รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ภาพเก่า ภาพสะพานนวรัฐที่เป็นไม้

  • 0 ตอบ
  • 5103 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 674
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ภาพเก่า ภาพสะพานนวรัฐที่เป็นไม้
« เมื่อ: มกราคม 30, 2021, 07:55:51 AM »
ภาพสะพานนวรัฐที่เป็นไม้ เคยนำลงประกอบบทความเรื่องวันเปิดสะพานในวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1910 สะพานนี้สร้างโดยเคาน์ (Count/Conte) Edmondo Roberti และทีมงาน ท่านเคาน์เป็นวิศวกรส่วนภูมิภาค ในสังกัดกระทรวงกิจการสาธารณะแห่งสยาม (provincial engineer of the Public Work Department of Siam) เขาเข้ามาทำงานในเชียงใหม่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 และสร้างสะพานเสร็จในปี ค.ศ. 1910 ในภาพจะเห็นฉากหลังเป็นดอยสุเทพ ฉะนั้นภาพนี้ น.พ. คล็อด วิลเลียม เมสันน่าจะถ่ายที่ตลิ่งน้ำปิง หน้าคริสตจักรที่ 1 เชียงใหม่ (อาคารคริสตจักรเดิม ที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนในปัจจุบัน) ท่านเคาน์ Edmondo Roberti di Castelvero ผู้สร้างสะพาน จบการศึกษาด้านวิศวกรรมโยธาจาก School of Application for Engineers ที่เมือง Turin เขายังได้สร้างสะพานอีกแห่งหนึ่งที่ลำปาง (สะพานรัษฎาภิเศก) สะพานนวรัฐนี้ ประกอบด้วยส่วนโค้ง 3 ช่วง แต่ละช่วงกว้าง 60 เมตร เป็นสะพานไม้สักล้วน โดยมีส่วนเชื่อมต่างๆ ได้แก่ แผ่นยึดเสา ข้อต่อและหมุดเป็นเหล็ก

ส่วนประวัติการสร้างสะพานในเชียงใหม่นั้น ข้าเจ้าเคยเขียนประวัติไว้แล้ว แต่รู้สึกว่าจะไม่เป็นที่แพร่หลาย จึงขอสรุปสั้นๆ ดังนี้ สะพานข้ามน้ำปิงในเชียงใหม่นั้น มีมาตั้งแต่ราชวงศ์มังรายแล้วแต่ไม่ระบุว่าสร้างด้วยไม้หรือว่าเป็นขัวแตะ แต่หลักฐานที่ยืนยันว่าเป็นสะพานไม้ปรากฎดังนี้

บันทึกปั๊บสาของครูบาเถิ้ม (โสภา โสภโณ) อดีตธุหลวงวัดแสนฝางและวัดพระธาตุดอยสุเทพ แปลโดย พระครูประจักษ์พัฒนคุณ (ถนอม ฐิตายุโก)

จุลศักราช ๑๒๐๕ ตั๋ว ปีก่าเม้า เดือน ๖ เป็ง เมงวัน ๖ หรกุณมี ๔๔๐๑๓๘ เป็นพญาวัน เจ้าม่านมาเชียงใหม่ก็ปีนี้ พ่อเจ้าอุปราชาลุกไต้มาแล้ว หื้อเอาม่านร้องก็ปีนี้ หนานเมืองวินสิกปีนี้ เจ้าพระปกวิหารบุปาก็ปีนี้ ปกหอธรรมวัดมหาวันก็ปีนี้ เดือน ๔ ออก ๑๒ ค่ำ เมงวัน ๔ ขึ้นตั้งเมืองเชียงราย รอดเดือน ๗ ออก ๘ ค่ำ เข้าตั้งเวียงแล เดือน ๓ ออก ๑ ค่ำ วัน ๕ สุริยะคราสกิ๋นกั๋นวันนั้นแล แป๋งขัวหลวงแม่ปิงก็วันนี้แล

จุลศักราช ๑๒๐๙ ตัว ปีเมืองเม็ด เดือน ๖ ดับ เม็งวัน ๔ เป็นพญาวัน หรคุณ ๔๔๑๕๙๙ อวมาณ ๓๙๙ มาสเก็น ๑๔๖๕๓ พระมัตตะพละ ๕๖๙ เจ้าอุปราชาล่องเมืองไต้ เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่ำ นำเอาช้างแดงลงถวายพระมหากษัตริย์เมืองไต้ เดือน ๑๒ ออก ๑๑ ค่ำ เอาควายเขาแก้วยังเมืองเชียงรายเข้ามาในเวียงเชียงใหม่ เดือน ๑๐ ปะถะมะเชียงใหม่ ๙ เหนือ แรม ๖ ค่ำ พ่ำว่าได้วัน ๗ ไตกัดไก้ ยามแตร๋เตี่ยง ได้โอกาสตานขัววันนั้น เดือน ๒ เชียงใหม่ ออก ๔ ค่ำ ปกเสาวิหารวัดร้อยข้อ

[หนังสือที่ระลึกงานฉลองกุฏิ 100 ปี โยนการพิจิตร พ.ศ. 2529 ขออนุญาตแชร์จากโพสต์ของ Nubkao Kiatchaweephan]

