ภาพเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเมืองเชียงใหม่คนสุดท้าย เดินคู่กับ เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าเมืองน่าน (ขวา) ใน พ.ศ.2469
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 เสด็จเลียบมณฑลพายัพ พระราชราชาเจ้าดารารัศมี จึงได้ชักชวนเจ้านายในมณฑล ทั้งชายหญิงให้ฟ้อนรำรับเสด็จ
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบันทึกว่า ตามประเพณีของทางเหนือแล้ว หากมีแขกต่างบ้านต่างเมืองมาถึง เจ้าเมืองจะต้องออกมาฟ้อนรับ เป็นการแสดงความยินดี รวมถึงการทำขวัญ ที่มีการให้พร ผูกข้อไม้ข้อมือ เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ผู้นั้น ในวันพิธีนั้นรัชกาลที่ 7 พร้อมด้วยสมเด็จฯ พระราชินีประทับ ณ พลับพลา หน้าศาลากลาง (ปัจจุบันที่ตั้งพลับพลาเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) กระบวนนำมาด้วยบายศรีใหญ่ สำหรับรัชกาลที่ 7 “…หลังบายศรีอันหน้าก็ถึงเจ้านายผู้ชาย…คู่หน้าเจ้าหลวงเชียงใหม่ และ เจ้าหลวงน่าน
คู่ที่ 2 เจ้าหลวงเมืองลำพูน และ เจ้าราชบุตร
แล้วก็ต่อมาตามยศและอายุเป็นคู่ ๆ ราว 16 องค์
ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกไว้อีกว่า
“…เมื่อวันสมโภชเมืองเชียงใหม่ วันนั้นมีกระบวนต่าง ๆ ของพวกชาวเชียงใหม่ ทุกชาติ ทุกภาษา แห่นำหน้า แล้วถึงกระบวนบายศรี มีปี่พาทย์นำหน้า พวกเจ้านายผู้ชายเดินตามบายศรี
ที่สำหรับสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเจ้านครเชียงใหม่ เจ้านครน่าน และเจ้านครลำพูน เป็นหัวหน้า ต่อมาถึงเจ้านายชั้นรอง รวมกันกว่า 30 คน แต่ละคน แต่งตัว นุ่งผ้าปักลาย ใส่เสื้อเยียรบับ คาดสำรดประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดินเป็นคู่ ๆ อยู่ข้างหลังบายศรี พอเข้าในบริเวณพลับพลา ก็พร้อมกันยกมือขึ้นกราบถวายบังคม แล้วต่างฟ้อนตรงเข้าไปเฝ้า พวกเจ้านายผู้หญิงก็เดินตามเป็นคู่ ๆ และฟ้อนเข้าไปเฝ้าอย่างเดียวกัน พวกคนดูทั้งไทยและฝรั่งขึ้นไป จากกรุงเทพและชาวเมืองนั้น พากันออกปากว่า สง่างามอย่างแปลก ดูน่าชมเป็นอย่างยิ่ง”
ขอขอบคุณเพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น