รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


เชื้อสายราชวงศ์มังราย

  • 0 ตอบ
  • 4694 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 684
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
เชื้อสายราชวงศ์มังราย
« เมื่อ: มกราคม 03, 2012, 12:15:23 PM »
เชื้อสายราชวงศ์มังรายตอนนี้เท่าที่พอยืนยันได้เหลืออยู่แค่สายเชียงตุงครับ
เพราะราชวงศ์มังรายส่งลูกหลานไปปกครองเชียงตุง
(ส่วนสายเลือดจะจริงเท็จประการใดต้องพิสูจน์กันต่อไป)
โดยเจ้าตอนนี้ส่วนมากสืบเชื้อสายมาจากเจ้าก้อนแก้วอินทแถลง
เจ้าฟ้าเชียงตุง ระหว่าง พ.ศ.2439-2478

เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง หรือที่ชาวเชียงตุงนิยมเรียกว่า เจ้าฟ้าเฒ่า เป็นโอรสองค์ที่ 5 ของเจ้าฟ้าโชติกองไท ซึ่งขึ้นเป็นเจ้าหอคำเชียงตุงสืบแทนเจ้าพี่คือเจ้าฟ้ามหาพยัคฆโชติ ที่สิ้นพระชนม์ใน ปี พ.ศ. 2441

ตลอดเวลาที่เจ้าฟ้าก้อนแก้วอินแถลงครองเมืองเชียงตุง พระองค์ได้สร้างความเจริญแก่เมืองเชียงตุงเป็นอย่างมาก เช่น การสร้างถนนหนทาง ทำนุบำรุงพระศาสนา เช่น สร้างวัดหลายแห่ง และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ เช่นวัดหัวข่วงที่ถูกไฟไหม้ก็สร้างใหม่แล้วยกเป็นวัดหลวง มีการสร้างวัดพระเจ้าหลวงประดิษฐานพระพุทธมหามัยมุนีจำลองมาจากเมืองมัณฑะเลย์ สร้างหอหลวงใหม่เป็นตึกแบบอินเดีย บ้านเรือนเจ้าแม่เจ้านางได้เปลี่ยนเป็นตึกแบบใหม่หมด สร้างที่อาบน้ำที่น้ำพร้อมนอกเมือง รวมความว่าสิ่งใดที่จะนำความเจริญมาสู่บ้านเมือง ท่านผู้นี้ก็ได้พยายามจัดขึ้นทำขึ้น

การติดต่อกับเพื่อนบ้านก็ให้ตัดถนนเป็นทางรถยนต์ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนติดต่อกับเชียงตุง ทางตะวันตกก็มีทางรถยนต์ติดต่อกับตองยี กับได้ทำความสัมพันธ์กับเจ้านายพื้นเมืองทางเชียงใหม่และลำปางโดยทางแต่งงานของราชบุตรเป็นต้น โดยได้ปฏิบัติงานเป็นที่เรียบร้อยและเป็นที่พอใจแก่อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม จนรัฐบาลอังกฤษได้ยกให้เป็น C.I.E. (Companion of the Indian Empire)

เจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง มีชายา 6 พระองค์ มีโอรส-ธิดารวม 19 พระองค์ ได้แก่

เจ้าแม่ปทุมามหาเทวี ราชธิดาเจ้าเมืองสิงห์ เป็นมหาเทวี (มเหสีเอก) มีราชธิดา 1 องค์ และราชบุตร 1 องค์ คือ
เจ้าหญิงทิพย์เกษร
เจ้าฟ้าสิริสุวรรณราช ยสสรพรหมลือ (พรหมลือ ณ เชียงตุง) (ต้นสกุล ณ เชียงตุง ได้สมรสกับเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง (พ.ศ. 2446-2532) หลานสาวของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เจ้าหลวงลำปางองค์ที่ 13 (มารดาคือเจ้าหญิงฝนห่าแก้ว เป็นธิดาเจ้าหลวงลำปาง)

เจ้านางจามฟอง เดิมเป็นสามัญชนมีราชบุตร-ราชธิดารวม 6 องค์ คือ
เจ้าฟ้ากองไท (ได้เป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงต่อจากเจ้าพ่อ)
เจ้าอินทรา (ได้เป็นบุตรบุญธรรมเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ)
เจ้าปราบเมือง
เจ้าขุนศึกสุวรรณสงคราม (ต้นสกุล ขุนศึกเม็งราย ได้สมรสกับนางสาวธาดา พัฒนถาบุตร ธิดาของแม่บัวจันทร์และนายดาบแดง พัฒนถาบุตร (2430-2523) คหบดีบ้านวัวลาย เชียงใหม่)
เจ้านางบัวสวรรค์
เจ้านางฟองแก้ว

เจ้านางบัวทิพย์หลวง หรือเจ้านางทิพย์หลวง มี 5 องค์ ได้แก่
เจ้านางแว่นแก้ว (เป็นมหาเทวีเจ้าฟ้าลอกจอก)
เจ้านางสุคันธา ณ เชียงตุง (สมรสกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9)
เจ้านางแว่นทิพย์ (เป็นชายาเจ้าฟ้าแสนหวี แต่ภายหลังหย่าร้าง)
เจ้าสิงห์ไชย
เจ้าแก้วมาเมือง

เจ้านางแดงหลวง มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้าสายเมือง
เจ้านางจันทร์ฟอง (สมรสกับข้าราชการป่าไม้ชาวสยาม)

เจ้านางบุญยวง มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้านางฟองนวล
เจ้าบุญวาทย์วงศา (ท่านผู้นี้มีบทบาทในการต้อนรับกองทัพไทยที่บุกเข้าเชียงตุงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพพายัพของไทย ซึ่งนำโดยหลวงเสรีเริงฤทธิ์ (พลเอกจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) ได้ใช้คุ้มของท่านผู้นี้เป็นกองบัญชาการ)

เจ้านางบัวทิพย์น้อย มี 2 องค์ ได้แก่
เจ้านางบัวน้อย
เจ้ายอดเมือง

ขอขอบคุณ เชียงรายโฟกัส และคุณเชียงรายพันธุ์แท้
อ้างอิงจาก th.wikipedia.org
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้