รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


เมืองสิง ไทลื้อแห่งอาณาจักรเชียงแขง | ประวัติศาสตร์นอกตำรา

  • 0 ตอบ
  • 9 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 684
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ดูได้ที่ https://youtu.be/GsNAEXnWpGg?si=8W47cGMDvVtghjgF

เมืองสิง ไทลื้อแห่งอาณาจักรเชียงแขง I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.255

เมืองสิง เมืองชายแดนเล็ก ๆ ของแขวงหลวงน้ำทา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ สปป.ลาว  เป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจสุดท้ายของรัฐเชียงแขง รัฐไทลื้อเล็ก ๆ ที่ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าในลุ่มน้ำโขงตอนบน  ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทั้งในพม่าและลาว  แต่ต่อมาเชียงแขงก็ต้องล่มสลายลงด้วยการตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ สปป.ลาวในปัจจุบัน
     ในปี พ.ศ.2347 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ร. 1 ทรงสถาปนากรุงเทพ ฯ แล้ว พระองค์โปรดให้กองทัพหัวเมืองเหนือยกขึ้นไปทำลายอิทธิพลของพม่าในดินแดนเชียงตุง และเชียงรุ่ง  โดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสองส่วน
       กองทัพเชียงใหม่ และลำปางยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เข้าตีเมืองยอง และเชียงตุง
       ส่วนกองทัพเมืองน่าน และหลวงพระบางยกขึ้นไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง มุ่งสู่ดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองปันนา
       การยกทัพไปตีดินแดนสิบสองปันนา  เมืองเชียงรุ่งไม่ต่อสู้ขัดขืน ในคราวนั้นกองทัพน่าน และหลวงพระบางสามารถตีเมืองน้อยใหญ่ได้ 11- 12 เมือง รวมถึงเชียงแขง และยังกวาดต้อนผู้คนลงมาได้ราว 4-5 หมื่นคน
      กองทัพน่านยังยกเข้าตีเชียงแขงอีกครั้งในปี 2356 ตรงกับสมัย ร.2 ของไทย  ครั้งนั้นเจ้าสุมนเทวราช ผู้ครองนครน่านได้เกณฑ์เจ้าเมืองและราษฎรเกือบทั้งหมดลงมา  จนเชียงแขงแทบกลายเป็นเมืองร้าง  โดยปัจจุบันยังปรากฏชาวลื้อจำนวนมากจากเชียงแขงตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองน่านมาจนถึงทุกวันนี้
      ในราว พ.ศ. 2403 เมืองเชียงแขงย้ายหอคำและศูนย์กลางอำนาจข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งตะวันตกที่เมืองยู้ ตั้งชื่อว่า “เวียงจอมทอง” ปัจจุบันอยู่ในเขตรัฐฉานของพม่า
       ต่อมา ในปี พ.ศ.2426  ตรงกับสมัย ร. 5 ของไทย  เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำได้อพยพผู้คนไทลื้อ และไทเหนือราว 1,000 คน จากเมืองยู้ มาร่วมกันสร้างศูนย์กลางอำนาจแห่งใหม่ขึ้นที่เมืองสิง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง อันเป็นดินแดนที่เวลานั้นอยู่ภายใต้อำนาจของเมืองน่าน ซึ่งน่านอยู่ภายใต้อำนาจสยามอีกทอดหนึ่ง
       เมื่อย้ายศูนย์กลางเชียงแขงมาที่เมืองสิงแล้ว    ในปี พ.ศ. 2432 ด้วยการเชื้อเชิญผ่านเมืองน่าน เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำได้จัดส่งเครื่องราชบรรณาการลงไปถวายต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อขอเป็นเมืองในขอบขัณฑสีมาของสยาม 
       ในปี พ.ศ.2433 เมื่ออังกฤษขยายอำนาจเข้าปกครองรัฐฉานไว้ได้แล้ว  การเปิดเจรจาเรื่องดินแดนกับสยามในราวต้นปี พ.ศ. 2434 ซึ่งรวมถึงสถานะของรัฐเชียงแขงก็ได้เริ่มขึ้น เพราะอังกฤษต้องการจะเข้าควบคุมเส้นทางการค้าสำคัญที่เชื่อมโยงโดยตรงจากพม่ากับทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน 
      การเจรจาที่ยังไม่ได้ข้อยุติระหว่างสยามและอังกฤษเกี่ยวกับสถานะของเชียงแขงถูกชะลอออกไป จนกระทั่งในช่วงต้นปี 2435 ได้เกิดอีกหนึ่งขั้วอำนาจยื่นมือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นคือ “ฝรั่งเศส”
      ต่อมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ ร.ศ 112  หรือวิกฤตการณ์ปากน้ำ  เป็นเหตุให้ไทยยอมทำความตกลงฝรั่งเศส-สยามในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2436  สยามต้องสละสิทธิทั้งหมดในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำให้แก่ฝรั่งเศส  ซึ่งนั่นหมายถึงเชียงแขงได้กลายเป็นดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้ฝรั่งเศสไปโดยปริยายตามข้อตกลงที่ว่านั้น
         ในเดือนมกราคม 2438 ตัวแทนของอังกฤษและฝรั่งเศสได้พบกันที่เมืองสิง เพื่อตกลงกันเรื่องดินแดนเชียงแขง  แต่ในที่สุดอังกฤษก็สั่งทหารจากเชียงตุงให้เข้าบุกยึดเมืองสิงไว้ เป็นเหตุให้เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำต้องหนีไปยังเมืองหลวงน้ำทาดินแดนอิทธิพลของฝรั่งเศส
       ความขัดแย้งเรื่องเชียงแขงระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส สิ้นสุดลงในเดือน พ.ค.ปี 2439     ทั้งสองฝ่ายตกลงทำอนุสัญญากำหนดการแบ่งอาณาเขตโดยใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งแดน  ทำให้รัฐเชียงแขงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ    ส่วนด้านตะวันออก รวมถึงเมืองสิงห์ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส   
       เมื่อกองทัพอังกฤษก็ถอนตัวออกจากเมืองสิงกลับไปพม่าแล้ว ไม่นานเจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำก็กลับเข้าสู่เมืองสิง อันมีสถานะใหม่ในฐานะรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส
       เจ้าฟ้าสะหรีหน่อคำปกครองเมืองสิงอีกเพียงไม่นาน ก็สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคมะเร็งหัวเสือที่จมูกในปี 2443     หลังจากนั้น “เจ้าฟ้าองค์คำ” รัชทายาทองค์โตก็ขึ้น สืบราชสมบัติแทน   แต่อีกเพียง 7 ปีต่อมา  เจ้าฟ้าองค์คำก็ต้องหนีไปยังเมืองเชียงรุ่ง หลังพยายามคิดการกบฏต่อฝรั่งเศสและได้สิ้นพระชนม์ลงที่นั่น  จากนั้นฝรั่งเศสได้เข้าปกครองเมืองสิงโดยตรง นับเป็นการสิ้นสุดระบบเจ้าฟ้าแห่งรัฐเชียงแขงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
      ฝรั่งเศสได้รวมเมืองสิง และเมืองไทลื้อที่เหลืออยู่มาขึ้นกับอาณาจักรล้านช้างร่มขาว กระทั่งเมื่อลาวได้รับเอกราช เมืองสิงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสปป.ลาว มาจนถึงปัจจุบัน
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้