ภายหลังการศึกในรัชกาลของพญาสามฝั่งแกนที่ทรงมีชัยอก่ศัตรูทั้งศึกกับพญาไสลือหรือสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 3 แห่งอาณาจักรสุโขทัย และ ศึกกับเมืองจีนสมัยต้นราชวงศ์หมิง ได้ผ่านพ้นไป ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือมีการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองขึ้นในอาณาจักรล้านนา สืบเนื่องมาจาก พญาสามฝั่งแกน ท่านมีราชบุตรถึงสิบพระองค์ด้วยกัน มีอยู่ห้าพระองค์ที่พญาสามฝั่งแกนได้ส่งให้ไปปกครองเมืองต่างๆทั่วดินแดนล้านนา ราชบุตรคนโตคือท้าวอ้าย ทรงแต่งตั้งอวยยศให้เป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่อายุ 7 ปีแลให้ไปครองเวียงเจ็ดรินที่เชิงดอยสุเทพนอกเมืองเชียงใหม่ ครั้นถึงอายุ 9 ขวบ ท้าวอ้ายประชวรและถึงแก่พิราลัย ราชบุตรที่จะแต่งตั้งให้เป็นอุปราชเมืองเชียงใหม่องค์ต่อๆไป พญาสามฝั่งแกนก็มิได้แต่งตั้งผู้ใด แต่พญาสามฝั่งแกนจะทรงโปรดบุตรคนที่หก ชื่อ ท้าวลก หรือ พระพิลก ราชบุตรที่เกิดจากพระสนมที่มีเชื้อสายเป็นราชนิกุลมาจากราชวงศ์พระร่วงเจ้าแห่งอาณาจักรสุโขทัยมากกว่าใครๆเพราะฉลาดมีแววตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พญาสามฝั่งแกนได้ตั้งให้พระพิลกหรือท้าวลกไปปกครองเมืองพร้าววังหิน หรือ เมืองป๊าว เป็นพิเศษ ในเวลาต่อมาล้านนาเกิดศึกกับเมืองจีน ในช่วงนั้นเป็นฤดูเก็บเกี่ยวทำนา ท้าวลกจึงกะเกณฑ์ไพร่พลและเสบียงไปช่วยเจ้าเมืองเชียงแสนได้ล่าช้า เพราะไพร่ทั้งหลายยังเก็บเกี่ยวข้าวในนายังไม่เสร็จ ท้าวลกจึงยกทัพไปเสริมที่เมืองเชียงแสนได้ช้าที่สุด พญาสามฝั่งแกนทรงพิโรธมากภายหลังเสร็จศึกกับจีน พญาเจ้าจึงพิจรณาโทษเนรเทศท้าวลกให้ไปเป็นเจ้าเมืองยวมใต้(อ.ขุนยวม แม่ฮ่องสอน)ซึ่งถือว่าเป็นเมืองชายแดนชายขอบของล้านนา......
ยังมีเสนาผู้หนึ่งซึ่งคอยรับใช้ใกล้ชิดกับพญาสามฝั่งแกน มันผู้นั้นมีวาจาไพเราะเสนาะหู มันชื่ออ้ายสาม หรือ สามเด็กย้อย หรือ สามเหล็กย้อย คำพูดของมันเปรียบว่าแม้แต่เหล็กแข็งๆ ยังหยดย้อยลงมาได้ พญาสามฝั่งแกนรักมันเหมือนลูกชาย บางครั้งเจ้าสามเหล็กย้อยถึงกับว่าราชการแทนเพญาสามฝั่งแกน เจ้าสามเหล็กย้อยเป็นสหายมาแต่เยาว์วัยกับท้าวลก ความสนิทสนมกันมันจึงคิดการณ์ที่จะชิงเอาราชสมบัติมาให้ท้าวลก มันจึงให้ท้าวลกพร้อมด้วยทหารจากเมืองยวมใต้เข้ามาซุ่มอยู่ในเวียงเชียงใหม่ ครั้นสบโอกาศในขณะที่พญาสามฝั่งแกนแปรพระราชฐานไปพักที่คุ้มหอคำ ณ เวียงเจ็ดริน อ้ายสามเด็กย้อยจึงได้ให้ท้าวลกพร้อมด้วยทหารจากเมืองยวมเข้ายึดคุ้มหอคำเมืองเชียงใหม่เอาไว้ในเวลากลางคืน ส่วนตัวมันพักอยู่กับพญาสามฝั่งแกน ตกกลางคืนยามดึกค่อนรุ่ง เจ้าสามเหล็กย้อยจึงลอบวางเพลิงทั่งบริเวณเวียงเจ็ดริน พอเพลิงลุกใหม้ในเวียงเจ็ดรินก็วุ่นวาย เจ้าสามเด็กย้อยอาสาพญาสามฝั่งแกนอยู่ควบคุมเพลิงและมันไหว้สากราบทูลให้พญาสามฝั่งแกนกลับไปที่เวียงเชียงใหม่ พญาเจ้าท่านมิได้รู้ในอุบายจึงกลับเข้าเชียงใหม่พร้อมด้วยทหารติดตามไม่กี่นาย พอเข้าไปถึงคุ้มหอคำ ท้าวลกพร้อมด้วยทหารจำนวนมากจึงได้เข้ามากุมตัวพญาสามฝั่งแกนเอาไว้พร้อมกับทูลขอราชสมบัติ ในตอนสายวันนั้นเอง พญาสามฝั่งแกนได้กระทำพิธีเวนราชสมบัติให้แก่ท้าวลก โดยหลั่งน้ำจากคนโท สถาปนาท้าวลกขึ้นเป็น พระศรีสุธรรมติโลกราช หรือในบันทึกล้านนาเรียกว่า พระสะหรีสุธรรมมาติโลกราช หรือ พญาติโลกราช ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 1985 และแต่งตั้งให้เจ้าสามเด็กย้อยขึ้นเป็น เจ้าแสนขาน และให้พญาสามฝั่งแกนไปอยู่เมืองใดก็ได้ในล้านนาตามแต่พระประสงค์ ก่อนที่จะออกจากเชียงใหม่พญาสามฝั่งแกนขอร้องพญาติโลกราช ไว้สองข้อคือ 1.ให้รักประชาชนเสมือนรักบุตรของตนเอง 2.อ้ายสามเหล็กย้อยมันเป็นคนใจคต ห้ามมิให้เลี้ยงดูทำราชการ..... แต่พญาติโลกราชละเลยในข้อที่ 2. ซ้ำยังตั้งให้มันมียศศักดิ์เป็นเจ้า.....
