มีการกำหนดความสำคัญของพื้นที่ไม่เท่ากันพื้นที่ที่สำคัญสูงสุด คือ บริเวณสี่เหลี่ยมในกำแพงเวียงชั้นในให้เป็นที่อยู่ของเจ้านายและข้าทาสบริวารอนุญาตให้คนยวนอยู่เท่านั้นสันนิษฐานว่าข้อกำหนดนี้คงใช้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายแล้ว และกำหนดประเภทของไพร่ที่ถูกกวาดต้อนมา หากเป็นช่างฝีมือหรือไพร่ชั้นดีกำหนดให้อยู่ในเมือง เช่น เขิน บ้านนันทารามอยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในและกำแพงเมืองชั้นนอกด้านใต้อพยพมาจากเชียงตุง เชี่ยวชาญการทำเครื่องเขิน ยวน ที่บ้านฮ่อม มาจากเชียงแสน อยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในและกำแพงเมืองชั้นนอกด้านตะวันออกเที่ยวชาญการทําดอกไม้กระดาษ อาหาร และการค้า กลุ่มไตหรือกลุ่มไทใหญ่ มีอาชีพปั้นหม้อหรือการค้าขายมาแต่เดิม (ชาวจีนจะมีบทบาทแทนในช่วงสมัยใหม่) ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณช้างเผือกช้างม่อยและบ้านวัวลาย (ศรีสุพรรณและหมื่นสารเชี่ยวชาญทำเครื่องเงิน) การกำหนดพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดังกล่าวทำให้มีลักษณะพิเศษในด้านต่างๆ เพื่อสนองต่อความหลากหลายของชุมชนเมือง ส่วนไพร่ที่ไร้ฝีมือจะให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่นอกเมืองเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น เขินที่สันทราย สันกำแพง สันป่าตอง และดอยสะเก็ด ยองที่ลำพูนและสันกำแพง ผู้คนที่ถูกอพยพมาจะยกกันมาเป็นกลุ่มเมืองเมื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่ ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านที่ตนตามชื่อบ้านเมืองเดิมที่ถูกกวาดต้อนลงมาเช่น บ้านเมืองลวง เมืองวะ เมืองเลนเมืองขอน เมืองกาย เมืองสาด เมืองยู้ เมืองหลวย พยาก เป็นต้น
ที่มา : หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา,ศาสตราจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล
ภาพ : กำแพงเมืองเชียงใหม่ ถ่ายเมื่อ ค.ศ.1896
ขอขอบคุณเพจ ราชอาณาจักรล้านนา