รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ภาพเก่า กว๊านพะเยา (หนองนกเอี้ยง) จ.พะเยา

  • 0 ตอบ
  • 2248 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
“กว๊านพะเยา” เป็นชื่อบึงน้ำจืดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศที่จังหวัดพะเยา “กว๊าน” หรือเขียนตามอักษษรล้านนาว่า “คว้าน” หมายถึงบริเวณที่กระแสน้ำกระแทกตลิ่งให้ขยายตัวออก ซึ่งอาจหมายความว่าทะเลสาบได้ด้วย แต่ก่อนที่จะเป็นกว๊านพะเยาอย่างปัจจุบันนั้น บริเวณดังกล่าวคือ “หนองนกเอี้ยง” ที่ในฤดูฝนมีน้ำมาก ในฤดูแล้งแห้งขอด ขาดแคลนน้ำเข้าขั้นวิกฤติ ถึงขนาดชาวบ้านต้องขุดบ่อน้ำกันทีเดียว

นายเต่า กัลยา เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพะเยา สำรวจพื้นที่กว๊านพะเยาเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2462 บันทึกว่า หนองกว๊านอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากน้ำแม่อิง [คนเหนือเรียกแม่น้ำว่า น้ำแม่] 25 เส้น กว้าง 50 เส้น ยาว 50 เส้น ระดับน้ำตามปกติในเดือนกันยายนตามบริเวณโดยรอบน้ำท่วม ลึกประมาณ 1 ศอก ตอนกลางน้ำลึก 1 วา 3 ศอก บริเวณโดยรอบเป็นป่าไผ่และไม้กระยาเลยอยู่ห่างจากหมู่บ้านในเวียงประมาณ 4 เส้น เมื่อแบ่งกว๊านออกเป็น 4 ส่วน ก็จะได้ส่วนละ 25 เส้น

พื้นที่หนองกว๊านมี 2 ตอน เรียก “กว๊านน้อย” อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นร่องลำรางนำขึ้นไปหาขาน้ำแม่ตุ่น เยื้องไปหาชายบ้านสันเวียงใหม่ กับ “กว๊านหลวง” อยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้น้ำแม่อิงฝั่งขวา มีร่องน้ำผ่ากลางเชื่อมติดต่อกัน “แม่ร่องน้อยห่าง” บริเวณรอบหนองกว๊านมีหนองน้ำหลายแห่ง และมีลำรางร่องน้ำเชื่อมถึงกันทั้งหมด ที่เชื่อมกับน้ำแม่อิงเรียกว่า “ร่องเหี้ย” ไหลเชื่อมกว๊านหลวงกับน้ำแม่อิง ทั้งยังมีบรรดาลำรางร่องน้ำลำห้วยที่มีลำธารไหลมาจากภูเขาต่างๆ อีกด้วย

ก่อนปี 2484 หนองกว๊านจะมีน้ำมากเฉพาะฤดูฝน (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) หลังจากนั้นน้ำจะลดลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่ลำคลองหรือแม่น้ำที่ไหลลงกว๊านน้อยกับกว๊านหลวงเท่านั้น ส่วนหนองกว๊านทางใต้กับทางเหนือน้ำจะแห้งขอดจนเดินข้ามได้สะดวก ชาวบ้านที่อยู่ตามชนบทฝั่งตรงข้าม สามารถเดินทางไปมาเข้าสู่ตัวเมืองพะเยาได้อย่างสะดวกและมักจะนำพืชผลสินค้าทางเกษตร เช่นจำพวก ข้าว ครั่ง บรรทุกเกวียนมาขาย ส่วนแม่ค้าก็จะหาบของมาขายเช่นจำพวกของป่า และพืชผักต่างๆ มาขายที่ตลาดในเมืองตอนเช้า

แต่เมื่อเมืองขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้น ก็เกิดปัญหาตามมานั่นคือ การขาดแคลนน้ำ ปี 2447 ทางราชการคิดแก้ปัญหาโดยจะย้ายเมือง ไปอยู่บริเวณบ้านแม่ต๋ำหล่ายอิง แต่พื้นที่ๆ จะอพยพไปอยู่นั้นเป็นชุมชนของพวกเงี้ยว ความบาดหมางและความหวาดกลัวจากกรณีเหตุการณ์กบฏเงี้ยวก่อการจลาจลในภาคเหนือเมื่อปี 2445 ยังไม่จางหาย จึงทำให้ประชาชนในเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองไม่ค่อยยอมอพยพไปอยู่ในพื้นที่ใหม่

เมื่อการย้ายเมืองไม่ประสบผลสำเร็จ ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคไปอีกหลายปี แต่การขาดแคลนน้ำให้เกิดอาชีพใหม่เกิดขึ้นคือ อาชีพขายน้ำ จะมีชาวบ้านไปตักน้ำที่บ่อกลางกว๊าน ใส่ปี๊บบรรทุกเกวียนไปขายในตัวตลาด

ระหว่างปี 2482-84 ราชการได้สร้างทำนบและประตูน้ำกั้นขวางน้ำแม่อิง บริเวณส่วนที่ไหลออกจากหนองกว๊านทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อระดับน้ำถูกควบคุมโดยการปิด-เปิดประตูน้ำ จึงทำให้หนองน้ำธรรมชาติเปลี่ยนสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จากหนองกว๊านย่อยๆ รวมกันเป็น “กว๊านพะเยา”

ชาวบ้านกำลังตักน้ำในบ่อกลางกว๊าน บรรทุกไปขายในตัวเมืองพะเยา (ภาพจาก หนังสือภาพ “เมืองไทย” กรมโฆษณาการปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2484)
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้