ผ่านพิธีสถาปนาปราบดาภิเศกได้เพียง 1 เดือนกับ 15 วัน เจ้าแสนขานหรือสามเด็กย้อยก็มีพิษมันได้กระทำการยึดเอาหอคำเชียงใหม่และควบคุมตัวพญาติโลกราชเอาไว้หมายจะขึ้นเป็นเจ้าล้านนา แต่พญาติโลกราชหนีรอดออกมาจากเมืองเชียงใหม่ได้อย่างหวุดหวิด พระองค์ได้มุ่งหน้าไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหมื่นหาญ หรือ เจ้าหมื่นด้งนคร ผู้มีศักดิ์เป็นอาว์หรือเป็นญาติผู้น้องทางฝ่ายพระมารดา ที่เป็นเจ้าเมืองละกอนลำปาง เจาหาญแต่ท้องหรือเจ้าหมื่นด้งนคร ครั้นทราบเรื่องจึงเร่งนำทหารจึงหัวเมืองล้านนาทางตอนใต้ อันได้แก่ เมืองละกอนลำปาง เมืองเสริม เมืองอิงคบฏรัฐ(เถิร) เมืองลิ ได้ไพร่พลในครั้งแรก 8,000 นาย จึงเร่งรุดเข้าประชิดถึงในเมืองเชียงใหม่ ครั้นไปถึงหอคำพบว่าเจ้าแสนขานนั่งอยู่บนแท่นในซุ้มอูปคำ ไม่มีผู้ใดกล้าเอาตัวมันลงมาเนื่องจากเกรงพระราชอาญาตามจารีตในกฏมณเฑียรบาลล้านนาที่ระบุโทษผู้ถูกต้องตัวของเจ้าที่นั่งเมืองมีผิดถึงฟันคอริบเรือน แต่ด้วยความกล้าหาญของยอดขุนศึกเจ้าหมื่นด้งนคร ท่านจึงกราบทูลขออาสาต่อพ่อเจ้าติโลกราชว่า จะขอกุมตัวเจ้าแสนขาลลงมาจากหอคำ จากนั้นตนจะยินดีขอรับโทษฟันคอริบเรือนตามกฏมณเฑียรบาล แต่พญาติโลกราชทรงอาลัยรักในตัวเจ้าแสนขาล จึงบอกกับหมื่นด้งว่าอย่าถึงกับจับกุมตัวมันลงเลย ให้เอาทหารบีบเข้าไปในคุ้มหอคำให้แน่นบีบให้เจ้าแสนขานลงจากบัลลังค์มาเอง พอเจ้าแสนขานลงออกจากหอคำมากราบไหว้สารับโทษตามโทสานุโทษที่จะพึงได้รับคือการประหารเจ็ดชั่วโครตตระกูล พญาติโลกราชได้เว้นโทษตายให้กับเจ้าแสนขานเพราะถือว่ามันเป็นสหายและเป็นผู้มีคุณในการได้ราชสมบัติ จึงลดโทษให้มันจากตำแหน่งเจ้าแสนขาน เหลือเป็นหมื่นขานและตั้งให้มันไปเป็นเจ้าเมืองเชียงแสนดูแลปกครองหัวเมืองล้านนาทางตอนเหนือ ตั้งแต่นั้นมาหมื่นขานก็มิได้คิดทรยศหักหลังแต่อยู่ปกครองดูแลเมืองเชียงแสนและหัวเมืองล้านนาฝ่ายเหนือด้วยความสามารถตลอดจนสิ้นอายุขัย........
.....จากเหตุการณ์ความวุ่นวายของการรัฐประหารในล้านนา ข่าวได้ไปถึงพระกรรณของเจ้าเมืองอยุทธยาในสมัยนั้นคือเจ้าสามพระยาหรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุทธยา ซึ่งพระองค์เพิ่งจะเสร็จศึกจากการไปปราบเขมรนครวัดและสามรถผนวกเอาสุโขทัยมาขึ้นเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือของอยุทธยาได้สำเร็จ จึงแต่งทัพเก็บเสบียงรอจังหวะที่จะขึ้นมาเล่นศึกกับล้านนา