ในปี 1837 ร้อยเอก William McLeod มาเชียงใหม่ในสมัยพระยาพุทธวงศ์ บอกว่าสะพานข้ามแม่น้ำปิงเป็นสะพานไม้อย่างดี (ขัวหลวงน่ำปิงสร้างปีจ.ศ. 1205/2386/1843 เสร็จปี 1209/2390/1847 สมัยพญาพุทธวงศ์ แต่ทรงพิราลัยไปก่อนในปี 1208/2389/1846 มีข้อสงสัยว่าแล้วเขาไปเห็นข้วที่ไหน)

ในปี 1860 เมื่อ Sir Robert Schomburgk กงสุลอังกฤษมาเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส เขาบันทึกไว้ว่าสะพานในเชียงใหม่เก่ามากแล้ว เวลากลางคืนเสียงล้อเกวียนดังมากหลับไม่ได้ (นาจะแปลว่าสร้างด้วยไม้)

ประมาณปี 1870 พ่อครูหลวงดาเนียล แมคกิลวารีบันทึกไว้ว่าตอนนี้ยังไม่อยากย้ายไปอีกฝั่งที่พ่อครูวิลสันไปสร้างบ้านไว้แล้วเพราะที่บ้านที่อยู่นี้ (บริเวณเดียวกับศาลาย่าแสงคำมา ปัจจุบันคือสามแยกร้านทองในตรอกเล่าโจ๊ว) มีแรงงานชาวลื้อชาวเขินมาซ่อมสะพานกัน เป็นโอกาสดีในการประกาศศาสนา

ในปี 1871 ร้อยเอก Thomas Lowndes นายทหารอังกฤษมาเชียงใหม่ พักอยู่ใกล้สะพานซี่งตรงกันข้ามมีตลาดนัดและบ่อนการพนัน และเป็นสะพาน ข้ามน้ำปิงเพียงแห่งเดียว
ในปี 1880 นางเคท วิลสัน ภรรยาศจ.โจนาธาน วิลสันเล่าว่าถ้ามองจากระเบียงหน้าบ้านของเรา อีกฟากของแม่น้ำจะเห็นบ้านหมอชีค (บ้านหลังเดิมคือโรงพยาบาลอเมริกันมิชชั่นในเวลาต่อมา) ถัดมาเป็นสะพานมีดอยสุเทพเป็นฉากหลัง

ในปี 1885 มี Mister Holt S. Hallett ชาวอังกฤษมาสำรวจเชียงใหม่ เพื่อสร้างทางรถไฟระหว่างพม่า-ไทย-จีน เขาบันทึกว่าสะพานในเชียงใหม่นั้น เป็นสะพานไม้ (timber bridge)สามารถยกตรงกลางซึ่งสูงกว่าส่วนอื่นราวฟุตหนึ่ง (สร้างโดยไม่ใช้ตะปูและน๋อต) ออกเพื่อให้เรือของพวกเจ้านายแล่นผ่าน เมื่อรถม้าของเขาข้ามสะพาน ต้องถูกยกขึ้นตรงพื้นสะพานส่วนที่ยกได้นี้ และแม่น้ำปิงห่างจากประตูท่าแพชั้นนอก 430 หลา

ในปี 1888 หมอชึคได้รับสร้างสะพานพระเจ้าอินทวิชยานนท์ สร้างเสร็จราวปี 1890 แต่ไม่ได้รับเงินจากพวกเจ้า ซึ่งอ้างว่าสะพานไม่แข็งแรงพอ จึงไม่ยอมจายเงิน หมอชีคจึงเอาช้างมาลองข้ามให้ดู แต่พวกเจ้าก็ยังไม่จ่าย หมอชีคจึงยึดเอาเป็นของตน และผู้ที่จะข้ามสะพานนี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ยังมีข้อมูลด้วยว่า มีงานฉลองสะพานข้ามแม่น่ำปิงหน้าวัดเกตในปี 2420/1877 ถ้าเป็นความจริง แสดงว่าเป็นขัวที่ซ่อมแซมสมัยที่พ่อครูแมคกิลวารีได้เล่าไว้นั้น และยังมีสมัยกบฏพญาผาบ ในปี 2432/1889 คณะผู้ก่อการ มีการนัดกันที่ขัวกุลา จะเป็นไปได้ไหมว่าขัวหมอชีคสร้างเสร็จแล้วในปีนี้ (ไม่ปรากฏหลักฐานอื่น)

ข้อมูลขัวหมอชีค จากในรายงานของศจ.Chalmers Martin อดีตศิษยาภิบาลโบสถ์หนึ่งเชียงใหม่ ในปี 1889 บอกว่าบ้านพ่อครูแมคกิลวารีกับโรงเรียนหญิงอยู่ติดกัน และตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของน้ำปิง มีถนนคั่น มีทิศทางที่แทบตรงกับประตูท่าแพด้านนอก ส่วนขัวเดิมของเชียงใหม่มีมาหลายปีแล้วมีสภาพง่อนแง่น ตอนนี้ถูกน้ำซัดพังไป พวกชาวลาวต้องใช้เรือข้ามฟาก แต่ในหน้าร้อนนิยมลุยน้ำข้ามมากกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าเรือข้ามฝากจำนวน "Three-quarters of a cent"(ไม่ทราบเท่ากับเท่าไร) ขัวที่หมายไว้มนแผนที่นั้น น่าจะตรงหรือใกล้เคียงกับขัวหมอชีค แต่ไม่ใช่ขัวหมอชีคเพราะขัวหมอชีคยังสร้่างไม่เสร็จและกว่าจะพังก็อีกหลายปี

[picture courtesy from Mason Family Photo Album, PC 085 at the Payap University Archives
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้