รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ถนนดอนสนาม รั้วด้านขวาคือ ที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาหลังเก่า

  • 0 ตอบ
  • 4262 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ฤกษ์วันตั้งเมืองพะเยาในยุคฟื้นฟูเมืองสมัยรัชกาลที่ 3
  เมืองพะเยาเคยตกเป็นเมืองร้างไปนานถึง56 ปีเนื่องจากสงครามไทยกับพม่าในสมัยกรุงธนบุรี นับตั้งแต่พ.ศ. 2330 เป็นต้นมาและกระทั่งบ้านเมืองเริ่มสงบสุข จึงได้รับการฟื้นฟูเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้งปีพ.ศ. 2386 สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
   พระยานครน้อยอินทร์ เจ้าหลวงนครลำปางกราบบังคมทูลให้รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งหัวเมืองพะเยาและงาวขึ้นต่อนครลำปาง และทรงแต่งตั้งเจ้าพุทธวงศ์ อุปราชนครลำปางเป็น"พระยาประเทศอุดรทิศ" ตำแหน่งเจ้าหลวงเมืองพะเยา
   จุลศักราช 1205   ปีเถาะ เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ (12 เม.ย. พ.ศ. 2386) พระยาประเทศอุดรทิศ(เจ้าหลวงพุทธวงศ์)พร้อมทั้งข้าราชบริพารและไพร่พลมาถึงเมืองพะเยาเพื่อเตรียมการฟื้นฟูเมืองและได้เสด็จประทับแรมชั่วคราวอยู่นอกเวียงที่บ้านสันเวียงใหม่ ตำบลตุ่น
   จุลศักราช 1206 ปีมะโรง เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ (19 มี.ค. 2387) พระยาประเทศอุดรทิศ ทำพิธีบวงสรวงเทพาอารักษ์บ้านเมืองในแขวงเมืองพะเยาและได้เกณฑ์ไพร่พลจำนวน 600 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองและสร้างเหย้าเรือน ตลอดจนที่ทำการราชการเมือง
   จุลศักราช 1206 ปีมะโรง เดือน 6 (หรือเดือน 8 ภาคเหนือ) ขึ้น 15 ค่ำ วันพุธ เวลายามแตรขึ้นสู่เที่ยงวัน( 11.30-12.00 น.)  ( 1 พ.ค. 2387) เป็นฤกษ์วันตั้งเมืองพะเยา(อีกครั้ง) หลังจากการฟื้นฟูเมืองแล้วเสร็จ เจ้าพุทธวงศ์ เจ้าหลวงพะเยา พร้อมทั้งเจ้าอุปราช(เจ้ามหายศ),เจ้าราชวงศ์(เจ้าแก้วมนุษย์) , เจ้าราชบุตร(เจ้าอริยะ),เจ้าบุรีรัตน์(เจ้าแก้วขัติยะ)และเหล่าประยูรญาติกับราษฏรและไพร่พลได้ยกเข้าเมือง โดยมีการเชิญท้องตราพระราชสีห์หรือหนังสือแต่งตั้งเมืองแห่นำหน้าขบวน นอกจากนั้นได้มีการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดต่างๆในตัวเวียงมาสวดเจริญพุทธมนต์ กับมีการบวงสรวงเทพาอารักษ์ของเมืองและการทำบุญทำทานเป็นเวลา 3 วัน
   จุลศักราช 1207  เดือน 3 ขึ้น 5 ค่ำ ( 11 กุมภาพันธ์  2388)เจ้าหลวงนครลำปางได้เกณฑ์คนจำนวน 1,500 คนไปช่วยสร้างกำแพงเมืองพะเยา ซึ่งเดิมมีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอันมาก
  ข้อมูลอ้างอิง:  - บันทึกครูบาศรีวิลาสวชิรปัญญา อดีตเจ้าคณะแขวงเมือง
                          พะเยา
                       - บันทึกเจ้าหนานเลาแก้ว ศีติสาร อดีตปลัดธรรมการเมือง
                          พะเยา
                       -  จดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ 3
ข้อมูลภาพ: บริเวณถนนดอนสนาม รั้วด้านขวามือในภาพคือ ที่ว่าการอำเภอเมืองพะเยาหลังเก่า แต่เดิมเป็นที่ตั้งของเค้าสนามหลวงหรือที่ว่าราชการเมืองในยุคสมัยของเจ้าหลวงเป็นผู้ปกครองเมืองและบริเวณแห่งนี้ถือเป็นจุดสะดือเมืองพะเยา ซึ่งจะประกอบด้วยที่ว่าราชการเมือง ศาลาลูกขุน หอเสื้อเมือง เสาหลักเมืองและคุ้มเจ้าหลวง ปัจจุบันพื้นที่ส่วนหนึ่งในบริเวณดังกล่าวกำลังมีการจัดสร้างศาลหลักเมืองโบราณหรือเสาสะดือเมืองโบราณ ( ภาพจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ )
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้