่ยนการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2493 โดยในกาลเวลา 790 ปีนั้นหอคำเชียงรุ่งอยู่ภายใต้การปกครองของ “ราชวงศ์พญาเจือง” หรือ “ราชวงศ์อารยะโวสวนตาน” ถึงแม้เคยเกิดการสู้รบแก่งแย่งอำนาจการสืบราชสมบัติภายในเชื้อพระวงศ์ แต่ราชสำนักที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ยังเป็นราชวงศ์พญาเจือง โดยมิได้เปลี่ยนแปลงเป็นราชวงศ์อื่นใดเลย

ดังนั้น “หอคำเชียงรุ่งที่มีประวัติยาวนาน 790 ปี ถือเป็นอาณาจักรไทเดิมหนึ่งเดียวที่มีระบอบศักดินาแบบจารีตยาวนานที่สุดในแหลมทอง”.

ชีวประวัติจาก บทความเก่า
รายงานโดยสุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล : รายงาน
Daily News Online
29 พ.ย.52

ขอขอบคุณเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้