ทำไมเรียกสถานที่นี้ว่า "สวนเจ็ดริน"
ภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบันเคยเป็นอาณาจักรเอกเทศ เรียกกันว่า อาณาจักรล้านนา ใน ค.ศ.1411 (พ.ศ. 1411) กษัตริย์ต่างแดนยกกองทับมาสู้รบกับพญาสามฝั่งแกนแห่งอาณาจักรล้านนา กองทัพของพญาสามฝั่งแกนรวมพลังที่เชิงดอยสุเทพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ปัจจุบัน) และสร้างป้อมปราการที่นั่นเพื่อป้องกันพระเจ้าแผ่นดินและอาณาจักรล้านนา
ท้าวยี่กุมกามผู้นำกองทัพหนึ่งมาโจมตีป้อมปราการนั้น ท้าวยี่กุมกามเป็นพระเชษฐาของพญาสามฝั่งแกน องค์ที่สองที่นำกองทัพมาสู้รบคือพระเจ้าไสลือไทแห่งสุโขทัย ผู้บัญชาการของพญาสามฝั่งแกนได้เตรียมกองทัพ โดยใช้เกวียน 200 เล่มล้อมรอบป้อม เมื่อท้าวยี่กุมกามและพระเจ้าไสลือไทเห็นแล้ว มีความเกรงกลัวมาก จึงยกทัพหนีกลับไป
ภายหลัง พญาสามฝั่งแกนทรงเปลี่ยนแปลงป้อมปราการและปริมณฑลเป็นพระราชวัง ใช้เป็นที่ประทับพักผ่อน ทรงตั้งชื่อว่า เวียงเจ็ดลิน เนื่องจากมีเจ็ดลินหรือเจ็ดท่อหรือเจ็ดรางที่ส่งน้ำจากดอยสุเทพเข้าไปใน พระราชวัง
เวียง แปลว่า เมืองที่มีกำแพงล้อม
เจ็ด เป็นตัวเลขแสดงจำนวน
ลิน แปลว่า รางน้ำ
เวียงเจ็ดลินนั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีน้ำศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย เพราะเป็นน้ำที่ไหลมาจากดอยสุเทพซึ่งทำให้พระราชวังนี้มีความสำคัญมากขึ้น น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้พระเจ้ายอดเชียงรายได้นำมาทำน้ำอบเพื่อนำไปสรงพระธาตุดอยตุง และกาลต่อมามีพระราชประเพณีในการใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้ในการสรงมุรธาภิเษกในการเสด็จขึ้นครองเมืองของกษัตริย์ล้านนา
คณะสงฆ์เยสุอิตร่วมกับคณะซิสเตอร์อุร์สุลินได้ซื้อที่ดินแปลงปัจจุบันใน ค.ศ.1965 (พ.ศ. 2508) แปลงนี้อยู่ห่างจากโบราณสถาน เวียงเจ็ดลิน ประมาณ 500 เมตร จึงตัดสินใจว่าจะตั้งชื่อบ้านใหม่ตามชื่อที่เก่าแก่ที่สุดของบริเวณนี้ และเรียกบ้านใหม่ว่า สวนเจ็ดริน
สวน แปลว่า บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก
เจ็ด เป็นตัวเลขแสดงจำนวน
ริน เป็นคำปัจจุบันแทนคำโบราณ "ลิน" และหมายถึงท่อน้ำที่ไหลมาเรื่อยๆ
ท่อน้ำเจ็ดท่อ
สายน้ำเจ็ดสาย
รินน้ำเจ็ดริน